• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานการณ์และแนวโน้มข้อมูลที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย

ปรียา มิตรานนท์;
วันที่: 2552
บทคัดย่อ
การศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มข้อมูลที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาจากผลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจดังกล่าวนี้ได้เริ่มทำการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2517 โดยในช่วงแรกจัดทำการสำรวจทุกปีจนถึงปี 2521 หลังจากนั้นในปี 2524 - 2544 ได้ทำการสำรวจทุก 5 ปี และนับตั้งแต่ปี 2546 - 2550 ได้ทำการสำรวจทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาวะการเจ็บป่วย การเข้ารับบริการด้านสาธารณสุขและการเข้าถึงของสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของประชากรไทย จากการสำรวจดังกล่าวนี้ได้มีการถามเกี่ยวกับการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายครั้งสุดท้ายระหว่าง 1 เดือนก่อนวันสำรวจและการไปรับบริการสาธารณสุขหรือวิธีการรักษาพยาบาล ทั้งนี้รูปแบบการรักษาพยาบาลมีหลายลักษณะด้วยกัน ซึ่งการรักษาโดยการใช้ยาแผนโบราณ/ยาสมุนไพร การไปหาหมอพื้นบ้าน/หมอแผนโบราณก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในหลายวิธี และได้นำมาเป็นประเด็นที่จะทำการศึกษารายละเอียดในครั้งนี้ การศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มข้อมูลที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2546 - 2550 จากผลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลทั่วไปของประชากรที่เจ็บป่วย 2. วิเคราะห์การใช้บริการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วยแยกตามวิธีการรักษาพยาบาล 3. วิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการรักษาพยาบาลโดยการใช้วิธีการรักษาที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ขอบข่ายการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มของข้อมูลในช่วงเวลา 5 ปีคือปี 2546 - 2550 จากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ วิธีการเก็บข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์ประชากรที่อาศัยในครัวเรือนส่วนบุคคลทั่วประเทศ โดยมีครัวเรือนตัวอย่างทั่วประเทศในแต่ละปีที่สำรวจประมาณปีละ 27,000 ครัวเรือน ซึ่งการสำรวจปี 2550 นับเป็นการสำรวจครั้งที่ 15 ผลจากการศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ระเบียบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คำนิยาม ขอบข่ายการเก็บข้อมูลฯลฯ ต้องได้มาตรฐานและเป็นรูปแบบเดียวกัน 2. การศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยต้องคำนึงถึงนิยามที่นำมาใช้ในการสำรวจ/เก็บรวบรวมข้อมูล เพราะจะมีผลต่อข้อมูลที่ได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนคำนิยามเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกันและสามารถนำไปใช้เป็นมาตรฐานของประเทศ 3. ควรศึกษาเพื่อติดตามสถานการณ์และแนวโน้มอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งศึกษารายละเอียดในระดับพื้นที่ย่อย เช่น เขตเมือง/เขตชนบท (ในเขตเทศบาล/นอกเขตเทศบาล) และระดับจังหวัดเพื่อที่จะใช้วางแผนได้สอดคล้องและครอบคลุมทุกพื้นที่ 4. ควรมีการสำรวจเฉพาะในด้านการแพทย์แผนไทยแพทย์ทางเลือก เพื่อให้ได้ความชัดเจนและรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น 5. ควรมีการพัฒนาข้อมูลและศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มและรายละเอียดของข้อมูลและควรนำมาจัดทำฐานข้อมูล (Database) เพื่อสะดวกในการสืบค้นและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน 6. พัฒนาการจัดทำตัวชี้วัดด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวางแผน ติดตาม และประเมินผลในเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7. ควรมีการประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้อมูลในด้านดังกล่าว
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1673-1.pdf
ขนาด: 353.6Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 294
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2486]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV