dc.contributor.author | Yupapun Munkratok | en_US |
dc.contributor.author | Vithaya Kulsomboon | en_US |
dc.contributor.author | Yupadee Sirisinsuk | en_US |
dc.contributor.other | ยุภาพรรณ มันกระโทก | en_US |
dc.contributor.other | วิทยา กุลสมบูรณ์ | en_US |
dc.contributor.other | ยุพดี ศิริสินสุข | en_US |
dc.coverage.spatial | ไทย | en_US |
dc.date.accessioned | 2009-10-15T04:07:45Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:03:48Z | |
dc.date.available | 2009-10-15T04:07:45Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:03:48Z | |
dc.date.issued | 2552 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 3,2 (เม.ย.-มิ.ย.2552) : 242-251 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2759 | en_US |
dc.description.abstract | ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติบัญชี ง. เป็นยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง การใช้ยาเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายด้านยาในภาพรวม การสืบค้นรายการยา ปริมาณการใช้และความแตกต่างของการใช้ยาเหล่านี้ในระบบประกันสุขภาพต่างๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความเท่าเทียมในการใช้ยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารายการยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ประเมินผลกระทบของยาค่าใช้จ่ายสูงต่อรายจ่ายด้านยาโดยรวม และค้นหาผู้ป่วยที่ใช้ยาค่าใช้จ่ายสูงโดยจำแนกตามกลุ่มอายุของผู้ป่วยและประเภทต่างๆ ของระบบประกันสุขภาพ ได้ทำการศึกษาข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายโดยรวมของรายการยาในบัญชี ง. 10 อันดับแรกจากการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีงบประมาณ (2546-2548) จากฐานข้อมูลคลังเวชภัณฑ์ ข้อมูลการใช้ยาปี 2548 เก็บจากฐานข้อมูลการจ่ายยา เปรียบเทียบอัตราการใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง 10 อันดับแรกระหว่างกลุ่มอายุต่างๆ และเปรียบเทียบอัตราการใช้ยาดังกล่าวระหว่างประเภทของระบบประกันสุขภาพต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และระบบประกันสังคม จากการศึกษาพบว่ายาที่มีค่าใช้จ่ายสูง 6 รายการคือ ยาฉีด human erythropoietin 4,000 ยูนิต ยาเม็ด atorvastatin 10 มก. ยาฉีด meropenem 1 ก. ยาฉีด imipenem/cilastatin 500 มก. ยาฉีด cefoperazone/salbactam 1 ก. และยาเม็ด clopidogrel 75 มก. เป็นยาที่การใช้สูงในทั้ง 3 ปีงบประมาณ รายจ่ายของยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง 10 อันดับแรกของโรงพยาบาลคิดเป็นมูลค่า 45.6, 50.5 และ 68.8 ล้านบาทในปี 2546, 2547 และ 2548 ตามลำดับ รายจ่ายของยาฉีด erythropoietin 4,000 ยูนิต ยาเม็ด atorvastatin 10 มก. ยาเม็ด clopidogrel 75 มก. ยาฉีด meropenem 1 ก. เพิ่มขึ้นทุกปี ใน พ.ศ. 2548 รายจ่ายของยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง 10 อันดับแรกใช้จ่ายในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 63.8 หรือ 46.8 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการยาที่ใช้ในโรคเรื้อรังประกอบด้วย ยาฉีด erythropoietin ยาเม็ด atorvastatin ยาเม็ด clopidogrel และยา mycophenolate รายจ่ายของยาค่าใช้จ่ายสูงในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคิดเป็นร้อยละ 32.3 หรือ 23.6 ล้านบาท และในสวัสดิการประกันสังคมเพียงร้อยละ 1 ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่ใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่วนใหญ่เป็นยาต้านการติดเชื้อประกอบด้วย ยาฉีด meropenem
imipenem/cilastatin cefoperazone/salbactam. อัตราผู้ป่วยที่มีการใช้ยา atorvastatin และยา clopidogrel ในกลุ่มผู้สูงอายุในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการคือ 20.8 และ 6.47 ต่อผู้ป่วย 1,000 รายตามลำดับ ขณะที่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีเพียง 0.05 และ 1.45 ต่อผู้ป่วย 1,000 รายตามลำดับ ผู้ป่วยที่ใช้ยา meropenem ทุกกลุ่มอายุในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีอัตราสูงกว่าในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 202430 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | รายจ่ายของยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงและความแตกต่างของการใช้ยาเหล่านั้นในระบบประกันสุขภาพประเภทต่างๆ ภายในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Expenditures on High-cost Drugs and the Difference in Their Use under Various Health Insurance Schemes in a Regional Hospital in North-Eastern Thailand | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: Essential drugs in Subclass 4 are high-cost drugs (HCDs). Their use was an important factor in influencing pharmaceutical expenditure. Exploring drug items, extent of their use, and the difference in their use among health insurance schemes would provide in-depth understanding of the efficiency and equity of their use. The objectives of this study were to identify items of HCDs, to assess their impact on pharmaceutical expenditure, and to explore HCD users classified by age and type of health insurance schemes.
Methods: Retrospective data on overall drug expenditure including the top 10 HCDs in Subclass 4 of the Essential Drug List in three fiscal year (2003-2005) were obtained from the Hospital Inventory Database. Drug use data of the to 10 HCDs in 2005 were obtained from the Dispensing Database. The rates of the top 10 HCD use per 1,000 patients were classified by age and health insurance scheme, including the Universal Coverage Scheme (UC), Civil Servants Medical Benefit Scheme (CSMBS), and Social Security Scheme (SSS), and compared.
Results: In the three consecutive years, the six HCDs most highly used were human erythropoietin 4000 u. inj., atorvastatin 10 mg tab., meropenem 1g inj, imipenem/cilastatin 500 mg/vial IV, cefoperazone/salbactam 1g inj and clopidogrel 75 mg tab. The top 10 HCDs used in the hospital consumed 45.6 million, 50.5 million, and 68.8 million baht in 2003, 2004 and 2005 respectively. Expenditures on erythropoetin 4000 u., atorvastatin 10 mg., clopidogrel 75 mg and meropenem inj. 1g increased every year. In 2005, 63.8 percent or 46.8 million baht of the expenditure of the top 10 HCDs was on CSMBS. These items were the drugs used for chronic diseases: erythropoietin, atorvastatin, clopidogrel. and mycophenolate. HCD spending in UC was 32.3 percent or 23.6 million baht, but it was only 1 percent in SSS. In UC, the drug
items mainly used were anti-infectious drugs, including meropenem, imipenem/cilastatin and cefoperazone/salbactam. The rate of use of atorvastatin and clopidogrel per 1,000 patients in the aging group in CSMBS were 20.08 and 6.47 respectively. In UC, they were only 0.05 and 1.45 respectively. The rate of use of meropenem per 1,000 patients in every age group in UC was greater than in CSMBS.
Discussion: The impact of HCD use on pharmaceutical expenditure is quite high since only 10 HCDs account for 18-20 percent of overall pharmaceutical expenditure. There is a difference in HCD use based on the insurance schemes. Further studies should be focused on the evaluation of HCD use, effective measures to control HCD use, and methods to balance equity of HCD access among health insurance
schemes. | en_US |
dc.subject.keyword | High Cost Drug | en_US |
dc.subject.keyword | Health Insurance | en_US |
dc.subject.keyword | Expenditure | en_US |
dc.subject.keyword | ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบประกันสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | รายจ่าย | en_US |
.custom.citation | Yupapun Munkratok, Vithaya Kulsomboon and Yupadee Sirisinsuk. "รายจ่ายของยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงและความแตกต่างของการใช้ยาเหล่านั้นในระบบประกันสุขภาพประเภทต่างๆ ภายในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ประเทศไทย." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2759">http://hdl.handle.net/11228/2759</a>. | |
.custom.total_download | 1354 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 11 | |
.custom.downloaded_this_year | 162 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 24 | |