แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การติดตามประเมินผลโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ปทุมธานี สระบุรี ภูเก็ต และภาพรวมการข้ามเขตกับ คุณภาพบริการของ 21 จังหวัดนำร่อง ปี 2544-2545 (ครึ่งปี)

dc.contributor.authorวิโรจน์ ณ ระนองth_TH
dc.contributor.authorViroj Na Ranongen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:23Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:40:31Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:23Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:40:31Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0927en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2072en_US
dc.description.abstractการศึกษาและติดตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ปทุมธานี สระบุรี ภูเก็ตและภาพรวมการข้ามเขตกับคุณภาพบริการของ 21 จังหวัดนำร่อง ปี 2544 - 2545 (ครึ่งปี) โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชาชนจากการทดลองนำร่องเริ่มในจังหวัดต่างๆ แตกต่างกัน เช่น ปทุมธานี นำร่องตั้งแต่ เมษายน 2544 เชียงใหม่ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สระบุรี และภูเก็ต เริ่มมิถุนายน 2544 ส่วนพิษณุโลกเริ่มพร้อมกับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2544 การติดตามประเมินผลในรายงานฉบับนี้ เน้นที่ระบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อการประเมินผลโครงการ โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่บันทึกในระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ทั้งข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลการเงิน เสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ในการประเมินผล พบว่า จังหวัดส่วนใหญ่ มีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบมาก่อนโครงการ จังหวัดที่เลือกวิธีบริหารจัดการงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แยกส่วนระหว่างผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มีแนวโน้มที่จะได้ข้อมูลการใช้บริการ (โดยเฉพาะบริการผู้ป่วยใน) ที่ครบถ้วนทั้งจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มีการพัฒนาการรับข้อมูลจากทั้งสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างชัดเจน โรงพยาบาลสระบุรีพัฒนาระบบข้อมูลในโรงพยาบาลและพยายามเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด รวมทั้งศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดพิษณุโลก สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารในระดับศูนย์สุขภาพชุมชน โดยทั้งหมด มีแนวโน้มว่าจะสามารถนำมาประเมินภาพรวมของโครงการได้ แต่ยังไม่รวดเร็วนัก การใช้ข้อมูลเพื่อบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับจังหวัด ยังเป็นไปเพื่อสนับสนุนการจ่ายเงิน จังหวัดที่บริหารจัดการงบประมาณแยกผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน จึงมีข้อมูลผู้ป่วยในรายบุคคลอย่างครบถ้วน (เฉพาะที่ใช้บริการภายในจังหวัด) แต่จังหวัดที่บริหารจัดการงบประมาณรวมผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน ให้ความสำคัญกับข้อมูลเฉพาะกรณีส่งต่อผู้ป่วยเป็นส่วนใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงขาดภาพรวมการใช้บริการสุขภาพของประชาชนทั้งจังหวัด โดยรวมแล้วจังหวัดต่างๆ ยังไม่ได้ใช้ข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลจากระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประเมินคุณภาพของบริการที่ให้กับประชาชน ข้อมูลการเงินของโครงการ มีเพียงโรงพยาบาลสระบุรีและโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ที่จัดทำรายงานการเงินในระบบพึงรับพึงจ่าย แต่ยังไม่สามารถแสดงอัตราคืนทุนที่ได้จากแต่ละหลักประกันสุขภาพได้อย่างชัดเจน เมื่อข้อมูลจากจังหวัดในเป้าหมายของการประเมินมีไม่ครบถ้วนนัก จึงใช้ฐานข้อมูลที่กว้างขึ้น คือ การรับบริการผู้ป่วยในตามแฟ้มข้อมูลมาตรฐานของการประกันสุขภาพ จาก 21 จังหวัด เพื่อประเมินผลกระทบด้านคุณภาพบริการที่เกิดกับผู้ป่วย การวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า การข้ามเขตรับบริการของประชาชนมีมาก จังหวัดบริหารงบประมาณแยกผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน มีสัดส่วนการส่งต่อผู้ป่วยสูงขึ้นทั้งกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ส่วนภาพรวมของจังหวัดที่บริหารงบประมาณรวมผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน มีสัดส่วนการส่งต่อลดลง ผลกระทบที่เห็นชัดที่สุดคือกรณีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จังหวัดบริหารงบประมาณรวมมีแนวโน้มทำให้สัดส่วนผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลมีมากขึ้น ข้อเสนอแนะจากการประเมินผลครั้งนี้ ได้แก่ การให้หน่วยงานซื้อบริการสุขภาพแทนประชาชน เห็นความสำคัญของระบบข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และคำนึงถึงการประเมินเป้าหมายเชิงคุณภาพของระบบบริการ การพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข--การประเมินen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectไทย--หลักประกันสุขภาพen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectพิษณุโลกen_US
dc.subjectนครราชสีมาen_US
dc.subjectศรีสะเกษen_US
dc.subjectปทุมธานีen_US
dc.subjectสระบุรีen_US
dc.subjectภูเก็ตen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการติดตามประเมินผลโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ปทุมธานี สระบุรี ภูเก็ต และภาพรวมการข้ามเขตกับ คุณภาพบริการของ 21 จังหวัดนำร่อง ปี 2544-2545 (ครึ่งปี)th_TH
dc.title.alternativeMonitoring and Assessing Universal Health Coverage in Chiangmai, Pissanuloke, Nakornratchasrima, Srisaket, Pathumtani, Saraburi and Phuket with Description of Not Using Facilities Registrated Plus Overview of Care Quality]Assessment in 21 Provinces under Pilot Project of the UC Scheme in 2001 - 2002en_US
dc.identifier.callnoW160 ศ735ก 2545en_US
dc.identifier.contactno44ค045en_US
dc.subject.keywordโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคen_US
dc.subject.keywordประกันสุขภาพen_US
.custom.citationวิโรจน์ ณ ระนอง and Viroj Na Ranong. "การติดตามประเมินผลโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ปทุมธานี สระบุรี ภูเก็ต และภาพรวมการข้ามเขตกับ คุณภาพบริการของ 21 จังหวัดนำร่อง ปี 2544-2545 (ครึ่งปี)." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2072">http://hdl.handle.net/11228/2072</a>.
.custom.total_download147
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0927.pdf
ขนาด: 2.273Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย