• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพและการพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน ตอนที่ 1สถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ

พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์; ดวงฤดี ลาศุขะ; พีรศักดิ์ เลิศตระการนนท์; นฤมนัส คอวนิช; ทศพร คำผลศิริ;
วันที่: 2551-12
บทคัดย่อ
โครงการการศึกษาสถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพและการพัฒนาดัชนีวัดสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน เป็นโครงการความร่วมมือของเครือข่ายนักวิชาการและผู้ที่ทำงานด้านผู้สูงอายุหรือทำงานในองค์กรด้านผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับนักวิชาการสาธารณสุข และผู้ดูแลระบบสารสนเทศจากจังหวัดลำพูน โครงการนี้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาสถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ ส่วนที่สองเป็นการพัฒนาดัชนีวัดสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน คณะผู้ศึกษาได้กำหนดประเด็นหลักในการศึกษาโดยใช้กรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลกเป็นฐานในการศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ สวัสดิการ เศรษฐกิจและสังคม และสิ่งแวดล้อม กระบวนการศึกษาเริ่มจากการทบทวนตัวระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน ทบทวนองค์ความรู้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรจากงานวิจัยและเอกสารต่างๆ จากฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ การเก็บข้อมูลเชิงลึกจากหน่วยงานและผู้ที่รับผิดชอบในเครือข่าย การเก็บข้อมูลมีการประสานงานกับสาธารณสุขอำเภอแม่ทา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน และเก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่ร่วมด้วย รวมทั้งหน่วยงานในระดับพื้นที่ในอำเภอแม่ทาและองค์กรที่เกี่ยวข้อง การจัดประชุมเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้าใจและนำเสนอข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านระบบข้อมูลสุขภาพ การศึกษาเฉพาะอำเภอแม่ทาเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีบุคลากรทางสาธารณสุขที่เข้มแข็ง อยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ที่มีปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีผลต่อผู้สูงอายุหลากหลาย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ ประเด็นหลักในการวิเคราะห์ได้แก่ การมีระบบข้อมูลสุขภาพ ชนิดของข้อมูล ผู้เก็บข้อมูล ความสมบูรณ์ของข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล ปัญหาอุปสรรคในการใช้ข้อมูล พบว่ามีการจัดเก็บข้อมูลหลายระบบในหลายหน่วยงาน หน่วยงานระดับพื้นที่ส่วนใหญ่ส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานระดับจังหวัด ไม่ได้มีฐานข้อมูลที่หน่วยงานตนเองที่สามารถสืบค้น หรือนำมาวางแผนหรือประเมินผลงานได้ ผู้เก็บข้อมูลระดับเล็กสุดเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ศูนย์สาธารณสุขชุมชนมีภาระในการเก็บข้อมูลให้หลายหน่วยงาน ปัญหาของระบบข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุในปัจจุบันในระดับผู้ปฏิบัติพบว่าเกิดจากภาระงานของเจ้าหน้าที่จัดเก็บที่มาก ความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลจากหน่วยจัดเก็บ การขาดเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ยังไม่มีการนำข้อมูลที่จัดเก็บไปใช้ตามความต้องการของเจ้าของข้อมูล บัญชีรายงานในระบบมีมากเกินไป การปรับเปลี่ยนนโยบายและตัวชี้วัด ตลอดจนความต้องการข้อมูลที่หลากหลายของกรม กอง สำหรับความต้องการในการพัฒนาระบบ พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความต้องการสร้างระบบสารสนเทศที่สามารถสนับสนุนงานประจำได้ พร้อมทั้งสามารถให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้ภายนอกตามความจำเป็นและเหมาะสม ระบบข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา ได้มาตรฐานและตรวจสอบได้สามารถออนไลน์ได้ทั่วถึง มีศูนย์กลางในการกระจายข้อมูล เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลต่างๆ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ การแปลผลข้อมูลหรือตัวชี้วัดในรูปแบบต่างๆ เช่น กราฟ แผนที่ ฯลฯ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลให้ผู้นำข้อมูลไปใช้เข้าใจง่าย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1604.pdf
ขนาด: 2.090Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 160
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดทำข้อเสนอ การปฎิรูประบบบริการสุขภาพ และการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย 

    วรรณภา ศรีธัญรัตน์; Wannapa Srithanyarat; ผ่องพรรณ อรุณแสง; อัมพร เจริญชัย; สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ; กัลยา พัฒนศรี (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    เอกสารนี้นำเสนอผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย ในกระบวนการสังเคราะห์ได้มีการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพและหลักประกันส ...
  • การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ต่อกลุ่มทอผ้าพื้นบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

    เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร; Ketsarawan Nlilwarangkul; จรัญญา วงษ์พรหม; ชลิดา ธนัฐธีรกุล; สุมน ปิ่นเจริญ; Charunnya Wongphom; Chalida Tanutteerakul; Sumon Pincharoen (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2547)
    นโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นนโยบายที่ถูกกำหนดเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขอบเขตของนโยบายและการกระตุ้นการพัฒนาของนโยบายต่อกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ...
  • เคล็ดไม่ลับ R2R : บริบทโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน 

    วิจารณ์ พานิช; พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข; จรวยพร ศรีศศลักษณ์; สรชัย จำเนียรดำรงการ; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (แผนงานพัฒนาเครือข่ายวิจัยในรูปแบบงานวิจัยจากงานประจำสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2552-07)
    ภายในเวลา 5 ปี ที่ R2R งอกงามขึ้นที่ศิริราช บัดนี้ R2R ได้แพร่ขยายออกไปทั่วประเทศไทย ในหน่วยงานด้านสุขภาพ ภายใต้การจัดการของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย กระบวนการขับเคลื่อนไปสู่วงการสา ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV