dc.contributor.author | โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม | en_US |
dc.coverage.spatial | ไทย | en_US |
dc.date.accessioned | 2010-06-07T04:16:41Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:25:04Z | |
dc.date.available | 2010-06-07T04:16:41Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:25:04Z | |
dc.date.issued | 2553-03 | en_US |
dc.identifier.other | hs1680 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2941 | en_US |
dc.description.abstract | ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ที่ต้องการให้มีการสร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการจัดการระบบสุขภาพที่สมดุลและยั่งยืนและมีระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ มีการใช้เทคโนโลยีอย่างพอประมาณตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง เหมาะสม ทำให้ผู้รับบริการมีความอุ่นใจและผู้ให้บริการมีความสุข ซึ่งต้องการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพมาร่วมบูรณาการ แม้ว่าระบบสุขภาพไทยจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในด้านการบริการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทันสมัย และมีมาตรฐาน โรงพยาบาลซึ่งเป็นสถานบริการของรัฐก็ได้พยายามปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพการให้บริการ แต่ยังเกิดความเหลื่อมล้ำในคุณภาพของบริการสาธารณสุขที่ประชาชนได้รับ อาจกล่าวได้ว่าระบบสุขภาพในปัจจุบันยังไม่มีความครอบคลุมและสอดคล้องกับเป้าหมายที่สำคัญในการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่ประชาชน แม้จะมีความพยายามจากหน่วยงานวิชาการของรัฐหลายแห่งในการจัดทำดัชนีชี้วัด ทั้งในด้านความสุขในระดับภาพรวม ดัชนีความอยู่ดีมีสุข ดัชนีระบบบริการสุขภาพ เพื่อการติดตามและประเมินประสิทธิภาพระบบบริการสุขภาพ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นดัชนีสำหรับส่วนราชการแทบทั้งสิ้น ยังไม่มีดัชนีใดที่ใช้ในการสอบถามและสะท้อนความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งเป็นผู้รับบริการด้านสุขภาพโดยตรง การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการจัดทำดัชนีที่สำรวจถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสุขภาพของไทย เพื่อให้มีกระบวนวัดความเชื่อมั่นด้านสุขภาพของประชาชนที่เป็นมาตรฐานและมีความต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่าประชาชนให้ความสำคัญกับกิจกรรมของรัฐที่ส่งผลและสัมผัสได้กับประชาชนโดยตรงที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพ ๔ ระบบ คือ (๑) การสร้างเสริมสุขภาพ (๒) การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ (๓)การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ (๔) การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และพิจารณาจากมุมมอง ๔ ด้านด้วยกัน คือ (๑) ความเชื่อมั่นต่อนโยบายของรัฐ (๒) ความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการระบบสุขภาพของรัฐ (๓) ความเชื่อมั่นต่อผลของระบบสุขภาพที่ประชาชนจะได้รับจากรัฐและ (๔) ความเชื่อมั่นต่อหลักธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ โดยในความเชื่อมั่นแต่ละด้านประชาชนจะมีประเด็นตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไป ซึ่งได้นำนำประเด็นเหล่านั้นมาประกอบเป็นดัชนีโดยรวมของความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพ ซึ่งสามารถสะท้อนการดูแลด้านสุขภาพของประชาชน พฤติกรรมการใช้บริการของประชาชน สะท้อนสมรรถนะระบบสุขภาพและธรรมาภิบาลของระบบสุขภาพ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 1377455 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ธรรมาภิบาล | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสุขภาพ | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ก494 2553 | en_US |
dc.identifier.contactno | 52-055 | en_US |
dc.subject.keyword | ความเชื่อมั่น | en_US |
dc.subject.keyword | ดัชนีชี้วัด | en_US |
.custom.citation | โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. "การพัฒนาดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสุขภาพ." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2941">http://hdl.handle.net/11228/2941</a>. | |
.custom.total_download | 194 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 6 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |