บทคัดย่อ
ความต้องการการดูแลในสถานบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น พบว่ายังไม่มีแนวทางการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่ดีและยังไม่มีระบบการกำกับดูแลที่ชัดเจน วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสถานบริการและให้ข้อเสนอรูปแบบการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสถานบริการในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและผู้ที่มีอำนาจทางด้านนโยบาย รวมทั้งหมด 60 คน ผลการศึกษาพบว่า การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสถานบริการ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ 1) รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระดับต่ำ (low care) เป็นการดูแลผู้สูงอายุที่ไม่เน้นการรักษาจากแพทย์ แต่เน้นการดูแลทางสังคม การช่วยเหลือการดำรงชีวิตและการดูแลสุขภาพเบื้องต้น เช่น บ้านพักคนชราและสถานดูแลช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิต บุคลากรประกอบด้วย นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ระดับต่ำกว่า นอกจากนี้อาจมีนักกายภาพบำบัด นักอาชีวบำบัดและนักโภชนากร 2) รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระดับสูง (high care) เป็นการดูแลผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีภาวะเปราะบาง ต้องการการช่วยเหลือดูแล ติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง การพยาบาลและการรักษาจากแพทย์ เช่น สถานบริบาล สถานดูแลระยะยาวในโรงพยาบาลและสถานดูแลระยะสุดท้าย การดูแลจึงเน้นการดูแลความสุขสบายทั่วไป การฟื้นฟูสภาพ การทุเลาจากความทุกข์ทรมานและการดูแลแบบองค์รวมที่มีความมุ่งเน้นที่การดูแลจิตวิญญาณ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการให้การดูแลยังต้องประกอบ ด้วยปรัชญาการดูแลและการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการดูแล ข้อเสนอแนะ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสถานบริการ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การดูแลในระดับต่ำและการดูแลในระดับสูง การขึ้นทะเบียนแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ สถานดูแลระยะยาวระดับต่ำ ที่เน้นการดูแลด้านสังคมและกิจวัตรประจำวันทั่วไปขึ้นทะเบียนและกำกับดูแลกับกระทรวง พม.และสถานบริการดูแลระยะยาวระดับสูง ที่มีการพยาบาลและ/หรือการรักษาขึ้นทะเบียนกับกองการประกอบโรคศิลปะ กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่เป็นมาตรฐานกลางในระดับประเทศ ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่และมีความพร้อมจัดตั้งสถานบริบาลและส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการเพิ่มเพิ่มการเข้าถึงการบริการและส่งเสริมให้สถานดูแลระยะยาวในโรงพยาบาลทุติยภูมิมุ่งเน้นให้บริการดูแลฟื้นฟูสภาพ เป็นการดูแลระยะกลาง (Intermediate care) 2) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ คือ การจัดตั้งสถานบริบาลควรมีเกณฑ์ที่ชัดเจน จัดทำแบบประเมินภาวะพึ่งพาที่เป็นที่ยอมรับและเข้าใจตรงกันของทุกฝ่าย ให้ข้อมูลที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายของรัฐกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมอาสาสมัครหรือจิตอาสาเพื่อดูแลผู้สูงอายุ การเสนอข่าวของงานวิจัยของสื่อในเชิงสร้างสรรค์
บทคัดย่อ
While there is an increasing need for institutional long-term care, however, there is still lack of neither good practice guideline nor registration bodies to regulate institutional long-term care. This study aims to explore the caring practice and to recommend model of institutional long –term care in Thailand. Qualitative research method, such as focus group discussion and in-dept interviews were carried out for seeking opinion and practice experience from the academic expertise, care providers, care receivers and policy maker of 60 participants.
It was revolved that there were 2 models of Institutional long-term care; 1) low care model for older person who need social care and assisted living with minimal health care such as, residential home and assisted living. The staff included social worker, nurse, care assistant, physiotherapist and occupational therapist and 2) high care model for older person who need continuing care, nursing care and somewhat medical care, due to being frail or chronically ill, thus the staff included nurses, care assistant and medical doctors. This type of institution were nursing home, long-term care hospital and hospice care unit. The caring would focus on holistic care, comfort and spiritual care. In each model need to include philosophy of care and minimum care standard.
Policy recommendation are: to divide institutional long-term care into two levels, low care and high care; assigning low care institution to register with Ministry of Social Development and Human Security and the high care facility to register with Ministry of Public Health; to develop a minimum care standard at national level; to establish nursing home by local authority and encourage the private sector to particulate in providing care; and encourage community hospital to provide intermediate care. For practice recommendation, to have a clearer criteria for nursing home setting, to develop a dependent assessment tools, to provide sufficient information related to national policy on private setting, encourage volunteer in caring for older person, and media communication in a positive way.