แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ. 2550 – 2554 : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างและการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท

dc.contributor.authorนิภรณ์ สัณหจริยาen_US
dc.contributor.authorประพจน์ เภตรากาศen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-05-14T06:40:44Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:18:09Z
dc.date.available2009-05-14T06:40:44Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:18:09Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.otherhs1510-1en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2479en_US
dc.description.abstractยุทธศาสตร์การสร้างและจัดการความรู้ เป็นยุทธศาสตร์ที่หนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ.2550-2554 และเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเพราะต้องเชื่อมโยงและขับเคลื่อนอีก 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การพัฒนาระบบสุขภาพ การพัฒนากำลังคน การพัฒนายาไทยและยาสมุนไพร และการคุ้มครองภูมิปัญญาไทย เอกสารวิชาการตั้งต้นของนายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้กรอบและแนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์การสร้างและจัดการความรู้ ซึ่งได้กำหนดมาตรการ 3 มาตรการ ได้แก่ การพัฒนาระบบและกลไกการสร้างองค์ความรู้ และการจัดการความรู้ สถานการณ์การวิจัยและพัฒนา พบว่า นักวิชาการไทยมีศักยภาพในการทำวิจัยจนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ แต่ขาดทิศทางและเป้าหมายการวิจัยร่วมกัน งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้ความถนัดของนักวิชาการเป็นตัวกำหนด หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขที่ดำเนินงานด้านสมุนไพร การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก หน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข สถานบริการสาธารณสุข สถาบันการศึกษา ไม่มีกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน ขึ้นกับภารกิจของแต่ละหน่วยงาน และอาจขึ้นกับความสนใจ ความถนัดของนักวิชาการแต่ละคน ในส่วนของกองทุนที่สนับสนุนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มีการสนับสนุนงานวิจัยด้านนี้ แต่ไม่มีการร่วมกันกำหนดทิศทางและวิจัยพัฒนาเช่นเดียวกัน สถานการณ์การจัดการความรู้ พบว่ามีการศึกษาวิจัยมากที่สุด โดยเฉพาะคณะเภสัชศาสตร์ แต่พบว่ายังไม่มีการร่วมกันกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาเช่นเดียวกัน สถานการณ์การจัดการความรู้ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเอกชน และเครือข่ายต่างๆ ที่อยู่นอกภาครัฐ หน่วยงานของรัฐยังขาดกระบวนทัศน์ ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการความรู้ โดยเฉพาะการจัดการความรู้ให้ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของชุมชน ไม่ใช่การถอดบทเรียนของชุมชน และนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของนักวิชาการ โดยการจัดทำคู่มือ หนังสือ เอกสารวิชาการเผยแพร่ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิชาการในภาครัฐนิยมทำ การสร้างและการจัดการความรู้ของโครงการฟื้นฟูการนวดไทย มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาและเครือข่าย เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่ดี เพราะองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นอยู่กับหมอนวดไทย และกลับไปพัฒนาหมอนวดไทยอย่างต่อเนื่อง การจัดการความรู้ของอินเดีย โดยเฉพาะ Traditional Knowledge Digital Library (TKDL) ได้พัฒนาขึ้นเพื่อนำภูมิปัญญาของการแพทย์ดั้งเดิมมาจัดระบบหมวดหมู่ และบันทึกอย่างเป็นระบบในรูปแบบดิจิทัล และใช้ประโยชน์เพื่อการคุ้มครองภูมิปัญญาดั้งเดิม สภาพปัญหาและอุปสรรคของการสร้างและการจัดการความรู้ในประเทศไทย คือ การขาดแผนแม่บทในการจัดการงานวิจัย การขาดความเข้าใจของภาครัฐ ต่อหลักและแนวทางการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพของชุมชนและเครือข่าย การขาดการสื่อสารสาธารณะ เพื่อให้ชุมชน องค์กรภาคี และเครือข่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ร่วมกัน ข้อเสนอต่อการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างและการจัดการความรู้ มี 3 แผน ได้แก่ แผนการส่งเสริมการวิจัยและการสร้างความรู้ แผนการจัดการความรู้ และแผนการเผยแพร่ความรู้สู่สังคมen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent440460 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectสุขภาพทางเลือกen_US
dc.subjectการแพทย์ทางเลือกen_US
dc.subjectแพทย์แผนโบราณen_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้en_US
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้าน--ไทย--แง่อนามัยen_US
dc.subjectAlternative Medicineen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ. 2550 – 2554 : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างและการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWB890 น619ก 2551en_US
dc.identifier.contactno51-045en_US
dc.subject.keywordภูมิปัญญาไทen_US
dc.subject.keywordสุขภาพวิถีไทen_US
dc.subject.keywordการจัดการความรู้en_US
.custom.citationนิภรณ์ สัณหจริยา and ประพจน์ เภตรากาศ. "การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ. 2550 – 2554 : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างและการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2479">http://hdl.handle.net/11228/2479</a>.
.custom.total_download135
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1510-1.pdf
ขนาด: 468.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย