dc.contributor.author | สุพัตรา ศรีวณิชชากร | en_US |
dc.contributor.author | เกษม เวชสุทธานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | วินัย ลีสมิทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | ทัศนีย์ ญาณะ | en_US |
dc.contributor.author | อรอนงค์ ดิเรกบุษราคม | en_US |
dc.contributor.author | ภัทระ แสนไชยสุริยา | en_US |
dc.contributor.author | รวีวรรณ เผ่ากัณหา | en_US |
dc.contributor.author | พงค์เทพ สุธีรวุฒิ | en_US |
dc.contributor.author | สิรินาฏ นิภาพร | en_US |
dc.contributor.author | พฤกษา บุกบุญ | en_US |
dc.contributor.author | Supattra Srivanichakorn | en_EN |
dc.contributor.author | Kasem Vechasuthanon | en_EN |
dc.contributor.author | Winai Leesmith | en_EN |
dc.contributor.author | Tassanee Yana | en_EN |
dc.contributor.author | Onanong Direkbussarakom | en_EN |
dc.contributor.author | Pattara Sanchaisuriya | en_EN |
dc.contributor.author | Raviwan Paokanha | en_EN |
dc.contributor.author | Pongtep Suthirawuth | en_EN |
dc.contributor.author | Sirinat Nipaporn | en_EN |
dc.contributor.author | Praksa Bookboon | en_EN |
dc.date.accessioned | 2010-01-15T08:53:57Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:04:43Z | |
dc.date.available | 2010-01-15T08:53:57Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:04:43Z | |
dc.date.issued | 2552 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 3,3(ก.ค.- ก.ย.2552) : 389-401 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2869 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพร้อมและศักยภาพขององค์กรปกครองท้องถิ่น ชุมชน และเครือข่ายหน่วยบริการสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ ซึ่งเป็นไตรภาคีในการทำงานด้านสุขภาพของพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางและบทบาทการร่วมมือกันของทั้ง 3 ภาคส่วน ในการดูแลระบบสุขภาพของชุมชน โดยเน้นกระบวนการศึกษาแบบมีส่วนร่วมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ การเลือกพื้นที่ศึกษาใช้การเลือกแบบเจาะจง กระจายใน 4 ภูมิภาค ภาคละ 2 จังหวัด ซึ่งมีทั้งพื้นที่ที่เป็นพื้นที่นำร่องในการถ่ายโอนภารกิจของสถานีอนามัยสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพื้นที่ทั่วไปที่มีประสบการณ์การดำเนินงานร่วมกันของทั้ง 3 ภาคส่วน รวมจำนวน 12 ตำบล เครื่องมือที่ใช้สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพประกอบด้วยแบบสอบถามและแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดผ่านการทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ในส่วนของการศึกษาศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้การศึกษาเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม เพื่อประเมินคะแนนสะท้อนศักยภาพในแต่ละด้านโดยกำหนดสเกลอิงเกณฑ์และใช้การวิเคราะห์แบบสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ในด้านนโยบายและระบบสนับสนุนหน่วยบริการสาธารณสุขยังมีโครงสร้างรองรับได้จำกัด โดยเฉพาะในระดับจังหวัด ในขณะที่ระดับอำเภอและระดับตำบลมีรูปธรรมเชิงโครงสร้างและการทำงานร่วมกันที่เห็นได้ชัดเจนมากกว่า บางพื้นที่ศึกษาเจ้าหน้าที่ต่างๆ มีความเห็นเชิงหลักการหรือนโยบายการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกัน และพบว่าจำนวนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ศักยภาพความรู้ความสามารถและประสบการณ์ รวมถึงระยะเวลาทำงานในพื้นที่สาธารณสุขมีผลด้านบวกต่อการทำงานสร้างภาคีความร่วมมือกัน ทั้งนี้เนื่องจากสัมพันธภาพเชิงบุคคลเป็นสำคัญ แต่ยังไม่มีระบบสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถทำงานร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่มีความเข้าใจเรื่องการจัดการและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อการรายงานในระดับหน่วยงานมากกว่าการใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ศักยภาพและความพร้อมของภาคชุมชนขึ้นกับความหลากหลาย บทบาทและความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนและกลุ่มการพัฒนาลักษณะต่างๆในชุมชน รวมทั้งระดับการยอมรับต่อหน่วยบริการสุขภาพและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ภาพสะท้อนความร่วมมือและความเข้มแข็งของชุมชน ได้แก่ เป็นโครงการที่ชุมชนริเริ่ม มุ่งเน้นให้ชุมชนดูแลบริหารจัดการเอง ได้ประโยชน์ร่วมและนำไปสู่การพึ่งตนเอง รูปธรรมการต่อรองด้านสุขภาพจากชุมชนยังมีจำกัด มีบ้างในพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการกองทุนในลักษณะต่างๆเพื่อพัฒนาสุขภาพ แต่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะตั้งรับเพื่อขอรับการสนับสนุนมากกว่าเป็นการเรียกร้องหรือต่อรองเพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีหน่วยงานเฉพาะดูแลเรื่องสาธารณสุขและมีศักยภาพในด้านการบริหารจัดการ ขณะที่ทุกแห่งที่ศึกษาได้รับการยอมรับจากประชาชนเรื่องการเมืองท้องถิ่น แต่อำนาจการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นและการหารายได้มีความแตกต่างกันตามขนาดขององค์กร ส่วนรายจ่ายในการพัฒนาด้านสาธารณสุขของแต่ละพื้นที่นั้นมีน้อยมากเพียงร้อยละ 6.64 ของรายจ่ายทั้งหมดเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพมีน้อยมาก ทั้งเรื่องการกำหนดนโยบายในพื้นที่เพื่อให้เกิดการประกันสุขภาพแก่ประชาชนทุกคนในพื้นที่รับผิดชอบ การร่วมจัดบริการและการซื้อบริการ โดยจะมีบทบาทการดูแลกำกับบริการและการบริหารสถานบริการบ้างเท่านั้น ข้อเสนอแนะที่สำคัญประกอบด้วย 1) ควรสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ 2) ควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของแต่ละภาคส่วนให้ชัดเจนและต่อเนื่องตามศักยภาพและขีดความสามารถ 3) ควรพัฒนากลวิธานและระบบสนับสนุนสำคัญ เช่น เรื่อง ระบบบริหารจัดการ ระบบฐานข้อมูลในเชิงการจัดการและใช้ประโยชน์เพื่อการวางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหาพื้นที่รวมทั้งการติดตามประเมินผล นอกจากนี้ จากการประชุมระหว่างคณะผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนา พบว่ามีข้อเสนอเชิงกลวิธานการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดระบบสุขภาพชุมชนอย่างแท้จริง คือ 1) ควรปรับเป้าหมายของการพัฒนาจากการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นการสร้างเสริมแนวคิดและกระบวนการพัฒนาภาคีด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยเป็นความร่วมมือทั้งจากภาคสาธารณสุข ท้องถิ่นและชุมชน 2) เสริมกลวิธานนโยบายและการบริหารองค์กรในระดับจังหวัดและอำเภอในการพัฒนาระบบงานด้านสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพชุมชนให้เกิดเป็นนโยบายสาธารณะ ทั้งนี้ต้องเสริมความเข้มข้นในการสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพด้วย 3) ให้มีระบบการเสริมศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชัดเจนต่อเนื่องตามบริบทของพื้นที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รูปแบบที่ดำเนินการได้ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลในพื้นที่เด่น การเปิดเวทีเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนบริบทการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 320224 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | สถานการณ์ ศักยภาพ และความพร้อมของไตรภาคี ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในพื้นที่ 12 ตำบล | en_US |
dc.title.alternative | Potential and Readiness of Tripartite Member Concerning the Development of the Community Health System in 12 Sub-districts | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research study concerns the situation, potential and readiness of local government organizations,
communities and networks of health service units at the primary health care level which work in partnership
for local health. It is aimed at bring about improvements in the direction of and the role played by networking
of the tripartite members of the community health system. The study emphasizes the process of both the quantity
and quality approaches. The selection of the study area was made using the purposive method, with the
distribution being two provinces each in four regions of Thailand. They were included in both the primary area
with regard to their experience with the transfer of the mission of primary health care units to local government
organizations and with the cooperative efforts of 12 sub-districts. The method of this qualitative study involved
the use of a questionnaire with guidelines for interviews and focus group discussions, all of which had been
passed and tested by professionals. With regard to the study of the potential and readiness of local government
organizations, a scale was set up concerning the criteria and use of descriptive analysis.
The study resulted in significant information on the situation, capacity, and readiness of the network of
health services relating to policy dimensions and the system of support for health service providers, which still
has an incomplete structure, especially at the provincial level. However, at the district and sub-district levels,
the clearing structure has worked more effectively in some of the study areas with regard to the principles or policies governing the transfer of the health service mission to local government organizations in a different
manner. The number of health service providers, their capacity regarding knowledge, and their experience,
including duration of work, all have had a positive impact on their work as partners because, while individual
relationships are important, the supporting system still lacks capacity for the development of more effective
health officers working in communities and local areas. However, most health personnel possess understanding
regarding the management and use of information; they can report on the level of the working unit more
effectively than use the information for planning to solve problems at the area level. The capacity and the
readiness of individual communities were found to depend on the variety, role, and strengths of the community
leaders and the development groups within those communities. This observation includes the level of acceptance
of health service units and the local government organization in the area concerned, as well as the focus on
management, and bringing about good governance. Concrete negotiations on health from the community level
are still limited, particularly with regard to funding. The capacity and the readiness of the local government
organizations regarding the structure of the health system in most of the study areas varied by specific unit of
management capacity. The entire study unit was accepted by the communities with regard to the local politics.
However, the ability to obtain local revenues and generate income differs according to the size of each organization.
For expenses on health development in those areas, each obtains a little over 6.6 percent of the total
expenses from the study area. It was found that participation in the universal health insurance coverage scheme
in these areas was still limited, with regard both to policy setting in the area in order to extend the coverage to
all people in the areas concerned, involvement in providing and purchasing health services, including service
monitoring and practice management.
Important suggestions arising from the study as it concerned the health service network and communities
comprised the following: (1) support is needed for learning more about the local mechanisms for working
cooperatively for health; (2) improvement in capacity-building should be promoted in each sector clearly and
continuously according to their capacity and ability; (3) a mechanism and support system should be developed
such as a management system, and information system for planning, and implementing, and for monitoring
and evaluation.
Other suggestions called for (1) modifying the development goal regarding the transfer of the responsibility
for providing health services to the local government organizations in order to promote the concept and
process of partnership development among those in the health sector, local government organizations, and
community; (2) advocating policy mechanisms and organizational management at the district and provincial
levels for developing public policy on health, as it relates to social marketing and public communication on
health; (3) supporting clear and continuous capacity-strengthening measures for local governments, such as
databases developed to cover interesting case studies, and organizing appropriate activities for improving the
learning process on networking issues in all sectors. | en_US |
dc.subject.keyword | องค์กรปกครองท้องถิ่น | en_US |
dc.subject.keyword | หน่วยบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject.keyword | ชุมชน | en_US |
dc.subject.keyword | สุขภาพชุมชน | en_US |
dc.subject.keyword | บริการปฐมภูมิ | en_US |
dc.subject.keyword | Local Government Organization | en_US |
dc.subject.keyword | Health Service Unit | en_US |
dc.subject.keyword | Community Health | en_US |
dc.subject.keyword | Primary Health Care | en_US |
.custom.citation | สุพัตรา ศรีวณิชชากร, เกษม เวชสุทธานนท์, วินัย ลีสมิทธิ์, ทัศนีย์ ญาณะ, อรอนงค์ ดิเรกบุษราคม, ภัทระ แสนไชยสุริยา, รวีวรรณ เผ่ากัณหา, พงค์เทพ สุธีรวุฒิ, สิรินาฏ นิภาพร, พฤกษา บุกบุญ, Supattra Srivanichakorn, Kasem Vechasuthanon, Winai Leesmith, Tassanee Yana, Onanong Direkbussarakom, Pattara Sanchaisuriya, Raviwan Paokanha, Pongtep Suthirawuth, Sirinat Nipaporn and Praksa Bookboon. "สถานการณ์ ศักยภาพ และความพร้อมของไตรภาคี ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในพื้นที่ 12 ตำบล." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2869">http://hdl.handle.net/11228/2869</a>. | |
.custom.total_download | 981 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 5 | |
.custom.downloaded_this_year | 134 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 19 | |