• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

โครงการศึกษา สรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา : การถ่ายโอนสถานีอนามัยคลองตาสูตร ตําบลคลองหินปูน อําเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

เดช พุ่มคชา; อนุสรณ์ ไชยพาน;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
โครงการศึกษา สรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : การถ่ายโอนสถานีอนามัยคลองตาสูตร ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เป็นกรณีหนึ่งในโครงการศึกษาการถ่ายโอนสถานีอนามัย 22 แห่ง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใหญ่ ดังรายละเอียดของโครงการศึกษาฯ คณะผู้ศึกษา ได้นำหลักการกระบวนการ ไปเป็นตัวกำกับในการลงพื้นที่มาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการเมื่อเดือนธันวาคม 2550 จนถึงกลางเดือนสิงหาคม 2551 โดยใช้กระบวนการศึกษาทั้งแบบสอบถามเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพ สรุปสาระสำคัญผลการศึกษาที่เกิดขึ้นดังนี้ จากการสอบถามความคิดเห็นประชาชนในเขตพื้นที่สถานีอนามัยคลองตาสูตรดูแลพบว่า ในกระบวนการดำเนินงานถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข่าวเรื่องการถ่ายโอนและมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและแสดงความเห็น แต่ขาดการตัดสินใจร่วม และมีส่วนร่วมในการวางแผนด้านสุขภาพของท้องถิ่นและกิจกรรมต่างๆ ด้านสาธารณสุข ซึ่งพบว่าหลังการถ่ายโอนประชาชนรับทราบข้อมูลมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นในการให้บริการดูแลสุขภาพของประชาชน เปรียบเทียบก่อนและหลังการถ่ายโอนในประเด็นต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่หลังการถ่ายโอนอยู่ในระดับดีมาก การถ่ายโอนครั้งนี้ได้ผ่านกระบวนการภายใต้หลักการ คณะกรรมการ และวิธีการตามนโยบายและมติร่วมของกระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ความรวดเร็วของการรับข้อมูลข่าวสาร ความเข้มข้นของการปรึกษาหารือ การประชุม มีความถี่ ความครบถ้วนต่างกัน นอกจากนี้ วัฒนธรรมของการทำงานแต่ละแห่งซึ่งเคยชินมา ตลอดจนทัศนคติและบุคลิกภาพของแต่ละหน่วยงานแต่ละคนมีความต่างกัน (Working Culture And Individual Differences)ทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ของการรับรู้ กระบวนการและรายละเอียดในการบริหารจัดการต่างๆ ประชาชนและอสม. ที่คณะผู้ศึกษาได้พบปะพูดคุยทั้งที่พบระหว่างมาขอรับบริการ ร่วมประชุม พบว่าสถานีอนามัยได้รับความร่วมมือจากประชาชนดี ประชาชนเห็นว่าการมาขอรับบริการจากสถานีอนามัยภายในชุมชนสะดวกเพราะว่าใกล้ ประหยัดค่าใช้จ่ายและเห็นความเต็มใจในการให้บริการของสถานีอนามัย อย่างไรก็ตามการที่สถานีอนามัยสังกัดหน่วยงานใดนั้น อาจไม่สำคัญเท่ากับการมาใช้บริการสะดวก รวดเร็ว ประหยัด มีบริการเพิ่ม และอัธยาศัยไมตรีของเจ้าหน้าที่ อนึ่งประชาชนยังไม่รับรู้และมีส่วนร่วมในหลักการกระบวนการถ่ายโอนครั้งนี้อย่างเข้มข้นและทั่วถึง การกระจายข่าวสารเรื่องดังกล่าวในระดับชุมชนมีข้อจำกัด เช่น รู้กันในกลุ่มอสม.และผู้นำที่เกี่ยวข้องโดยตรง จากกระบวนการศึกษา พบปะ ผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายบริหาร ปฏิบัติการ สมาชิก ในที่ประชุม และการพูดคุย ได้ข้อสรุปว่า การถ่ายโอนเป็นเรื่องจำเป็นและถูกต้องที่จะตอบสนองประชาธิปไตยของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการมีส่วนร่วม หากแต่ส่วนกลางมีนโยบายที่ชัดเจน ไม่เร่งรัด และให้ความสำคัญต่อการสื่อสารอย่างรัดกุม (Communication Process) ทุกขั้นตอน สมควรที่จะใช้ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ (Formal - Informal Process) กระบวนการคิดด้านนโยบายและกระบวนการถ่ายโอนของประเทศในเรื่องนี้จำเป็นเหมาะสมกับสถานการณ์ของสังคมโลกและสังคมประเทศปัจจุบัน ผ่านการทบทวน ศึกษาแบบแผนตัวอย่างมาเพียงพอที่จะริเริ่มต่อไป กรณีศึกษาครั้งนี้จึงสามารถเป็นบทเรียนให้การคิด ปฏิบัติการ การถ่ายโอนสำหรับงานสาธารณสุข หรืองานอื่นๆ ในทั้งระดับท้องถิ่น จังหวัด หรือประเทศ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1493.pdf
ขนาด: 1.294Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 43
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV