Show simple item record

National Health System Governance of Thailand after Promulgation of National Health Act B.E. 2550: Framework, Development and Proposal for improvement

dc.contributor.authorวิรุฬ ลิ้มสวาทen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-11-12T02:21:30Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:20:53Z
dc.date.available2009-11-12T02:21:30Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:20:53Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.otherhs1628en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2791en_US
dc.description.abstractการเกิดขึ้นของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ระบบสุขภาพไทย การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการกำหนดนิยามใหม่ให้กับคำว่า “สุขภาพ” ที่ขยายอาณาบริเวณของ “ระบบสุขภาพ” ออกไปพ้นจากการแพทย์และสาธารณสุขและเปิดพื้นที่ให้กับการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นอกจากนิยามของสุขภาพจะเปลี่ยนไป นิยามของ “การปกครอง” ก็เปลี่ยนไปด้วย ความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับโลกทำให้สิ่งที่เรียกว่า “การปกครองโดยรัฐ” (Government) ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดูแลรับผิดชอบสังคมได้โดยลำพังอีกต่อไป อีกทั้งการปฏิรูประบบบริหารจัดการภาครัฐ การเกิดขึ้นของประชาสังคม และขบวนการปฏิรูปการเมือง ได้เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมและทำให้เกิดรูปแบบการกำกับดูแลและจัดการสังคมแบบใหม่ๆ ที่เรียกว่า “การอภิบาล” (Governance) เป็นสิ่งใหม่ที่เข้ามามีบทบาทแทนที่การปกครองโดยรัฐแบบดั้งเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในระบบสุขภาพด้วยเช่นกันในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไปสู่เป้าหมาย เป็นที่ยอมรับว่า “การอภิบาลระบบสุขภาพ” (Health System Governance) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ในการชี้ทิศทางและกำกับดูแลให้ระบบสุขภาพเคลื่อนตัวไปตามทิศทางที่กำหนด กลไกอภิบาลจึงได้กลายเป็นเป้าหมายในการพัฒนาและการปฏิรูประบบสุขภาพ แต่อุปสรรคสำคัญ คือ ความซับซ้อนของระบบและความหลากหลายของแนวคิดและการใช้ถ้อยคำ เนื่องจากระบบสุขภาพที่ซับซ้อน มีการเชื่อมประสานองค์รวมและมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางเป็นสังคมที่ไร้ศูนย์กลาง (Centerless Society) การอภิบาลเกิดขึ้นได้โดยทุกจุดจนไม่สามารถแยกองค์ประกอบของกลไกอภิบาลออกจากระบบได้ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นความพยายามในการพัฒนากรอบแนวคิดเพื่อใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สิ่งที่เรียกว่า “กลไกอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติ” โดยพยายามทำศึกษาและทบทวนแนวคิดเรื่อง “การอภิบาล” แยกออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนจาก “ธรรมาภิบาล” ซึ่งเป็นเพียงมิติหรือมุมมองหนึ่งของการอภิบาลเท่านั้น โดยพยามยามค้นหาคำตอบที่สำคัญ 3 ประเด็น ได้แก่ 1. กรอบแนวคิดของ “การอภิบาลระบบสุขภาพ” ควรเป็นอย่างไร 2. กลไกอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไรและ 3. การพัฒนากลไกอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันควรทำอย่างไรen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทย หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 : กรอบแนวคิด พัฒนาการและข้อเสนอเพื่อการพัฒนาen_US
dc.title.alternativeNational Health System Governance of Thailand after Promulgation of National Health Act B.E. 2550: Framework, Development and Proposal for improvementen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ว697ก 2552en_US
dc.identifier.contactno51-090en_US
dc.subject.keywordGovernanceen_US
dc.subject.keywordการอภิบาลระบบสุขภาพen_US
.custom.citationวิรุฬ ลิ้มสวาท. "การอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทย หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 : กรอบแนวคิด พัฒนาการและข้อเสนอเพื่อการพัฒนา." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2791">http://hdl.handle.net/11228/2791</a>.
.custom.total_download248
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1628.pdf
Size: 1.250Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record