บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมุ่งศึกษาพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือกในด้านแนวคิด แบบแผนการใช้ เหตุผลการใช้ และไม่ใช้ ความพึงพอใจ กระบวนการเข้าสู่การใช้การแพทย์ทางเลือก รวมทั้งปัจจัยกำหนดการใช้ โดยการวิจัยสถานการณ์พฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือกในสังคมไทยนี้ ศึกษาตัวอย่างในพื้นที่ 8 จังหวัดใน 4 ภาค มีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพ จำนวน 40 ราย ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อให้ได้ตัวอย่างที่หลากหลายของลักษณะทางสังคมเศรษฐกิจและประสบการณ์พฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือก ส่วนตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายและใช้การสำรวจโดยแบบสอบถามจำนวน 1,099 ราย ผลการศึกษาพบว่าประชาชนให้ความหมายของการแพทย์ทางเลือกคือ การดูแลสุขภาพแบบผสมผสานและบูรณาการ, การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม, การ “ตัดสินใจเลือก” ของประชาชนในการดูแลสุขภาพ, การดูแลสุขภาพที่เน้นหลักธรรมชาติ, การแพทย์ที่นอกเหนือการแพทย์ตะวันตก, การแพทย์ที่มีความด้อยด้านศักดิศรีกว่าการแพทย์กระแสหลัก, การป้องกันและดูแลสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย, ภูมิปัญญาด้านสุขภาพที่มีความหลากหลายและสอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม ทั้งนี้ รูปแบบการแพทย์ทางเลือกที่ใช้มากที่สุด คือการออกกำลังกาย การใช้สมุนไพร การนวด ควบคุมอาหาร การบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ การปรับวิถีการดำเนินชีวิต ปัจจัยการทำนายการใช้การแพทย์ทางเลือกในด้านลักษณะทางสังคมประชากร พบว่าคือตัวแปรการเป็นสมาชิกชมรมสุขภาพ สถานะสุขภาพและเพศ ส่วนตัวแปรด้านความพึงพอใจที่ทำนายพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือก พบว่าเป็นปัจจัยด้านความพึงพอใจในประสิทธิผลและความปลอดภัย ในด้านตัวแปรทำนายพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือกในเชิงเหตุผลการตัดสินใจใช้การแพทย์ทางเลือก ได้แก่ การนำไปฏิบัติได้เองและการใช้เพื่อการเสริมสร้างและบำรุงสุขภาพ และใช้เพื่อการปรับความสมดุลในร่างกาย งานวิจัยนี้มีข้อเสนอให้มียุทธศาสตร์การบูรณาการการแพทย์ทางเลือกเข้าสู่ระบบสุขภาพแห่งชาติและประกันสุขภาพ โดยมีกลไกที่ทำหน้าที่เฉพาะในการจัดการความรู้และการประสานงานทุกระดับเพื่อเป็นประกันคุณภาพและมาตรฐานการใช้และการเพิ่มช่องทางการให้ความรู้ รวมทั้งการสนับสนุนเครือข่ายสุขภาพและกลุ่มชมรมสุขภาพทุกระดับ
บทคัดย่อ
This study used qualitative and quantitative methods to explore the use of alternative medicine in term of meaning, prevalence and predictors of alternative medicine usage. The sample was taken from 8 provinces in 4 regions of Thailand. The qualitative study consisted of 40 cases that were purposely selected, using different measures, to reflect different social backgrounds and use of alternative medicine. The quantitative sample consisted of 1,099 that were randomly withdrawn using different random sampling methods.
This study found that for lay people the meanings of alternative medicine were: Integrated self-care, the decision of choice to care, holistic care, naturalistic care, non-western medicine, the inferior medicine, the preventive medicine and the cultural wisdom medicine. The most popular therapies are exercise, herbs, massage, natural nutrition, lifestyle management.
The predictive factors of alternative use that were found in this study included : Memberships of health group together with health status and sex. In addition, satisfaction from the effectiveness and safety were also predictors of using alternative medicine. The reason of using alternative medicine in term of ability to self-care and promotion and maintaining of health and balance to health were also found to be the predictors of alternative medicine use.
Following these results, we suggest strategies for developing alternative medicine and integrating it into national health care systems and national insurance programs, to develop mechanism to ensure appropriate, safe and effective use of traditional medicine which include: Increasing access to alternative medicine information and the development of health network in all social levels.