แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

dc.contributor.authorจรวยพร ศรีศศลักษณ์en_US
dc.contributor.authorJaruayporn Srisasaluxen_EN
dc.date.accessioned2010-01-25T07:31:50Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:04:42Z
dc.date.available2010-01-25T07:31:50Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:04:42Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 3,4(ต.ค.-ธ.ค.2552) : 581-588en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2878en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการนำมติสมัชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 ประเด็น 1.7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการสุขภาพและทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมไปสู่การปฏิบัติ โดยมีรูปแบบการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามในเดือนกันยายน 2552 กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจำนวน 195 คน และการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องในองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จำนวน 20 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้รับทราบถึงการมีมติฯ แต่มีการดำเนินงานด้านนี้ตามพันธกิจของหน่วยงานโดยสอดคล้องกับแนวทางตามมติฯ โดยมิได้ตั้งใจ เนื่องจากการได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินการจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้เน้นกระบวนการแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ กัน ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ 1) อปท.เกือบทั้งหมด ยังขาดความรู้ในการใช้เครื่องมือประเมินผลกระทบต่อสุขภาพไปใช้ประกอบการจัดทำโครงการต่างๆ ในชุมชน 2) สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาคมสันนิบาตเทศบาล และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลยังมีบทบาทในการนำมติฯ ไปสู่การปฏิบัติน้อย ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ควรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาศักยภาพของ อปท. ในการนำเครื่องมือสมัชชาสุขภาพ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพไปใช้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 2) สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาคมสันนิบาตเทศบาล และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล ควรมีบทบาทเป็นแกนกลางในการสื่อสารมติฯ ที่เกี่ยวข้องกับ อปท. รวมทั้งวิเคราะห์กฎระเบียบที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการจัดการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent223632 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.titleการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.title.alternativeA Study of the Implementation of Local Administrative Organizations in the Management of Healthen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to explore the implementation of the Local Administrative Organizations (LAOs) according to a Resolution of the National Health Assembly 2008. Data were collected by using questionnaires in September 2009. The subjects were 195 staff of LAOs. The study also involved a focus group discussion with 20 staff members from the Provincial Administration Organization (PAO), League of Municipalities, and Tambon Administration Organization (TAO). Descriptive statistics were used to analyze the quantitative data and the qualitative data were analyzed by content analysis. The results revealed that the majority of the subjects did not get information about the Resolution of the National Health Assembly 2008, especially on item number 1.7 “Roles of Local Administrative Organizations in Managing Health, Natural Resources and Environment”. However, they functioned in these roles by their own plans, which conform with the resolution, because they had been funded by the National Health Security Office. The major problems of policy implementation were (1) lack of knowledge in assessing health impacts; and (2) the Association of PAOs, the League of Municipalities and the Association of TAOs having taken very little action on pushing the resolution. The recommendations from this research are as follows: (1) The National Health Commission Office (NHCO) and related organization should build the capacity of the local authorities, especially in health impact assessment and using health assembly tools; (2) the Association of PAOs, the League of Municipalities and the Association of TAOs should be core mechanisms to communicate the resolution of the National Health Assembly, which is involved with the role of the local authorities and to analyze the rules and regulations which constitute obstacles for managing good health within a suitable environment.en_US
dc.subject.keywordมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.subject.keywordLocal Administrative Organizationen_US
dc.subject.keywordNational Health Assembly 2008en_US
.custom.citationจรวยพร ศรีศศลักษณ์ and Jaruayporn Srisasalux. "การดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2878">http://hdl.handle.net/11228/2878</a>.
.custom.total_download743
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month9
.custom.downloaded_this_year129
.custom.downloaded_fiscal_year20

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v3n4 ...
ขนาด: 222.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย