บทคัดย่อ
การดําเนินงานของเครือข่ายวิจัยคลินิกสหสถาบันในปี 2551 ที่ผ่านมา ได้รับงบประมาณสนับสนุนหลักทั้งจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ภายใต้โครงการ "พัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายวิจัยคลินิกสหสถาบัน ระยะที่ 3” และจากกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยเพื่อนํามาพัฒนาระบบการทําวิจัยคลินิกแบบสหสถาบันของประเทศไทยภายใต้การกํากับดูแลของรองคณบดีกํากับการวิจัยจากสถาบันแพทย์ทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ สําหรับการดําเนินงานที่เกิดขึ้นในปี 2551 สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 หัวข้อดังนี้ 1) ความคืบหน้าในการจัดตั้งหน่วยวิจัยทางคลินิกประจําสถาบันแพทย์ซึ่งขณะนี้กําลังอยู่ระหว่างการวางแผนกําหนดรูปแบบการพัฒนารวมทั้งแนวทางต่างๆ ในการกําหนดมาตรฐานและการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ร่วมกัน และปัจจุบันได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการโครงการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์วิจัยคลินิกประจําสถาบัน (Clinical Research Center, CRC) เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการดําเนินโครงการวิจัยแบบสหสถาบันที่มุ่งประโยชน์แก่สาธารณะระหว่างเครือข่ายวิจัยคลินิกสหสถาบันภายใต้การดําเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมวิจัยทางการแพทย์และสถาบันแพทยศาสตร์ในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ขณะนี้ได้มีสถาบันที่ลงนามแล้วทั้งสิ้น 12 จากทั้งหมด 17 สถาบัน 2) การหาประเด็นงานวิจัยที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ทางเครือข่ายได้ดําเนินการจัดการประชุมเพื่อการกําหนดแนวทางในการปรับปรุงระบบการทําวิจัยคลินิกและการพัฒนาเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการแพทย์และเสริมแนวทางเวชปฏิบัติของประเทศ เมื่อันที่ 26 พฤษภาคม 2551 ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี มีผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 แหล่งทุนวิจัย กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้กําหนดนโยบาย กลุ่มที่ 3 Biostatisticians กลุ่มที่ 4 นักวิจัย และ กลุ่มที่ 5 ผู้ช่วยนักวิจัย หรือผู้ประสานงาน โดยมีข้อสรุปคือ หน่วยงานในภาครัฐควรจะมีการสนับสนุนในเรื่องการทําวิจัยมากยิ่งขึ้น และควรมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนกับแหล่งทุนในการกําหนดประเด็นงานวิจัย 3) การสร้างทีมนักวิจัยและเครือข่ายเฉพาะโรค ทางเครือข่ายได้ดําเนินการพัฒนาโครงร่างการวิจัย ประจําปีงบประมาณ 2551 ทั้งหมด จํานวน 8 โครงการ (โรค) โดยการรวมทีมของนักวิจัยจากราชวิทยาลัยแพทย์สมาคม และชมรมแพทย์จํานวน 7 แห่ง ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดําเนินโครงการวิจัยดังกล่าวจากสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจํานวนเงินทั้งสิ้น 11,235,594 บาท 4) การประสานกับผู้เชี่ยวชาญในสถาบันต่างประเทศเพื่อการพัฒนาด้านวิชาการ ทางเครือข่ายได้มีการไปศึกษาดูงานร่วมกับรองคณบดีกํากับงานวิจัยและตัวแทนจากสถาบันแพทย์ต่างๆ ณ Clinical Trial Center, Hong Kong University ประเทศฮ่องกง ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อศึกษาและเรียนรู้แนวทางการดําเนินงานของศูนย์ดังกล่าวจาก Professor Johan Karlberg และทีมงาน และในระหว่างวันที่ 11-23 พฤษภาคม 2551 ทางเครือข่ายได้เรียนเชิญ Professor Shrikant Bangdiwala, Research Professor จาก University of North Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกา มาร่วมเยี่ยมชมการทํางานของหน่วยวิจัยและให้ข้อคิดเห็นในเรื่องการพัฒนาและจัดตั้งหน่วยวิจัยทางคลินิกประจําโรงเรียนแพทย์ 5) ความคืบหน้าในการสร้างแนวทางการร่วมลงทุน ปัจจุบันทางเครือข่ายกําลังอยู่ในระหว่างการหาแนวทางในการเข้าถึงแหล่งทุนอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาส่งเสริมและการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพงานบริการทางการแพทย์ให้ตอบสนองต่อปัญหาสาธารณสุขของประเทศ 6) การประชุมเพื่อกําหนดแนวทางการดําเนินงานของเครือข่ายวิจัยคลินิกสหสถาบัน โดยในปี2551 ทางเครือข่ายได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการอํานวยการจํานวน 2 ครั้ง (25 มกราคม 2551 และ 25 เมษายน 2551) และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ผู้อํานวยการเครือข่าย จํานวน 1 ท่าน 2) ตัวแทนจากคณะกรรมการบริหารชุดเดิม จํานวน 3 ท่าน 3) ตัวแทนจากผู้จัดการโครงการวิจัย ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากผู้จัดการโครงการวิจัยที่ดําเนินการภายในเครือข่ายฯ มากที่สุด จํานวน 3 ท่าน และ 4) ตัวแทนจากคณะแพทยศาสตร์ จํานวน 2 ท่าน ซึ่งได้มีการจัดประชุมไปแล้วจํานวน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 7) การเตรียมระบบการเก็บข้อมูลระดับประเทศ OMERET 8) การเตรียมระบบสนับสนุนด้าน data management and biostatisticians Network ได้กรรมการชุดใหม่และมีแผนการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อ สร้าง Medical Statisticians ให้ประเทศ