The Third Wave of Health Care Reform in Thailand
dc.contributor.author | พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข | en_US |
dc.contributor.author | Pongpisut Jongudomsuk | en_US |
dc.date.accessioned | 2010-05-03T07:21:58Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:05:21Z | |
dc.date.available | 2010-05-03T07:21:58Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:05:21Z | |
dc.date.issued | 2552 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 3,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2552) : 482-488 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2916 | en_US |
dc.description.abstract | การปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประเทศไทยได้ก้าวสู่ระยะที่สาม หลังจากประสบความสำเร็จในการขยายความครอบคลุมสถานพยาบาลไปทั่วประเทศในระยะที่หนึ่ง และการปฏิรูประบบการเงินการคลังจนมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระยะที่สอง โดยจุดเน้นหนักของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพในระยะที่สามคือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งมีการดำเนินการอย่างมากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การทบทวนสถานการณ์การปฏิรูประบบบริการสุขภาพในระยะที่สามจากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ พบว่า มีการดำเนินการเน้นหนักใน 5 ด้านประกอบด้วย 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 3) การปฏิรูประบบการเงินการคลัง 4) การพัฒนาระบบส่งต่อและ 5) การประยุกต์แนวคิดและแนวปฏิบัติของเวชศาสตร์ครอบครัวให้สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย โดยมีการลงทุนพัฒนาด้านโครงสร้างค่อนข้างมากและไม่สมดุลกับการลงทุนพัฒนาบุคลากร สถานีอนามัยซึ่งเป็นสถานพยาบาลปฐมภูมิหลักของประเทศ มีจำนวนบุคลากรเฉลี่ย 2.8 คนต่อแห่ง และเพิ่มขึ้นน้อยมาก ขณะที่จำนวนประชากรที่รับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น ผลการปฏิรูประบบการเงินการคลังทำให้สถานะทางการเงินของสถานีอนามัยดีขึ้น แต่ยังต้องมีการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบของบุคลากรต่อประชาชนที่รับผิดชอบ การพัฒนาระบบส่งต่อมีการดำเนินการค่อนข้างน้อยและผู้บริหารมักจะไม่ให้ความสำคัญ ขณะที่แนวคิดแนวปฏิบัติตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัวยังไม่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ปัญหาเรื่องการขาดแคลนกำลังคนที่มีศักยภาพเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในระยะต่อไป และการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรผ่านรูปแบบ “การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน (context based learning)” ที่ศูนย์การเรียนรู้ (learning centre) ต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอันหนึ่ง การพัฒนาระยะต่อไปต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนารูปแบบการจัดบริการ สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวนมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาทางเลือกรูปแบบการบริหารจัดการ ในกรณีที่จะมีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 280397 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Care Reform | en_US |
dc.subject | Health Services | en_US |
dc.title | คลื่นลูกที่ 3 ของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | The Third Wave of Health Care Reform in Thailand | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Health care reform movements in Thailand have occurred during three main overlapping periods. The first wave of health care reform focused on increasing the geographical coverage of the health care infrastructure, while the second wave focused on reforming health care financing mechanisms. The third wave shifted its focus to strengthening primary care. This paper is aimed at exploring the third wave of health care reform in Thailand using literature and document review. It was found that, among five areas of reform initiatives to strengthen primary care, there was an imbalance of investment in the primary care infrastructure and capacity building of health staff. An insufficient number of health centre staff, along with their limited capacity, is a major constraint affecting the ability to improve health centre performance. The development of a referral system has been neglected and could reduce confidence of the people in primary care. Although health care financing reform has improved financial status of the health centres, it still needs continuous development in order to promote the responsibility and productivity of health centre staff toward its registered population. Finally, there is a need to develop and adapt the concept and practice of family medicine to fit with the country-specific context and to promote it to be well recognized by the general public as well as by physicians. New challenges for the development of primary care in Thailand include its governance system, in the context of health care devolution, and the provision of health services for chronically ill patients and the elderly. | en_US |
dc.subject.keyword | การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | Primary Care | en_US |
dc.subject.keyword | บริการสุขภาพปฐมภูมิ | en_US |
.custom.citation | พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข and Pongpisut Jongudomsuk. "คลื่นลูกที่ 3 ของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพในประเทศไทย." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2916">http://hdl.handle.net/11228/2916</a>. | |
.custom.total_download | 1081 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 11 | |
.custom.downloaded_this_year | 173 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 24 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ