• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสุขภาพ

โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม;
วันที่: 2553-03
บทคัดย่อ
ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ที่ต้องการให้มีการสร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการจัดการระบบสุขภาพที่สมดุลและยั่งยืนและมีระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ มีการใช้เทคโนโลยีอย่างพอประมาณตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง เหมาะสม ทำให้ผู้รับบริการมีความอุ่นใจและผู้ให้บริการมีความสุข ซึ่งต้องการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพมาร่วมบูรณาการ แม้ว่าระบบสุขภาพไทยจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในด้านการบริการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทันสมัย และมีมาตรฐาน โรงพยาบาลซึ่งเป็นสถานบริการของรัฐก็ได้พยายามปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพการให้บริการ แต่ยังเกิดความเหลื่อมล้ำในคุณภาพของบริการสาธารณสุขที่ประชาชนได้รับ อาจกล่าวได้ว่าระบบสุขภาพในปัจจุบันยังไม่มีความครอบคลุมและสอดคล้องกับเป้าหมายที่สำคัญในการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่ประชาชน แม้จะมีความพยายามจากหน่วยงานวิชาการของรัฐหลายแห่งในการจัดทำดัชนีชี้วัด ทั้งในด้านความสุขในระดับภาพรวม ดัชนีความอยู่ดีมีสุข ดัชนีระบบบริการสุขภาพ เพื่อการติดตามและประเมินประสิทธิภาพระบบบริการสุขภาพ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นดัชนีสำหรับส่วนราชการแทบทั้งสิ้น ยังไม่มีดัชนีใดที่ใช้ในการสอบถามและสะท้อนความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งเป็นผู้รับบริการด้านสุขภาพโดยตรง การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการจัดทำดัชนีที่สำรวจถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสุขภาพของไทย เพื่อให้มีกระบวนวัดความเชื่อมั่นด้านสุขภาพของประชาชนที่เป็นมาตรฐานและมีความต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่าประชาชนให้ความสำคัญกับกิจกรรมของรัฐที่ส่งผลและสัมผัสได้กับประชาชนโดยตรงที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพ ๔ ระบบ คือ (๑) การสร้างเสริมสุขภาพ (๒) การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ (๓)การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ (๔) การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และพิจารณาจากมุมมอง ๔ ด้านด้วยกัน คือ (๑) ความเชื่อมั่นต่อนโยบายของรัฐ (๒) ความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการระบบสุขภาพของรัฐ (๓) ความเชื่อมั่นต่อผลของระบบสุขภาพที่ประชาชนจะได้รับจากรัฐและ (๔) ความเชื่อมั่นต่อหลักธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ โดยในความเชื่อมั่นแต่ละด้านประชาชนจะมีประเด็นตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไป ซึ่งได้นำนำประเด็นเหล่านั้นมาประกอบเป็นดัชนีโดยรวมของความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพ ซึ่งสามารถสะท้อนการดูแลด้านสุขภาพของประชาชน พฤติกรรมการใช้บริการของประชาชน สะท้อนสมรรถนะระบบสุขภาพและธรรมาภิบาลของระบบสุขภาพ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1680.pdf
ขนาด: 1.464Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 197
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV