• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ประสิทธิภาพของโปรแกรมสุขศึกษา ในการป้องกันภาวะหูเสื่อมจากเสียงดังของคนงานโรงงานสิ่งทอการประมง จังหวัดขอนแก่น

นาตยา มาคเชนทร์; Nadtaya Makachen; วิไลวรรณ เทียมประชา; ณัชยาน์ พรหมภักดี; ศิริพร เกตุดาว; Wilaiwan Tiampracha; Nattaya Puampukdee; Siriporn Ketdao;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
ประสิทธิภาพของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันภาวะหูเสื่อมจากเสียงดังของคนงานโรงงานสิ่งทอการประมง จังหวัดขอนแก่น ภาวะหูเสื่อมจากเสียงดังยังคงพบเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากทั้งที่ได้มีความพยายามในการควบคุมและป้องกันอย่างดีแล้วก็ตาม เช่น ความพยายามของการก่อตั้งโครงการอนุรักษ์การได้ยินที่ได้ถูกบังคับใช้ในโรงงานที่เสี่ยงต่อเสียงดังมาเป็นเวลากว่าสิบปี แต่ในหลายผลการศึกษาก็ยังคงพบภาวะหูเสื่อมจากเสียงดังของคนงานในอัตราที่สูงเช่นเดิม ผลการศึกษาต่อมาพบว่าโปรแกรมสุขศึกษาซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในโครงการอนุรักษ์การได้ยินนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพของโครงการอนุรักษ์การได้ยินไม่ได้ผล งานวิจัยครั้งนี้ ได้เสนอโปรแกรมสุขศึกษาที่สามารถปฏิบัติเป็นรูปธรรมจริงในโรงงานและการประเมินสุขภาพของโปรแกรมสุขศึกษานี้ตามสมรรถภาพการให้บริการทางสุขภาพของประเทศไทยในการป้องกันภาวะหูเสื่อมจากเสียงดังของคนงานทั้งกลุ่มที่มีพื้นฐานการได้ยินเดิมดีและไม่ดี วิธีการศึกษาได้เลือกโรงงานสิ่งทอการประมงในจังหวัดขอนแก่น 2 แห่งที่มีลักษณะพื้นฐานของคนงาน ระดับเสียงดังที่คนงานสัมผัสและระดับการได้ยินของคนงานที่ใกล้เคียงกัน จากนั้นทั้ง 2 โรงงานได้จัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป ก่อนที่จะมีการสุ่มเลือกเป็นโรงงานควบคุมและโรงงานทดลอง โดยโรงงานทดลองจะได้รับโปรแกรมสุขศึกษาที่เสนอในการศึกษาครั้งนี้ หลังจบการศึกษาได้ตรวจการได้ยินของคนงานอีกครั้งเทียบกับพื้นฐานเดิม ผลการศึกษาพบว่าคนงานมากกว่า 70% ของโรงงานทดลองสวมใส่ปลั๊กอุดหูเป็นประจำ (มากกว่า 90% ของเวลาทำงานทั้งหมด) เมื่อเทียบกับเพียง 50% ของคนงานในโรงงานควบคุม ค่าเฉลี่ยของความแตกต่างที่เปลี่ยนไปจากพื้นฐานระดับการได้ยินเดิมคือมีการสูญเสียการได้ยินในโรงงานควบคุมเพิ่มสูงขึ้นกว่าโรงงานทดลองทุกค่าความถี่ [0.51(p=0.01),0.17 (p=0.44, 0.61(p=0.01), 1.30(p<0.01), 3.03(p<0.01) และ 0.04(p=0.93) ตามลำดับความถี่] เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคนงานที่มีภาวะหูเสื่อมจากเสียงดังตาม Significant Threshold Shift criteria พบว่า โรงงานทดลองมีอุบัติการณ์ของภาวะหูเสื่อมจากเสียงดัง = 22.3% โรงงานควบคุม = 27.2% นั่นคือมีอุบัติการณ์แตกต่างกันถึง 4.8% (95% CI : - 13.6% to 40.0%) p-value = 0.282
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0890.pdf
ขนาด: 209.7Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
Thumbnail
ชื่อ: he0096.pdf
ขนาด: 229.5Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 284
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV