• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การสื่อสารสุขภาพท้องถิ่น: จังหวัดปัตตานี

อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ; นุวรรณ ทับเที่ยง; อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว;
วันที่: 2551-12
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยและพัฒนาการสื่อสารสุขภาพท้องถิ่น: จังหวัดปัตตานี (Research and Development of Local Health Communication: Pattani) มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาผู้ที่มีความตั้งใจ สนใจ และมีความพร้อมที่จะทำหน้าที่นักสื่อสารสุขภาพที่มีศักยภาพในพื้นที่ อันจะก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพโดยรวมของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โครงการวิจัยนี้เริ่มต้นโดยการสำรวจสถานภาพและการปฏิบัติหน้าที่ด้านสื่อสารสุขภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ได้แก่ เจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดรวม 477 คน ซึ่งข้อมูลสำคัญจากการสำรวจคือประเด็นเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งพบว่าผู้ทำหน้าที่สื่อสารสุขภาพต้องการพัฒนาศักยภาพ คณะผู้วิจัยจัดประชุมเสาวนากลุ่มผู้สนับสนุนงานสื่อสารสุขภาพ ได้แก่ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อท้องถิ่นและด้านสุขภาพทั้งจากหน่วยงานราชการและเอกชน องค์กรสื่อท้องถิ่น ประชาคมสุขภาพท้องถิ่น และองค์กรส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการสื่อสารผ่านแผ่นพับจำนวน 5000 ฉบับ เป็นช่องทางหลักในการเผยแพร่แนวคิดใหม่กับนักสื่อสารสุขภาพ และพบว่าบุคคลที่สนใจเข้าร่วมเป็นนสส.ส่วนใหญ่พิจารณาแล้วว่าบทบาทหน้าที่ของนสส. จะสอดคล้องกับภาระหน้าที่หรือกิจกรรมที่ตนทำอยู่ และเห็นประโยชน์ของการเข้าร่วมว่าเป็นหนทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารและการผลิตสื่อของตน กระบวนการคัดเลือกผู้มีศักยภาพเป็นนสส. จังหวัดปัตตานีเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากพื้นนี้มีความอ่อนไหวสูง อย่างไรก็ตามในการเผยแพร่นวัตกรรมนักสื่อสารสุขภาพได้รับการตอบรับที่ดีจากทุกกลุ่ม เพราะเป็นประเด็นใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับทุกคน และเป็นประเด็นเชิงบวกที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งใดๆ คณะผู้วิจัยใช้วิธีการคัดสรรจุดเผยแพร่ 2 รูปแบบคือ (1) การคัดสรรโดยยึดพื้นที่หรือชุมชน และ (2) การคัดสรรโดยยึดบุคคลหรือกลุ่มเป็นตัวตั้ง คณะผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมศักยภาพที่ตรงกับความต้องการให้กับผู้มีศักยภาพเป็นนสส. 2 กิจกรรม คือการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง 1 รุ่น สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดปัตตานี และการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแอนิเมชั่น: สื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาพเด็กไทย 5 รุ่น สำหรับกลุ่มครูและผู้ดูแลเด็กจากปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลาและสตูล ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาพสามารถสร้างให้เป็นรูปธรรมได้หากมีปัจจัยต่างๆ ที่เหมาะสม อันได้แก่ การสนับสนุนให้จุดนำร่องในระยะแรก ร่วมกันเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารสุขภาพให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้สมาชิกที่หลากหลาย การพัฒนาศักยภาพของนักสื่อสารสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การสร้างระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างพื้นที่และกลุ่มบุคคล การวิเคราะห์และกำหนดกลุ่มผู้รับสารสุขภาพที่ชัดเจน ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการกำหนดบทบาทและเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้สนับสนุน ใครเป็นนักสื่อสารสุขภาพ ใครเป็นกลุ่มผู้รับสารสุขภาพ และใครเป็นผู้เชื่อมโยง รวมทั้งการจัดระบบการบริหารจัดการประสานผลประโยชน์ของสมาชิกในเครือข่ายอย่างเท่าเทียม

บทคัดย่อ
The Research and Development Project on Local Health Communication: Pattani was to search for those interested in and having the potential to become a “Health Communicator” in the area. That would believably lead to good health for the locals. The Project was conducted using a Participatory Action Research approach. The research team embarked on the project by studying officers dealing directly with health services. They included 477 hospital officers, public health officers and volunteers, sharing their problems and needs. Then, a forum was organized in order to gather information and opinions from a supporting group on health communication. The group was made of executives and members of both public and private health organizations, local media organizations, and community leaders. Moreover, 5,000 flyers were distributed to pass on the concept of “health communicator.” It was found that interested people regarded taking part in this project as a means to improve their communication and media production skills. After having analyzed the needs of prospective health communicators, the research team organized two types of skill enhancing activity: (1) Radio Program Production and (2) Animated Media Production for Children. The former was organized for health service providers while the later was specifically for child teachers and care-takers from five provinces. The research results showed that forming a network of health communicators in the area can be achievable. However, needed are initiative support, diffusion of health communication concept, continuous skill enhancing, communication system between areas/groups, and analysis of target groups. It is important to clearly identify who are supporters, communicators, audiences, and connectors. Additionally, the fair management system of benefits is also vital.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1551.pdf
ขนาด: 1.942Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 164
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV