dc.contributor.author | สมพันธ์ เตชะอธิก | en_US |
dc.contributor.author | Somphant Techaatik | en_US |
dc.contributor.author | พะเยาว์ นาคำ | en_US |
dc.contributor.author | Payao Nakham | en_US |
dc.coverage.spatial | ไทย | en_US |
dc.date.accessioned | 2009-07-31T08:58:28Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:03:25Z | |
dc.date.available | 2009-07-31T08:58:28Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:03:25Z | |
dc.date.issued | 2552 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 3,1(ม.ค.-มี.ค.2552) : 113-130 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2587 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในช่วงเดือนกันยายน 2550-ธันวาคม 2551 โดยศึกษาเชิงคุณภาพจากเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการกระจายอำนาจด้านสุขภาพตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เก็บข้อมูลเชิงลึกและสังเกตการณ์การทำงาน จัดเวทีประชุมสรุปบทเรียนการถ่ายโอนสถานีอนามัย และเวทีนำเสนอผลกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเชิงปริมาณเก็บข้อมูลแบบสอบถามกับประชาชนผู้รับบริการสถานีอนามัยรวม 8,199 คน นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดเพื่อตอบคำถามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ ศึกษาการจัดตั้งกลวิธาน และการดำเนินงานถ่ายโอนที่เกิดขึ้นจริง และจัดทำข้อเสนอแนะทั้งเชิงนโยบายและเชิงกลวิธาน จากการศึกษาวิจัยพบว่า ทุกพื้นที่ที่ถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ผ่านกลไกและกระบวนการภายใต้หลักการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆ ยังติดขัดในเรื่องระยะเวลาที่กระชั้นชิดและการสื่อสารกับพื้นที่ ด้านรูปแบบการถ่ายโอนพบว่า มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. ถ่ายโอนสถานีอนามัยและบุคลากรมาทั้งหมด 2. ถ่ายโอนสถานีอนามัยมาทั้งหมด บุคลากรมาบางส่วน 3. ถ่ายโอนสถานีอนามัยมาบางแห่ง บุคลากรมาทั้งหมด และ 4. ถ่ายโอนสถานีอนามัยและบุคลากรมาบางส่วน แต่ละรูปแบบมีผลให้การตั้งรับการบริหารจัดการงาน เงิน คน วัสดุ แตกต่างกัน ผลที่เกิดขึ้น พบว่า ด้านแนวคิดและกระบวนทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่ท้องถิ่น มีคุณค่าความสำคัญและมีผลให้การถ่ายโอนราบรื่น เกิดการมีส่วนร่วม มีการประสานงานกับเครือข่ายสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ในพื้นที่ มีการวางกลยุทธ์ที่เน้นการสร้างระบบบริการที่เป็นธรรม เร่งสร้างงานเชิงรุก ร่วมกันปรับปรุงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนกิจกรรมด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนด้านการบริหารจัดการงาน เงิน บุคลากร ทรัพย์สิน วัสดุ ยาและเวชภัณฑ์ไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากยังมีความไม่ชัดเจนในกฎระเบียบ ทั้งนี้ปัจจัยที่ช่วยหนุนเสริมให้การถ่ายโอนสถานีอนามัยเป็นไปได้ด้วยดี คือ ความร่วมมือเดิมในการทำงานด้านสุขภาพร่วมกัน ความเป็นผู้นำ วิสัยทัศน์และความสามารถในการบริหารจัดการของฝ่ายบริหารองค์กรท้องถิ่น ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนสถานีอนามัยส่วนใหญ่เป็นเรื่องระเบียบของกระทรวงสาธารณสุขและมหาดไทยที่ต้องมีการปรับเข้าหากันในการบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย ควรมีการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ ระดับจังหวัดและอำเภอควรมีการจัดตั้งกลวิธานทางวิชาการที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายเพื่อติดตามหนุนเสริมการถ่ายโอน โดยมีกระบวนการชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่ทุกฝ่ายอย่างเพียงพอ ระหว่างและหลังการถ่ายโอนควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระดับพื้นที่ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานีอนามัย การตัดสินใจในการถ่ายโอน และการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพควรเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับองค์กรท้องถิ่น จนถึงภาคประชาชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 288909 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | สาธารณสุ--นโยบายของรัฐ | en_US |
dc.subject | Health Decentralize | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | en_US |
dc.title | สรุปบทเรียน และติดตามผลเพื่อพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | en_US |
dc.title.alternative | Studying and Monitoring the Development of the Transfer System of Public Health Centers to Local Government Organizations | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study utilized qualitative study papers and reports on the process of decentralizing health care. The study employed a quantitative method, using questionnaires on 8,199 villagers. It was aimed at understanding the process of the transfer system of public health centers (PHCs) to a local government organizations (LGOs). Specifically, the study focused on the process of setting up the transfer mechanism, monitoring the product and output, analyzing and summarizing the lessons learned, as well as providing policy recommendations relating to the mechanism and structure for transferring the PHCs to the LGOs. The research was conducted from September 2007 to October 2008.
Research results confirmed that the PHCs under study followed the mechanism and process of the transfer system to the LGOs. However, some difficulties pertinent to time constraints and communication problems at all levels were encountered. With respect to the product, we have discovered that there were four types of transfer system: (1) the complete transfer of PHCs and personnel; (2) the complete transfer of PHCs and some personnel; (3) the transfer of some PHCs with all the personnel of those PHCs; and (4) the transfer of some PHCs with some personnel. The majority of the PHCs employed the second type. Different types impacted the management of work, budget, personnel and materials differently. Relating to the output, we have learned that the ideas and paradigms of public health decentralization to local areas were significant and made the transfer system efficient by generating people’s participation and coordinating consistently with the public health network. In terms of policy and development strategy implemented at the local level, we have discovered that they emphasized the idea of ervice to all, stimulated proactive work, and improved policy, strategy and planning for public health and environmental activities parallel to the development of the infrastructure. Also, we discovered some problems relating to the management of work, budget, personnel, property, aterial, medicine and medical supplies following the imprecise rules and regulations issued by the Ministry of Public Health and the Ministry of Interior. Factors contributing to the success of the transfer included cooperation, leadership ability, having organizational vision and management ability in the LGOs.
Recommendations for transferring the PHCs to the LGOs are as follows. At the policy level, the national decentralization committee should have a clear integrated policy and establish a national coordinating body to be responsible for informing the public of the value, ideas and benefits of public health decentralization. At the provincial and district levels, it is necessary to have a proper academic supporting mechanism based on the participation of all parties concerned for monitoring and supporting the transfer of the PHCs to the LGOs smoothly and to communicate efficiently with all parties concerned during and after the transfer. At the community level, we suggest that the LGOs and the PHCs should abide by the principle of people’s participation, starting from local public organizations to local civil societies in decision-making for the transfer of the PHCs to the LGOs and in supporting community health development planning. | en_US |
dc.subject.keyword | การถ่ายโอน | en_US |
dc.subject.keyword | สถานีอนามัย | en_US |
dc.subject.keyword | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | en_US |
dc.subject.keyword | Decentralization | en_US |
dc.subject.keyword | Public Health Center | en_US |
dc.subject.keyword | Local Government Organization | en_US |
.custom.citation | สมพันธ์ เตชะอธิก, Somphant Techaatik, พะเยาว์ นาคำ and Payao Nakham. "สรุปบทเรียน และติดตามผลเพื่อพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2587">http://hdl.handle.net/11228/2587</a>. | |
.custom.total_download | 2679 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 16 | |
.custom.downloaded_this_year | 910 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 132 | |