ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการใช้ปากกาอินสุลินของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
dc.contributor.author | ศิษฎิคม เบ็ญจขันธ์ | en_US |
dc.contributor.author | Sittikom Benchakanta | en_US |
dc.contributor.author | พิชิต นามวิเศษ | en_US |
dc.contributor.author | Pichit Namvisate | en_US |
dc.coverage.spatial | ยโสธร | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-01T10:39:43Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:24:22Z | |
dc.date.available | 2008-10-01T10:39:43Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:24:22Z | |
dc.date.issued | 2551 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,1 (ม.ค.-มี.ค. 2551) (ฉบับเสริม 4) : 932-939 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/260 | en_US |
dc.description.abstract | การรักษาผู้ป่วยเบาหวานด้วยการฉีดอินสุลิน เป็นวิธีมาตรฐานหนึ่งในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งแต่เดิมบริหารโดยการใช้กระบอกฉีดอินสุลินแบบฉีดยาทั่วไป จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาปากกาสำหรับฉีดอินสุลินโดยเฉพาะ ซึ่งสะดวก ขนาดใช้แม่นยำ พกพาสะดวก และเจ็บน้อยกว่าการฉีดแบบเดิม การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ดำเนินโดยการสำรวจด้วยแบบสัมภาษณ์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ปากกาอินสุลินในผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 124 คน. การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบที่ตัวอย่างอิสระ และการทดสอบเอฟที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อธิบายความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประวัติการใช้ปากกาอินสุลิน กับระดับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานพึ่งอินสุลินเป็นหญิงร้อยละ 70.19 เป็นชายร้อยละ 29.81 อายุเฉลี่ย 57 ± 5.00 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 87.90 ประสบการณ์ในการใช้ปากกาอินสุลิน 6-8 เดือน ร้อยละ 74.19 ก่อนการใช้ปากกาอินสุลิน ผู้ป่วยร้อยละ 78.20 เคยใช้เข็มฉีดอินสุลินมาก่อน เฉลี่ยวันละ 2 ครั้ง โดยฉีดเองร้อยละ 41.13 ในการฉีดอินสุลินได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติและความรู้เกี่ยวกับปากกาอินสุลินโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยร้อยละ 92.74 มีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติเฉลี่ยในระดับดี เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าผู้ป่วยมีความรู้มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 8.25 ± 2.17 จาก 10 คะแนน หรือร้อยละ 82.50, ด้านเจตคติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18 ± 1.45 และด้านการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.62 ± 0.54 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษาและประวัติการใช้ปากกาอินสุลินกับระดับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัว พบว่าการมีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน และเคยฉีดอินสุลิน ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการใช้ปากกาฉีดอินสุลินแตกต่างกัน (ค่าพี < 0.05) ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยเบาหวานพึ่งอินสุลิน ควรนำเอาผลการศึกมาครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ประกอบการสั่งใช้ยาในผู้ป่ายเบาหวานที่ต้องพึ่งอินสุลิน จะได้มีความรู้และความสามารถใช้ปากกาฉีดอินสุลินอย่างถูกต้อง | th_TH |
dc.format.extent | 187083 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธาณสุข | en_US |
dc.title | ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการใช้ปากกาอินสุลินของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร | en_US |
dc.title.alternative | Knowledge, Attitude, and Practice in Using Insulin Pens among Diabetes Mellitus Patients of Leongnoktha Crown Prince Hospital, Yasothon Province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Insulin treatment is one of the standard regimens for controlling blood glucose in patients with diabetes mellitus (DM). The use of the “Insulin Pen” device for injecting insulin, instead of the traditional vial/syringe for injection, provides additional convenience and accuracy and it reduces pain during injection. This descriptive observational study was aimed at studying the behavior of 124 DM patients using insulin pens. Questionnaires were used to assess the following items: knowledge, history of using the insulin pen, attitude and practice in using the pen. Data were analyzed by independent sample t-test and one-way ANOVA (F-test). The majority (70.17%) of the samples were women, the average age of the samples was 57.0 ± 5.0 years; 87.90 percent of the patients were primary school graduates; 74.19 percent were experienced in using the pen for 6-8 months; 78.20 percent had used the traditional syringe insulin injection twice daily before switching to the insulin pen; 41.19 percent self-administed the insulin injection; 92.74 percent were instructed about the insulin pen, using the method described by health-care staff. The average knowledge score was 8.25 ± 2.17 out of a possible 10; the average attitude score was 3.14 ± 1.55 out of a possible 4 and the average practice score was 2.62 ± 0.54 out of a possible 3. When comparing the differences in sex, age, knowledge, history of using the insulin pen, attitude and practice in using the pen, we found that differences in educational background affected the knowledge of patients about using the insulin pen. The ones who were experienced in using the insulin pen were more likely to use it correctly than those who were inexperienced (p < 0.05). | en_US |
dc.subject.keyword | เบาหวาน | en_US |
.custom.citation | ศิษฎิคม เบ็ญจขันธ์, Sittikom Benchakanta, พิชิต นามวิเศษ and Pichit Namvisate. "ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการใช้ปากกาอินสุลินของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/260">http://hdl.handle.net/11228/260</a>. | |
.custom.total_download | 603 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 84 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 13 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ