Show simple item record

Breast Cancer Knowledge, Attitudes and Screening Behaviors - A Literature Review

dc.contributor.authorเนติมา คูนีย์en_US
dc.contributor.authorNetima Cooneyen_EN
dc.date.accessioned2010-05-03T07:20:54Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:05:04Z
dc.date.available2010-05-03T07:20:54Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:05:04Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 3,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2552) : 538-548en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2908en_US
dc.description.abstractปัจจุบันมะเร็งเต้านมยังคงเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ ของหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรก พบว่ามีโอกาสหายและสามารถลดอัตราการตายจากโรคได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงเป็นเรื่องสำคัญ การทบทวนวรรณกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในประชากรกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่พบสัดส่วนการตรวจคัดกรองน้อย โดยปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ความรู้ เจตคติ และความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและการตรวจคัดกรอง ในการทบทวนวรรณกรรมนี้ ผู้วิจัยได้รวบรวมการศึกษาก่อนหน้าที่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2547-เดือนกรกฎาคม 2552 ทั้งหมด 31 การศึกษา โดยใช้ฐานข้อมูล PubMed ซึ่งเป็นบริการของหอสมุดการแพทย์แห่งชาติ และสถาบันสุขภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้รูปแบบการทบทวนวรรณกรรมนั้นได้ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) และความรู้ เจตคติ และพฤติกรรม (Knowledge, Attitudes and Behaviors model) ในการวิเคราะห์เป็นหลัก ผลจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การศึกษาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และใช้การศึกษาภาคตัดขวาง ในการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยพบว่าผู้หญิงร้อยละ 5.3 ถึง 82 ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยวิธีแมมโมแกรม ส่วนผู้หญิงร้อยละ 6.4 ถึง 83 ตรวจเต้านมด้วยตนเอง และร้อยละ 26 ถึง 61 ตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการตรวจเต้านม นอกจากนี้ การศึกษายังชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมเท่านั้นที่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม หากแต่ความเชื่อ เจตคติ ประเพณี และการรับรู้ต่างๆ เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมนั้น เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในการตรวจคัดกรองดังกล่าว โดยสรุป การทบทวนวรรณกรรมฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องพิจารณาก่อนที่จะทำกิจกรรมรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในเรื่องระดับความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมว่าระดับว่าระดับใดเพียงพอที่จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในพฤติกรรมการตรวจคัดกรองต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent221749 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectมะเร็งเต้านมen_US
dc.titleความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม-ทบทวนวรรณกรรมen_US
dc.title.alternativeBreast Cancer Knowledge, Attitudes and Screening Behaviors - A Literature Reviewen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeObjective: To identify the factors, including knowledge, attitudes, beliefs, values, fears, and perceptions, which influence breast cancer screening behavior among different groups of people. Methods: A structured literature search was undertaken, using the United States National Library of Medicine’s PubMed database. Thirty-one breast cancer-related studies were selected; these were summarized by applying the Health Belief Model and Knowledge, Attitudes, and Behaviors Model to the framework. Results: Most of the studies had been conducted in North America, and the designs used were mostly cross-sectional studies. The percentages of women who underwent mammography ranged from 5.3 to 82. Women who had performed BSE (breast self-examination) ranged from 6.4 to 83 percent, and women who had undergone CBE (clinical breast examination) ranged from 26 to 61 percent. The review found that not only did knowledge of breast cancer play an important role in people’s behavior regarding breast cancer screening, but also regarding beliefs, attitudes, cultures, values, and perceptions. Conclusion: This literature review addresses issues regarding the importance of knowledge, attitudes, beliefs, values and cultural awareness when implementing prevention programs. Further research needs to explore the threshold level of breast cancer knowledge in order to achieve a higher rate of the breast cancer screening.en_US
dc.subject.keywordBreast Canceren_US
dc.subject.keywordการตรวจคัดกรองen_US
.custom.citationเนติมา คูนีย์ and Netima Cooney. "ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม-ทบทวนวรรณกรรม." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2908">http://hdl.handle.net/11228/2908</a>.
.custom.total_download1821
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month31
.custom.downloaded_this_year174
.custom.downloaded_fiscal_year260

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v3n4 ...
Size: 220.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record