แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน ในโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง ปี 2545-2549

dc.contributor.authorไพรัตน์ หริณวรรณen_US
dc.contributor.authorวรรณา ดำเนินสวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorประยุทธ ศรีกระจ่างen_US
dc.contributor.authorนุชนภางค์ มณีวงศ์en_US
dc.contributor.authorPairat Harinawanen_EN
dc.contributor.authorWanna Damnoenssawaten_EN
dc.contributor.authorPrayuth Srikajangen_EN
dc.contributor.authorNuchnapang Maneewongen_EN
dc.coverage.spatialลำปางen_US
dc.date.accessioned2010-01-15T08:56:24Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:04:47Z
dc.date.available2010-01-15T08:56:24Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:04:47Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 3,3(ก.ค.- ก.ย.2552) : 412-418en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2871en_US
dc.description.abstractการศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบมูลค่าการใช้ยาสมุนไพร ทดแทนยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรคหรือกลุ่มอาการ 5 กลุ่มอาการหลัก ในช่วงเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ 2545-2549) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 – สิงหาคม 2551 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการ 65 คน และผู้รับบริการ 260 คน ของโรงพยาบาลศูนย์ลำปางและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง รวม 13 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนปัจจุบันในกลุ่มอาการ 6 กลุ่มอาการหลัก ได้แก่ กลุ่มอาการแน่นจุกเสียด อาหารไม่ย่อย กลุ่มอาการไข้ เจ็บคอ ท้องเสีย (ที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย) กลุ่มอาการท้องผูก กลุ่มอาการแผลเริม และกลุ่มอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก 2) แบบสอบถามผู้ให้บริการ เกี่ยวกับความคิดเห็นในการสั่งใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน และ 3) แบบสอบถามผู้รับบริการเกี่ยวกับความพึงพอใจในการรักษาด้วยสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยสถิติการทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยใช้สถิติไฆสแควร์ จากการศึกษาพบว่ามูลค่าการใช้ยาสมุนไพรเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน ทั้ง 5 รายการของจังหวัดลำปาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยมูลค่าการใช้ขมิ้นชันเพิ่มขึ้นจาก 85,717 บาทใน พ.ศ. 2545 เป็น 551,272 บาทใน พ.ศ. 2549 ฟ้าทะลายโจรเพิ่มขึ้นจาก 28,152 บาท เป็น 138,681 บาท ชุมเห็ดเทศเพิ่มขึ้นจาก 2,797 บาทเป็น 27,104 บาท เสลดพังพอนเพิ่มขึ้นจาก 3,490 บาทเป็น 18,101 บาท และไพลเพิ่มขึ้นจาก 14,243 บาทเป็น 298,446 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบมูลค่าการใช้สมุนไพร พ.ศ. 2545-2549 พบว่า มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี < 0.05) ส่วนมูลค่าการใช้ไพลมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี = 0.074) ความคิดเห็นในการสั่งใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันของผู้ให้บริการ พบว่าผู้ให้บริการมีประสบการณ์สั่งใช้ขมิ้นชัน ร้อยละ 75.4 ฟ้าทะลายโจร ร้อยละ 63.1 ชุมเห็ดเทศ ร้อยละ 40 เสลดพังพอน ร้อยละ 41.5 และไพล ร้อยละ 58.5 เหตุผลส่วนใหญ่ในการตัดสินใจสั่งใช้คือ รู้ข้อมูลด้านสรรพคุณ ส่วนความพึงพอใจของผู้รับบริการในการรักษาด้วยยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน พบว่าผู้รับบริการที่มีประสบการณ์ในการใช้ขมิ้นชัน ร้อยละ 68.5 ฟ้าทะลายโจร ร้อยละ 70 ชุมเห็ดเทศ ร้อยละ 15.4 เสลดพังพอน ร้อยละ 29.6 และไพล ร้อยละ 69.2 มีความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าพี < 0.001 เหตุผลคือ ยาสมุนไพรเหล่านี้มีสรรพคุณดีและเคยใช้มาก่อน จากผลการศึกษาที่พบว่าการใช้ยาสมุนไพร ได้แก่ ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ชุมเห็ดเทศ เสลดพังพอน และไพล ทดแทนยาแผนปัจจุบัน ในโรงพยาบาลศูนย์ลำปางและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545-2549 เพิ่มมากขึ้นนั้น เนื่องจากการสนับสนุนเชิงนโยบายในการสั่งใช้ยาสมุนไพรในสถานบริการ มีการจัดประชุมสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการด้านสมุนไพร รวมถึงมีการเตือนความจำบุคลากรให้มีการใช้ยาสมุนไพรด้วยการติดสติ๊กเกอร์ในจุดที่มีการสั่งจ่ายยา สอดคล้องกับการรับรู้ข้อมูลสรรพคุณยาสมุนไพร และมีการตัดสินใจสั่งใช้ของผู้ใช้บริการ ยกเว้นสมุนไพรไพล ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากราคาของยาสมุนไพรไพลมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ปริมาณการใช้มีน้อยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent221382 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectสมุนไพรen_US
dc.subjectการแพทย์แผนไทยen_US
dc.subjectยาสมุนไพร--การใช้รักษาen_US
dc.subjectHerben_US
dc.titleการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน ในโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง ปี 2545-2549en_US
dc.title.alternativeUsage of Herbal Alternatives to Modern Medicine in Lampang Hospital and Community Hospitals in Lampang Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThis descriptive study was aimed at comparing the cost of herbal medicine to replace conventional medicine for the treatment of five health conditions in a five-year period (2002 - 2006). The study was performed between May 2007 and August 2008. The study samples comprised 65 health care workers and 260 clients in regional hospitals and 12 community hospitals in Lampang Province. The research instruments used consisted of (1) a record of the cost of herbal medicine and conventional medicine treatment of five health conditions: irritable bowel syndrome, sore throat (non-infectious) constipation, herpes, and musculoskeletal/joint diseases, (2) a questionaire for herbal medical orders, and (3) a satisfaction form to record the use of herbal medicine. The data were analyzed by descriptive statistics; the cost of herbal medicine replacing conventional medicine was compared by t-test and clients satisfaction analyzed by chi-square. The results indicated that the cost of most herbal medicine compared with conventional medicine for five health-condition treatments in Lampang Province increased during the period studied. The cost of Turmeric increased from 85,717 baht in 2002 to 551,272 baht in 2006; Andrographis increased from 28,152 baht to 138,681 baht, Senna alata leaves increased from 2,797 baht to 27,104 baht, and Clinacantus nutans leaves increased from 3,490 baht to 18,101 baht and Zingiber montanum increased from 14,243 baht to 298,446 baht. The comparative cost of herbal medicine during the period 2002-2006 significantly increased (p < 0.05), except for Zingiber montanum (p = 0.074). Concerning the health care workers’ perceptions about herbal medicine, we found that the sample population experienced increases of 75.4 percent in ordering Turmeric, 63.1 percent for Andrographis, 40 percent for Senna alata leaves, 41.5 percent for Clinacantus nutans leaves and 58.5 percent for zingiber montanum. The main reasons for the decision to order was a perceived drug indication. For the clients’ satisfaction in using herbal medicine as a replacement for conventional medicine, we found that the clients had experience in using Turmeric (68.5 percent), Andrographis paniculata (70 percent), Candelabra bush (15.4 percent), Clinacantus nutans (29.6 percent) and Zingiber montanum (69.2 percent). Satisfaction was highly significant (p < 0.001); the reasons for satisfaction were knowing the indications and having experience in using the herbals. Based on our study results, the herbal medicines used were Turmeric, Andrographis, Senna alata leaves, Clinacantus nutans leaves and Zingiber montanum for increasingly replacing conventional medicine in the regional hospital and 12 community hospitals in Lampang Province from 2002 to 2006. The increasing rate resulted from the supportive policy of promoting herbal medicines in the health delivery system, organizing herbal medicine symposiums, and reminding healthcare workers by displaying posters on how to use herbal medicines at dispensing units.en_US
.custom.citationไพรัตน์ หริณวรรณ, วรรณา ดำเนินสวัสดิ์, ประยุทธ ศรีกระจ่าง, นุชนภางค์ มณีวงศ์, Pairat Harinawan, Wanna Damnoenssawat, Prayuth Srikajang and Nuchnapang Maneewong. "การใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน ในโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง ปี 2545-2549." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2871">http://hdl.handle.net/11228/2871</a>.
.custom.total_download10116
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month141
.custom.downloaded_this_year2059
.custom.downloaded_fiscal_year295

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v3n3 ...
ขนาด: 220.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย