Show simple item record

Health Promotion in a Granite Process Factory: A Case Study in Rayong

dc.contributor.authorจันทร์ทิพย์ อินทวงศ์en_US
dc.contributor.authorสุนทร เหรียญภูมิการกิจen_US
dc.contributor.authorชาติวุฒิ จำจดen_US
dc.contributor.authorเกษสุดา คำแก้วen_US
dc.contributor.otherChanthip Intawongen_US
dc.contributor.otherSunthorn Rheanpumikankiten_US
dc.contributor.otherChattiwut Chamchoden_US
dc.contributor.otherKetsuda Kamkaewen_US
dc.coverage.spatialระยองen_US
dc.date.accessioned2009-10-15T04:12:46Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:04:05Z
dc.date.available2009-10-15T04:12:46Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:04:05Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 3,2(เม.ย.-มิ.ย.2552) : 252-260en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2760en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาภาวะสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยง การสร้างเสริมสุขภาพพนักงานตามแนวคิดการปฏิบัติการพยาบาลอาชีวอนามัย ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดังและโรคปอดฝุ่นหิน และพฤติกรรมการใช้จุกอุดหูก่อนและหลังการใช้กระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วม ในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2551 กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงาน 47 คน ในอุตสาหกรรมแปรรูปหินแกรนิตแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสำรวจสถานประกอบการ เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อวิเคราะห์ฝุ่นหินซิลิกา เครื่องวัดเสียง แบบสัมภาษณ์ข้อมูลสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัย เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด เครื่องตรวจการได้ยิน เครื่องถ่ายภาพรังสีทรวงอก แบบทดสอบความรู้และแบบสังเกตพฤติกรรมป้องกันปัจจัยเสี่ยง การปฏิบัติการพยาบาลอาชีวอนามัยและกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยจำนวนค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบค่าที ผลการศึกษาแสดงว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อสุขภาพ คือ ปริมาณฝุ่นหินซิลิกาเกินค่ามาตรฐานที่แผนกเลื่อยใหญ่ และแผนกขัดเงา และเสียงดังเกิน 90 เดซิเบล (เอ) 4 จุดจาก 15 จุด ที่แผนกขัดเจียตัดขอบ 2 จุด และแผนกขัดเงา 2 จุด การประเมินภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงสำคัญ พบว่าผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินผิดปรกติชนิดการได้ยินที่ความถี่สูงลดลง ร้อยละ 78.7 การได้ยินลดลง ร้อยละ 8.5 สมรรถภาพปอดผิดปรกติแบบจำกัด ร้อยละ 6.7 ภาพรังสีทรวงอกผิดปรกติอยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวัง ร้อยละ 10.6 และควรพบแพทย์ ร้อยละ 2.13 สำหรับพฤติกรรมการป้องกัน พนักงานใช้จุกอุดหู ร้อยละ 83.0 ระยะเวลาใช้จุกอุดหูเฉลี่ย 6.3 ชั่วโมงต่อวัน ใช้ผ้าปิดจมูกป้องกันฝุ่น ร้อยละ 55.3 ระยะเวลาใช้ผ้าปิดจมูกเฉลี่ย 6.26 ชั่วโมงต่อวัน การสร้างเสริมสุขภาพและการให้คำปรึกษาใช้กระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วม การสาธิตและให้ความรู้เรื่องโรคหูเสื่อมจากเสียงดัง โรคปอดฝุ่นหินและการป้องกัน ก่อนใช้กระบวนการกลุ่มพนักงานกลุ่มเสี่ยงใส่จุกอุดหูถูกต้อง ร้อยละ 15.35 และหลังใช้กระบวนการกลุ่มใส่จุกอุดหูถูกต้อง ร้อยละ 100 มีคะแนนความรู้เรื่องโรคและการป้องกันการเกิดโรคก่อนใช้กระบวนการกลุ่มเฉลี่ย 6.52 หลังใช้กระบวนการกลุ่มคะแนนเฉลี่ยเพิ่มเป็น 9.81 และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังใช้กระบวนการกลุ่มสูงกว่าก่อนใช้กระบวนการกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าพี < .01) การตรวจฝุ่นหินซิลิกาพบว่าสูงกว่ามาตรฐาน แต่ไม่พบโรคปอดฝุ่นหิน การตรวจการได้ยินพบโรคประสาทหูเสื่อมอยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังและควรพบแพทย์ ร้อยละ 87.23 และระดับเสียงเกินมาตรฐาน แนะนำโรงงานควรมีการเฝ้าระวังสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและสร้างเสริมความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพนักงานเข้าใหม่ และควรใช้กระบวนการกลุ่มในการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของเจ้าของโรงงานและพนักงานth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent297771 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.titleการสร้างเสริมสุขภาพพนักงานอุตสาหกรรมแปรรูปหินแกรนิต: กรณีศึกษาในจังหวัดระยองen_US
dc.title.alternativeHealth Promotion in a Granite Process Factory: A Case Study in Rayongen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThis study explored health status, risk factors, and health promotion via occupational health nursing practice concepts, and explored knowledge about noise-induced hearing loss and silicosis, and the practice of using personal protective equipment. This part was a quasi-experiment, with pre- and postparticipatory group process. This study was conducted between March and August 2008. Study subjects were 47 workers in a granite-processing factory in Muang District, Rayong Province. Data were collected by a walk-through survey form, area air sampling to measure silica dust, sound level meter type I, a health and health behavior interview form, measurement of weight and height, pulmonary function test, audiometer, chest X-ray, questionnaire on knowledge, observation form for health protection behavior, occupational health nursing practice, and participatory group process. Data were analyzed descriptively by number and percentage and inferentially by t-test. The results revealed major health risks: silica dust above the standard in the gang-saw section (%SiO2 = 7.648) and polishing section (%SiO2 = 6.622); and noise above standard of 90 dB(A) in 4 out of 15 points in the gearing and trimming section (2 points: 97.4 and 102.3 dB(A)) and polishing section (2 points: 91.1 and 99 dB(A)). The results on health status showed that most (78.7%) had abnormal audiograms – reduced high tone hearing (37/47), threshold shift 8.5 percent (4 /47); restrictive lung 6.7 percent (3/47); abnormal chest X-ray requiring surveillance 10.6 percent (5/47), physician observation 2.13 percent (1/47); but none were compatible with silicosis. Regarding health protection behavior, 83.0 percent of workers used ear plugs (39/47), with mean duration being 6.3 hours per day; and nasal masks 55.3 percent (26/47), with mean duration of 6.26 hours per day. Health promotion and counseling were done via participatory group process, demonstration, health education on noise-induced hearing loss, silicosis, and prevention. Before the group process, only 15.38 percent of the workers wore ear plugs correctly (6/39); this increased to 100 percent (39/39) after the group process. Before the group process, workers had knowledge score of 6.52 (SD = 2.12) which increased to 9.81 (SD = 2.60), and the difference was significant (p <0.01). Silica dust was above standard, but no case of silicosis was detected yet. Audiograms revealed those with abnormality, i.e. 87.23 percent of the total and some areas had noise above the safety threshold. The factory should therefore establish a surveillance program on health and environment and continuing education, especially for new workers. Group process should be deployed to enhance employers’ and employees’ participation.en_US
dc.subject.keywordการพยาบาลอาชีวอนามัยen_US
dc.subject.keywordอุตสาหกรรมหินแกรนิตen_US
dc.subject.keywordกระบวนการกลุ่มen_US
dc.subject.keywordHealth Promotionen_US
.custom.citationจันทร์ทิพย์ อินทวงศ์, สุนทร เหรียญภูมิการกิจ, ชาติวุฒิ จำจด and เกษสุดา คำแก้ว. "การสร้างเสริมสุขภาพพนักงานอุตสาหกรรมแปรรูปหินแกรนิต: กรณีศึกษาในจังหวัดระยอง." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2760">http://hdl.handle.net/11228/2760</a>.
.custom.total_download1080
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month13
.custom.downloaded_this_year161
.custom.downloaded_fiscal_year20

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v3n2 ...
Size: 295.2Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record