Show simple item record

ระบบกายภาพบำบัดของคนไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2548-2557)

dc.contributor.authorพรพิมล จันทรวิโรจน์en_US
dc.contributor.authorPornphimon Chantrawiroten_EN
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2008-09-29T09:03:28Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:23:41Z
dc.date.available2008-09-29T09:03:28Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:23:41Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,1 (เม.ย.-มิ.ย. 2550) : 79-80en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/219en_US
dc.description.abstractองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของการมีสุขภาพดี คือ การที่ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปรกติ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ทำงานบ้าน งานอดิเรก และกิจกรรมทางสังคม "กายภาพบำบัด" เป็นกระบวนการที่ช่วยเสริมสร้างและแก้ไขฟื้นฟูศักยภาพทางกายของมนุษย์ โดยอาศัยพลังงานทางกายภาพ เช่น ความร้อน ความเย็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เทคโนโลยีทางกายภาพบำบัดมีทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น เครื่องออกกำลังกายในสถานฟิตเนส วิธีการและท่าทางในการออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ เช่น จี้กง โยคะ รำดาบ และด้านการรักษาและฟื้นฟูสภาพ เช่น เครื่องไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อในผู้ป่วยอัมพาต เครื่องอัลตราชาวด์เพื่อลดการอักเสบ เตียงสำหรับดึงกระดูกสันหลัง และรถเข็นสำหรับผู้พิการ (wheel chair) การใช้กายภาพบำบัดช่วยในการรักษาพยาบาลของการแพทย์แผนปัจจุบัน เริ่มแพร่หลายในประเทศไทยมาได้ประมาณ 40 ปี แต่ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทางกายภาพที่ช่วยในการบำบัดรักษามีอยู่ในสังคมไทยมาแต่ดั้งเดิม ในรูปแบบของการรักษาแบบแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน และการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว (เช่น การประคบไพล การนวด การละเล่นต่างๆ) กายภาพบำบัดเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางกายของมนุษย์จึงต้องครอบคลุมทั้งระบบกายภาพบำบัดของการแพทย์แผนปัจจุบัน และการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิมของการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ โดยอยู่บนฐานคิดของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม และปัญญา ความรู้ด้านกายภาพบำบัดมีบทบาทสูงต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในด้านการเติมเต็มศักยภาพทางกาย แต่ปัจจุบันงานด้านกายภาพบำบัดถูกจำกัดกรอบให้เป็นบทบาทเฉพาะของนักกายภาพบำบัด ซึ่งทำงานแบบตั้งรับในสถานพยาบาล เน้นการพัฒนาสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยให้ความสำคัญไม่มากนักกับเป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้ประชาชนมีศักยภาพทางกายที่สมบูรณ์ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงการบริการในระบบ จึงใช้กระบวนการวิจัยของการวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อค้นหาประเด็นสำคัญของสถานการณ์ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันคาดคะเนภาพในอนาคต ทำให้ได้ข้อเสนอแนะในการสร้างยุทธศาสตร์หลักเพื่อระบบกายภาพบำบัดของประชาชนไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2548 - 2557) คือ (1) ส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีความรู้เกี่ยวกับการเติมเต็มศักยภาพทางกาย (2) ส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทางกายภาพที่มีดั้งเดิมของไทยในการเติมเต็มศักยภาพทางกาย (3) จัดระบบบริการทางกายภาพบำบัดที่ประชาชนสามารถเข้าถึงงานบริการได้อย่างทั่วถึง (4) พัฒนานักวิชาชีพทางกายภาพบำบัดให้มีระบบคิดที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพแบบองค์รวม (5) พัฒนางานบริการของนักวิชาการทางกายภาพบำบัดให้มีคุณภาพและมาตรฐานเพียงพอในการแข่งขันในระดับโลกth_TH
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleระบบกายภาพบำบัดของคนไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2548-2557)en_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordกายภาพบำบัดen_US
.custom.citationพรพิมล จันทรวิโรจน์ and Pornphimon Chantrawirot. "ระบบกายภาพบำบัดของคนไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2548-2557)." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/219">http://hdl.handle.net/11228/219</a>.
.custom.total_download753
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month11
.custom.downloaded_this_year128
.custom.downloaded_fiscal_year30

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v1n1 ...
Size: 141.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record