Show simple item record

Multidimensional Evaluation of lodine Deficiency in Residents of Dansai District, Loei Province

dc.contributor.authorภักดี สืบนุการณ์en_US
dc.contributor.authorPakdee Suibnugarnen_US
dc.coverage.spatialเลยen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T06:53:37Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T15:55:16Z
dc.date.available2008-10-02T06:53:37Zen_US
dc.date.available2557-04-16T15:55:16Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,1 (ม.ค.-มี.ค. 2551) (ฉบับเสริม 3) : 631-643en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/287en_US
dc.description.abstractแม้ว่าอัตราคอพอกของเด็กนักเรียนประถมศึกษาในประเทศไทยจะลดต่ำลงอย่างมาก โดยลดลงจาก พ.ศ. 2532 ร้อยละ 19.3 เทียบกับ พ.ศ. 2546 ร้อยละ 1.31 แต่การป้องกันภาวะปัญญาอ่อนจากภาวะขาดสารไอโอดีนต้องให้ความสำคัญกับธัยรอยด์ฮอร์โมนที่ผ่านรกไปยังเด็กในช่วงแรกของการตังครรภ์ ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของภาวะขาดสารไอโอดีนจึงไม่ใช่เด็กนักเรียนอายุ 6-12 ปีที่เป็นคอพอก แต่คือหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่กำลังจะตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์แล้ว และเด็กแรกเกิดซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก และคณะกรรมการควบคุมภาวะขาดสารไอโอดีนนานาชาติ (ICCIDD) ที่ได้กำหนดตัวชี้วัดของพื้นที่ที่กำจัดภาวะขาดสารไอโอดีนมี 4 ตัวชี้วัด คือ 1) ความครอบคลุมเกลือไอโอดีนที่ได้มาตรฐานในครัวเรือน ร้อยละ 90 2) ระดับไอโอดีนมัธยฐานในปัสสาวะของเด็กนักเรียนประถมศึกษาไม่ควรน้อยกว่า 10 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร 3) อัตราคอพอกในเด็กประถมศึกษาน้อยกว่าร้อยละ 5 4) ปริมาณฮอร์โมนกระตุ้นธัยรอยด์ในเด็กแรกคลอดที่ระดับมากกว่า 5 มิลลิยูนิตต่อลิตร มีสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 3 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายจึงได้ทำการตรวจภาวะคอพอก และเก็บตัวอย่างปัสสาวะและเลือดของกลุ่มอายุต่างๆ ทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน เปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2541 กับ พ.ศ. 2546 ซึ่งผลการศึกษาแสดงว่าอัตราคอพอกตรวจโดยคลื่นเสียงความถี่สูงในเด็กประถมศึกษาลดลงอย่างมากจากร้อยละ 5.1 ใน พ.ศ. 2541 เหลือร้อยละ 0.5 ใน พ.ศ. 2546 แต่สัดส่วนไม่ใกล้เคียงกับอัตราคอพอกโดยการคลำตรวจซึ่งเท่ากับร้อยละ 16.1 และ 21.4 ใน พ.ศ. 2541 และ 2546 ค่ามัธยฐานของไอโอดีนในปัสสาวะ พ.ศ. 2546 ในกลุ่มอายุ 0-1 ปี, 1-3 ปี, 4-6 ปี, 6-12 ปี หญิงมีครรภ์และผู้สูงอายุ เท่ากับ 12.44, 15.49, 15.44, 15.31, 11.30, 5.52 มคก./ดล. ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2541 เท่ากับ 19.62, 19.06, 15.83, 46.92, 7.17 มคก./ดล. แต่ทั้ง พ.ศ. 2541 และ 2546 ส่วนใหญ่ยังเกินเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ยกเว้นกลุ่มผู้สูงอายุ ค่า TSH (serum based) >11.25 ไมโครยูนิตนานาชาติ/มล. เท่ากับร้อยละ 26 ซึ่งแสดงว่าเป็นพื้นที่ขาดสารไอโอดีนระดับปานกลาง สอดคล้องกับความครอบคลุมเกลือเสริมไอโอดีนที่ยังค่อนข้างต่ำคือเท่ากับร้อยละ 45 เนื่องจากมีการใช้เกลือสินเธาว์ชนิดเม็ดที่ไม่มีการเสริมไอโอดีนกันค่อนข้างมากถึงร้อยละ 49 เพราะราคาถูก การได้รับไอโอตีนจากอาหารประเภทอื่นยังมีน้อย จากการศึกษาแม้ว่าตัวชี้วัดส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผลลัพธ์จะผ่านเกณฑ์แต่กลับพบว่าผลสัมฤทธิ์ตกเกณฑ์ ซึ่งสอดรับกับตัวชี้วัดระดับกระบวนการ เรื่องความครอบคลุมของเกลือเสริมไอโอดีนซึ่งตกเกณฑ์เช่นกัน อาจแสดงให้เห็นว่า การให้ไอโอดีนผ่านน้ำเสริมไอโอดีน และยาเม็ดเสริมไอโอดีนในเด็กนักเรียนและหญิงมีครรภ์ อาจจะทำให้เข้าใจผ่านตัวชี้วัดอื่นๆ เช่น อัตราคอพอกว่าปัญหาไอโอดีนไม่ได้มีอยู่แล้ว แต่กระบวนการนั้นอาจจะไม่ยั่งยืนและสัมฤทธิ์ผลเท่ากับความครอบคลุมของเกลือไอโอดีนและการวัดผลสัมฤทธิ์ที่ TSH ในเด็กแรกคลอด จึงควรมีการติดตามตัวชี้วัดของไอโอดีนในระดับต่างๆ ที่ครบวงจรอย่างสม่ำเสมอ และนำข้อมูลดังกล่าววิเคราะห์รายชุมชนและสะท้อนไปยังชุมชนต่างๆ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนต่อไปth_TH
dc.format.extent221075 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleการประเมินภาวะขาดสารไอโอดีนในประชากรอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยen_US
dc.title.alternativeMultidimensional Evaluation of lodine Deficiency in Residents of Dansai District, Loei Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeFormerly, the programs for the elimination of iodine deficiency disorder in Thailand had used the total goiter rate in school children as an indicator for evaluating the program. That indicator showed improvement, from 19.3 percent in 1989 to 1.31 percent in 2003. However, for protection against brain damage from iodine deficiency, importance must be given to the transfer of thyroid hormones across the placenta even during early gestation. Thus, the ultimate focus must be women who are going to be pregnant, pregnant women and neonates. The criteria recommended by WHO/UNICEF/ICCIDD are salt iodization, proportion of households consuming effectively iodized salt > 90 percent, median urinary iodine in school age children > 10 μg/dl, thyroid size in school age children, proportion with enlarged thyroid by ultrasound or palpation < 5 percent and neonatal TSH, proportion with levels > 5 mU/l whole blood < 3 percent. The present study took for examination thyroid size and collected blood and urine specimens for TSH, thyroid function test, urinary iodine in many age groups both from the hospital and the community in 1998 and 2003. The results showed that the goiter rate in school age children by ultrasound decreased from 5.1 percent in 1998 to 0.5 percent in 2003, but this proportion was not similar to those identified according to thyroid size by palpation i.e., 16.1 percent in 1998 and 21.4 percent in 2003. Median urinary iodine in 2003 in the subjects in age groups 0-1 year, 1-3 years, 4-6 years, 6-12 years, pregnant women and elderly persons were 12.44, 15.49, 15.44, 15.31,11.30, 5.52 μg/dl, respectively. The levels seemed to decline when compared with the 2003 findings of 19.62, 19.06, 15.83, 46.92, 7.17 μg/dl respectively. Neonatal TSH (serum based) >11.25 μlU/ml in 2003 were 26 percent, which showed that our area was a moderate iodine deficiency disorder area. This might be caused by unsatisfied coverage with iodized salt at 45 percent. In this study, most outcome indicators achieved the criteria, but the impact indicator was unsatisfied in neonatal TSH. Accordingly, a process indicator such as coverage of salt iodization showed the failure to achieve the criteria. Therefore, Dansai Crown Prince Hospital would analyze the data in each community and show those data to people in the community in order to solve this problem. We recommend that every district follow the multidimensional evaluation of iodine deficiency disorder continuously as process, outcome and impact indicators.en_US
dc.subject.keywordภาวะขาดสารไอโอดีนen_US
dc.subject.keywordตัวชี้วัดภาวะขาดสารไอโอดีนen_US
dc.subject.keywordEvaluation of Iodine Deficiencyen_US
dc.subject.keywordIndicators of Iodine Deficiencyen_US
.custom.citationภักดี สืบนุการณ์ and Pakdee Suibnugarn. "การประเมินภาวะขาดสารไอโอดีนในประชากรอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/287">http://hdl.handle.net/11228/287</a>.
.custom.total_download1879
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month29
.custom.downloaded_this_year352
.custom.downloaded_fiscal_year61

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v2n1 ...
Size: 220.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record