แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ผลการร่วมกิจกรรมกลุ่มต่อการควบคุมโรคและดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน

dc.contributor.authorวินัย เภตรานุวัฒน์en_US
dc.contributor.authorWinai Petranuwaten_US
dc.coverage.spatialปทุมธานีen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T06:53:10Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T15:55:16Z
dc.date.available2008-10-02T06:53:10Zen_US
dc.date.available2557-04-16T15:55:16Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,1 (ม.ค.-มี.ค. 2551), (ฉบับเสริม 3) : 623-630en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/286en_US
dc.description.abstractโรคเบาหวานยังเป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพที่ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักของผลการรักษาล้มเหลวเกิดจากพฤติกรรมของผู้ป่วย การรักษาและควบคุมโรคให้ได้ผลจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยควบคู่ไปกับการรักษาโดยการใช้ยา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง ที่ช่วยเพิ่มสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน เปรียบเทียบกับผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการสอนตามปรกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2549 – พฤษภาคม 2550 จำนวน 88 ราย ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 44 คนเท่ากัน กลุ่มทดลองแบ่งเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 8-11 คน เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มช่วยตนเอง จำนวน 3 ครั้ง ทุก 4 สัปดาห์ ครั้งละ 40 นาที ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการสอนตามปรกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ก่อนและหลังการทดลองทั้งสองกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบทีจับคู่ และการทดสอบที โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยเสดงว่าภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มช่วยตนเอง กลุ่มศึกษามีความสามารถในการดูแลตนเองดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการสอนตามปรกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ผู้วิจัยอธิบายว่าการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วยที่มีปัญหาความเจ็บป่วยคล้ายกัน มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์แสดงความคิดเห็น และหาแนวทางแก้ปัญหาระหว่างกันและกัน และมีกลุ่มสมาชิกที่อยู่ใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดแรงจูงใจให้มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถปรับพฤติกรรมได้ และยังสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ด้วย ผู้วิจัยมีความเห็นว่าควรขยายผลไปสู่กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี และโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่มารับบริการในโรงพยาบาล และขยายผลไปสู่ชุมชน เช่นก่อตั้งหน่วยบำบัดปฐมภูมิในความรับผิดชอบของโรงพยาบาล สร้างเครือข่ายกลุ่มดูแลตนเองหาผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ช่วยผู้ป่วยให้พึ่งพาตนเองในเรื่องที่สามารถทำได้เอง โดยไม่ต้องรอให้เจ้าหน้าที่มากำกับดูแล และส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มช่วยตนเองของผู้ป่วยให้ยั่งยืนต่อไป นำมาเป็นรูปแบบแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาลในด้านให้บริการประชาชนให้มีสุขภาพดีได้ต่อไปth_TH
dc.format.extent213063 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleผลการร่วมกิจกรรมกลุ่มต่อการควบคุมโรคและดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานen_US
dc.title.alternativeThe Benefit of Group Participation in the Control and Self-care Patients with Non-insulin Dependent Diabetes Mellitusen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeNon-insulin dependent diabetes mellitus (NIDDM) is a major health problem. One significant factor that affects the success in its control and treatment involves the individual self-care behavior in patients’ life style. The purpose of this study was to assess the effectiveness of group participation in self-help on self-care in patients with non-insulin dependent diabetes mellitus by comparing them with patients receiving routine advice. The subjects included 88 non-insulin dependent diabetes patients who attended the outpatient department of Prachathipat Hospital in the period from December 2006 through May 2007. The samples were simply randomized into experimental and control groups comprising 44 patients each. The experimental groups assigned to the self-help group was further divided into four subgroups of 8 -11 patients to join three activity sessions, spending 40 minutes in each of them once a month. The control group received routine advice. Data were then collected through interviews using questionnaires before and after the experiment. The statistical analyses provided mean, standard deviation, and information from paired t-test and ttest. The findings showed that, after completing the study project, the self-care behavior mean score of patients who participated in the self-help group was statistically higher than it was before starting the experiment and higher than the results in the control group. The gained mean score on self-care behavior after the experiment between the self-help group participating and the routine teaching group differed statistically. The explanation given was that participation in the self-help group provided the patients with sharing and learning experiences. The researcher suggested that the efficiency of self-care behavior could also be modified for practice in the prevention of complications from other chronic diseases.en_US
dc.subject.keywordกิจกรรมกลุ่มช่วยตนเองen_US
dc.subject.keywordโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินen_US
dc.subject.keywordSelf-help Groupen_US
dc.subject.keywordDiabetes Controlen_US
.custom.citationวินัย เภตรานุวัฒน์ and Winai Petranuwat. "ผลการร่วมกิจกรรมกลุ่มต่อการควบคุมโรคและดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/286">http://hdl.handle.net/11228/286</a>.
.custom.total_download559
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year95
.custom.downloaded_fiscal_year13

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 212.2Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย