Show simple item record

National Health System Governance of Thailand after Promulgation of the National Health Act B.E. 2550: Framework, Development and Proposal for Improvement

dc.contributor.authorวิรุฬ ลิ้มสวาทen_US
dc.contributor.authorWirun Limsawarten_EN
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2010-01-15T08:57:01Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:04:49Z
dc.date.available2010-01-15T08:57:01Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:04:49Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 3,3(ก.ค.- ก.ย.2552) : 419-433en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2872en_US
dc.description.abstractการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและการปฏิรูปโครงสร้างระบบสุขภาพในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้สร้างความท้าทายใหม่ๆ ในการอภิบาลระบบสุขภาพของประเทศไทย ภายหลังการตั้งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในปี พ.ศ.2535 มีการจัดตั้งองค์กรด้านสุขภาพระดับชาติเพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งการเกิดขึ้นของกลไกใหม่เหล่านี้ภายใต้กรอบโครงสร้างและแบบแผนการปฏิบัติแบบเดิมของกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำให้เกิดความลักลั่นของบทบาทภารกิจและเกิดอุปสรรคในการเชื่อมประสานกันเพื่อทำหน้าที่อภิบาลระบบ การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อทบทวนและพัฒนากรอบแนวคิด “การอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติ” และใช้กรอบแนวคิดนี้วิเคราะห์ระบบและสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา โดยใช้การทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2551 – กรกฎาคม พ.ศ.2552 จากการศึกษานี้พบว่า การอภิบาลระบบสุขภาพมีบทบาทหน้าที่สำคัญ 6 ประการคือ การกำหนดนโยบาย ,การสังเคราะห์และใช้ความรู้และการดูภาพรวม, การประสานงานและสร้างความร่วมมือ, การกำกับดูแล, การออกแบบระบบ, และการมีความรับผิดชอบ และยังพบว่าการใช้หลายมิติของการอภิบาลร่วมกันในการวิเคราะห์ ช่วยให้สามารถเข้าใจการอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติในปัจจุบันได้ชัดเจนมากขึ้น ในบริบทของประเทศไทย รัฐบาลเป็นหัวใจสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและแบบแผนการปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่เชื่อมโยงกันเป็นกลไกการอภิบาลระบบแห่งชาติ และในการพัฒนาควรให้ความสำคัญกับอย่างน้อย 3 มิติของการอภิบาล (1) การพัฒนาให้เกิดเครือข่ายการอภิบาลที่เข้มแข็ง (2) การพัฒนาธรรมาภิบาลในแต่ละองค์กร ซึ่งมีอุปสรรคสำคัญคือระบบอุปถัมภ์และวัฒนธรรมราชการ และ (3) การพัฒนากระบวนการและกลวิธีที่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการอภิบาลระบบโดยอาศัยการตรึกตรองสะท้อนคิดen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent284872 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleการอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทย หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550: กรอบแนวคิด พัฒนาการ และข้อเสนอเพื่อการพัฒนาen_US
dc.title.alternativeNational Health System Governance of Thailand after Promulgation of the National Health Act B.E. 2550: Framework, Development and Proposal for Improvementen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeRapid social changes and the structural reform of health systems in Thailand in the past two decades have posed new challenges relating to how the governance of the national health system operates. Following the establishment of the Health Systems Research Institute (HSRI) in 1992, a number of new national health organizations were created. The emergence of these new national bodies within the old structural framework and institutional practices of the Ministry of Public Health has created ambiguity of roles and difficulties in national health system governance. This study was aimed at formulating a conceptual framework for National Health System Governance (NHSG) and using this framework to analyze the system and synthesize a proposal for its improvement. The study was conducted using document analysis, in-depth interview and participatory observation, all of which were carried out during the period from August 2008 to July 2009. The study found the following crucial roles for NHSG: policy guidance, intelligence and oversight; collaboration and coalition-building; regulation; system design; and accountability. It also found that a multi-dimensional approach was useful for making more unambiguous analysis of NHSG in contemporary society. The study argues for a new system to create a more effective NHSG in the Thai context. In so doing, the Cabinet has a vital role to play in improving the structural framework and institutional practice of government actors in NHSG, and in considering the three dimensions of governance: (1) build a strong “governance network“; (2) develop ”good governance” for each actor, the main obstacles to which are the crony system and bureaucratic culture; and (3) develop processes and mechanisms which engage stakeholders from all sectors in system governance, by using a “reflexive governance“ framework.en_US
dc.subject.keywordการอภิบาลระบบสุขภาพen_US
dc.subject.keywordGovernanceen_US
dc.subject.keywordระบบสุขภาพen_US
dc.subject.keywordธรรมาภิบาลen_US
dc.subject.keywordHealth System Governanceen_US
dc.subject.keywordGood Governanceen_US
dc.subject.keywordReflexive Governanceen_US
.custom.citationวิรุฬ ลิ้มสวาท and Wirun Limsawart. "การอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทย หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550: กรอบแนวคิด พัฒนาการ และข้อเสนอเพื่อการพัฒนา." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2872">http://hdl.handle.net/11228/2872</a>.
.custom.total_download3845
.custom.downloaded_today2
.custom.downloaded_this_month63
.custom.downloaded_this_year1144
.custom.downloaded_fiscal_year181

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v3n3 ...
Size: 282.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record