Show simple item record

Monitoring and Assessing Universal Health Coverage in Chiangmai, Pissanuloke, Nakornratchasrima, Srisaket, Pathumtani, Saraburi and Phuket with Description of Not Using Facilities Registrated Plus Overview of Care Quality]Assessment in 21 Provinces under Pilot Project of the UC Scheme in 2001 - 2002

dc.contributor.authorวิโรจน์ ณ ระนองth_TH
dc.contributor.authorViroj Na Ranongen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:23Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:40:31Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:23Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:40:31Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0927en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2072en_US
dc.description.abstractการศึกษาและติดตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ปทุมธานี สระบุรี ภูเก็ตและภาพรวมการข้ามเขตกับคุณภาพบริการของ 21 จังหวัดนำร่อง ปี 2544 - 2545 (ครึ่งปี) โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชาชนจากการทดลองนำร่องเริ่มในจังหวัดต่างๆ แตกต่างกัน เช่น ปทุมธานี นำร่องตั้งแต่ เมษายน 2544 เชียงใหม่ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สระบุรี และภูเก็ต เริ่มมิถุนายน 2544 ส่วนพิษณุโลกเริ่มพร้อมกับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2544 การติดตามประเมินผลในรายงานฉบับนี้ เน้นที่ระบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อการประเมินผลโครงการ โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่บันทึกในระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ทั้งข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลการเงิน เสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ในการประเมินผล พบว่า จังหวัดส่วนใหญ่ มีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบมาก่อนโครงการ จังหวัดที่เลือกวิธีบริหารจัดการงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แยกส่วนระหว่างผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มีแนวโน้มที่จะได้ข้อมูลการใช้บริการ (โดยเฉพาะบริการผู้ป่วยใน) ที่ครบถ้วนทั้งจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มีการพัฒนาการรับข้อมูลจากทั้งสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างชัดเจน โรงพยาบาลสระบุรีพัฒนาระบบข้อมูลในโรงพยาบาลและพยายามเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด รวมทั้งศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดพิษณุโลก สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารในระดับศูนย์สุขภาพชุมชน โดยทั้งหมด มีแนวโน้มว่าจะสามารถนำมาประเมินภาพรวมของโครงการได้ แต่ยังไม่รวดเร็วนัก การใช้ข้อมูลเพื่อบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับจังหวัด ยังเป็นไปเพื่อสนับสนุนการจ่ายเงิน จังหวัดที่บริหารจัดการงบประมาณแยกผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน จึงมีข้อมูลผู้ป่วยในรายบุคคลอย่างครบถ้วน (เฉพาะที่ใช้บริการภายในจังหวัด) แต่จังหวัดที่บริหารจัดการงบประมาณรวมผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน ให้ความสำคัญกับข้อมูลเฉพาะกรณีส่งต่อผู้ป่วยเป็นส่วนใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงขาดภาพรวมการใช้บริการสุขภาพของประชาชนทั้งจังหวัด โดยรวมแล้วจังหวัดต่างๆ ยังไม่ได้ใช้ข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลจากระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประเมินคุณภาพของบริการที่ให้กับประชาชน ข้อมูลการเงินของโครงการ มีเพียงโรงพยาบาลสระบุรีและโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ที่จัดทำรายงานการเงินในระบบพึงรับพึงจ่าย แต่ยังไม่สามารถแสดงอัตราคืนทุนที่ได้จากแต่ละหลักประกันสุขภาพได้อย่างชัดเจน เมื่อข้อมูลจากจังหวัดในเป้าหมายของการประเมินมีไม่ครบถ้วนนัก จึงใช้ฐานข้อมูลที่กว้างขึ้น คือ การรับบริการผู้ป่วยในตามแฟ้มข้อมูลมาตรฐานของการประกันสุขภาพ จาก 21 จังหวัด เพื่อประเมินผลกระทบด้านคุณภาพบริการที่เกิดกับผู้ป่วย การวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า การข้ามเขตรับบริการของประชาชนมีมาก จังหวัดบริหารงบประมาณแยกผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน มีสัดส่วนการส่งต่อผู้ป่วยสูงขึ้นทั้งกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ส่วนภาพรวมของจังหวัดที่บริหารงบประมาณรวมผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน มีสัดส่วนการส่งต่อลดลง ผลกระทบที่เห็นชัดที่สุดคือกรณีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จังหวัดบริหารงบประมาณรวมมีแนวโน้มทำให้สัดส่วนผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลมีมากขึ้น ข้อเสนอแนะจากการประเมินผลครั้งนี้ ได้แก่ การให้หน่วยงานซื้อบริการสุขภาพแทนประชาชน เห็นความสำคัญของระบบข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และคำนึงถึงการประเมินเป้าหมายเชิงคุณภาพของระบบบริการ การพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข--การประเมินen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectไทย--หลักประกันสุขภาพen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectพิษณุโลกen_US
dc.subjectนครราชสีมาen_US
dc.subjectศรีสะเกษen_US
dc.subjectปทุมธานีen_US
dc.subjectสระบุรีen_US
dc.subjectภูเก็ตen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการติดตามประเมินผลโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ปทุมธานี สระบุรี ภูเก็ต และภาพรวมการข้ามเขตกับ คุณภาพบริการของ 21 จังหวัดนำร่อง ปี 2544-2545 (ครึ่งปี)th_TH
dc.title.alternativeMonitoring and Assessing Universal Health Coverage in Chiangmai, Pissanuloke, Nakornratchasrima, Srisaket, Pathumtani, Saraburi and Phuket with Description of Not Using Facilities Registrated Plus Overview of Care Quality]Assessment in 21 Provinces under Pilot Project of the UC Scheme in 2001 - 2002en_US
dc.identifier.callnoW160 ศ735ก 2545en_US
dc.identifier.contactno44ค045en_US
dc.subject.keywordโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคen_US
dc.subject.keywordประกันสุขภาพen_US
.custom.citationวิโรจน์ ณ ระนอง and Viroj Na Ranong. "การติดตามประเมินผลโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ปทุมธานี สระบุรี ภูเก็ต และภาพรวมการข้ามเขตกับ คุณภาพบริการของ 21 จังหวัดนำร่อง ปี 2544-2545 (ครึ่งปี)." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2072">http://hdl.handle.net/11228/2072</a>.
.custom.total_download145
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year9

Fulltext
Icon
Name: hs0927.pdf
Size: 2.273Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record