ผลจากการควบคุมวัณโรคในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงพิเศษต่อการเป็นวัณโรคในภาคเหนือของประเทศไทย : กรณีศึกษาแบบการสังเกต
dc.contributor.author | อรรถพล ชีพสัตยากร | en_US |
dc.contributor.author | เรืองรอง ชีพสัตยากร | en_US |
dc.contributor.author | Attapon Cheepsattayakorn | en_EN |
dc.contributor.author | Ruangrong Cheepsattayakorn | en_EN |
dc.date.accessioned | 2010-05-03T07:21:18Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:05:11Z | |
dc.date.available | 2010-05-03T07:21:18Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:05:11Z | |
dc.date.issued | 2552 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 3,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2552) : 558-566 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2911 | en_US |
dc.description.abstract | รายงานนี้เสนอข้อมูลจากการทบทวนสถานการณ์วัณโรคในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการป่วยเป็นวัณโรคและผลของการควบคุมวัณโรคโดยรวมในช่วงเวลาต่างๆ ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานรอบปรกติของผู้ป่วยวัณโรค และรายงานพิเศษสำหรับโครงการควบคุมวัณโรคในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นวัณโรค จากการศึกษาพบการดื้อยาหลายขนานร้อยละ 30 และ 60 ในพ.ศ. 2546 และพ.ศ. 2547 ตามลำดับ อัตราการรักษาหายในผู้ป่วยกลุ่มนี้น้อยกว่าร้อยละ 60 จากรายงานในพ.ศ. 2547 พบวัณโรคเป็นโรคฉวยโอกาสบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีถึงร้อยละ 38.9 ไอโซไนอะซิดป้องกันไม่ให้เป็นวัณโรคได้ร้อยละ 78 ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี เมื่อครบ 25 เดือน นับจากเริ่มกินยา จากรายงาน พ.ศ. 2537-2539 มีเด็กที่สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคถูกวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรคและติดเชื้อวัณโรคร้อยละ 3.2 และ 37.1 ตามลำดับ จากรายงาน พ.ศ. 2548 มีการตรวจพบเชื้อวัณโรคจากการย้อมเชื้อเพียงร้อยละ 20-25 และพบว่าประเภทของผู้สังเกตการณ์กินยารักษาวัณโรคของผู้ป่วยและอัตราการหายป่วยจากวัณโรคในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ในรายงาน พ.ศ. 2546 ไม่มีความสัมพันธ์กันโดยนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากการควบคุมวัณโรคในพื้นที่นี้เปรียบเทียบกันระหว่าง พ.ศ. 2546 กับ พ.ศ. 2547 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี > 0.01) สรุป จากการวิเคราะห์ผลการควบคุมวัณโรคในกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาแสดงว่าแผนกำหนดการควบคุมวัณโรคในพื้นที่นี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อัตราร้อยละการพบผู้ป่วยวัณโรคชนิดที่ดื้อยาหลายขนานและอัตราร้อยละการเป็นวัณโรคในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวียังสูงอยู่ ส่วนการตรวจพบวัณโรคในเด็กยังต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่มากเนื่องจากการวินิจฉัยทางเวชกรรมและทางห้องปฏิบัติการรวมทั้งอัตราความสำเร็จของการรักษาที่ยังต่ำกว่าเป้าหมายสากลอยู่มาก การเน้นใช้บุคลากรทางสาธารณสุขเพื่อสังเกตการณ์กินยาต้านวัณโรคของผู้ป่วยนั้น ถ้าสถานพยาบาลไม่สามารถทำได้และจำเป็นต้องใช้บุคคลอื่นแทนที่จะต้องมีระบบการติดตามและประเมินการกินยาต้านวัณโรคของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 214652 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | วัณโรค | en_US |
dc.subject | การป้องกันและควบคุมโรค | en_US |
dc.title | ผลจากการควบคุมวัณโรคในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงพิเศษต่อการเป็นวัณโรคในภาคเหนือของประเทศไทย : กรณีศึกษาแบบการสังเกต | en_US |
dc.title.alternative | The Outcome of Tuberculosis Control in Special High-risk Populations in Northern Thailand: An Observational Study | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Objectives: To evaluate and review the tuberculosis situation in various populations at high risk of contracting tuberculosis, at various periods of time and general tuberculosis control outcomes in northern Thailand. Methods: Data on various high-risk populations were analyzed from the DOTS database and special project paper-based record systems for various high-risk populations in areas of northern Thailand in various periods of time. Results: The 2003 and 2004 reports showed 30 and 60 percent of multidrug-resistant tuberculosis respectively with cure rates of less than 60 percent of the registered cases. The 2004 report revealed that tuberculosis was the most common opportunistic infection (38.9%) among the HIV-seropositive/AIDS cases. Reports of isoniazid therapy for tuberculosis prevention among HIV-seropositive/AIDS populations showed that 78 percent of them had not developed tuberculosis at the end of the 24th month since starting therapy. The 2005 report demonstrated that only 3.2 and 37.1 percent of the suspected childhood tuberculosis cases were diagnosed as tuberculosis and latent infection cases, respectively. There were no statistically significant correlations between the types of the patient observers and the cure rates among the general tuberculosis population analyzed from the 2003 report (Pearson correlation coefficients > 0.01, 2-tailed). There also were no statistically significant changes or improvement in the treatment outcomes (sputum conversion rates, default rates, death rates, and treatment success rates), when comparing the 2003 and 2004 reports (p > 0.01). Conclusions: These findings indicate the DOTS program implementation was not well-developed for various populations at high risk of tuberculosis in these areas. Recording and reporting systems for childhood tuberculosis cases in this area still were not well-developed and this contributed to underreporting of this section of the high-risk population. | en_US |
dc.subject.keyword | Tuberculosis | en_US |
.custom.citation | อรรถพล ชีพสัตยากร, เรืองรอง ชีพสัตยากร, Attapon Cheepsattayakorn and Ruangrong Cheepsattayakorn. "ผลจากการควบคุมวัณโรคในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงพิเศษต่อการเป็นวัณโรคในภาคเหนือของประเทศไทย : กรณีศึกษาแบบการสังเกต." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2911">http://hdl.handle.net/11228/2911</a>. | |
.custom.total_download | 1407 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 8 | |
.custom.downloaded_this_year | 128 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 21 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ