dc.contributor.author | เกียรติชาย จิระมหาวิทยากุล | en_US |
dc.contributor.author | Kiatchai Jiramahavitayakul | en_US |
dc.contributor.author | สำราญ เชื้อเมืองพาน | en_US |
dc.contributor.author | Samran Chuamuangphan | en_US |
dc.coverage.spatial | เชียงราย | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-02T06:55:37Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T15:55:14Z | |
dc.date.available | 2008-10-02T06:55:37Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T15:55:14Z | |
dc.date.issued | 2551 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,1 (ม.ค.-มี.ค. 2551) (ฉบับเสริม 3) : 699-708 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/295 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ: 1. ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วย 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วย และ 3. ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยที่เป็นสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่า 3 เดือน จำนวน 180 คนในกลุ่มรวมน้ำใจริมน้ำลาว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบที และการทดสอบเอฟ ประชากรที่ศึกษาร้อยละ 50.6 เป็นหญิง และร้อยละ 43.9 มีอายุต่ำกว่า 35 ปี ร้อยละ 68.9 มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 50.6 สถานภาพสมรสคู่ ประกอบอาชีพรับจ้างร้อยละ 60 และเกษตรกรรมร้อยละ 33.9 ร้อยละ 42.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 1,000 บาท ส่วนใหญ่มีระยะเวลาเป็นสมาชิกกลุ่มรวมใจริมน้ำลาว 4 ปีขึ้นไป เหตุผลในการเข้ากลุ่มคือต้องการดูแลสุขภาพตนเองและได้รับยาต้านไวรัส ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม 1-4 ครั้ง ทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี 6 ปีขึ้นไป เจ็บป่วยเล็กน้อยเดือนละครั้ง กินยาต้านไวรัสปีครึ่งถึง 3 ปี การดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 0.74 จากคะแนนเต็ม 1) คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.59 จากคะแนนเต็ม 5 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าคุณภาพชีวิตด้านครอบครัว และคุณภาพชีวิตด้านชุมชน อยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และ 3.84 ตามลำดับ ส่วนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43 และ 3.03 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย ได้แก่ สถานภาพสมรส รายได้ ระยะเวลาการรับรู้ว่าติดเชื้อเอชไอวี และลักษณะการเจ็บป่วย สำหรับตัวแปรระดับการศึกษา ระยะเวลารับการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี และการดูแลสุขภาพตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและการป่วย จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ควรส่งเสริมกิจกรรมให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยมีการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนอย่างพอเพียง การล้างมือก่อนกินอาหารและหลังจากขับถ่ายทุกครั้งด้วยสบู่ การดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ การไม่ใกล้ชิดสัตว์เลี้ยงที่เป็นขน 2. ควรส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เช่น ทำการอบรมให้ความรู้กับสมาชิกในครอบครัวผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยที่สมัครใจ 3. ควรส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการแก้ปัญหาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในชุมชน การสร้างความเข้าใจกับชุมชนร่วมกันในการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยในชุมชน 4. ควรส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพื่อเพิ่มรายได้ 5. ควรส่งเสริมการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยร่วมกันหลายฝ่าย ทั้งในภาครัฐ เอกชน ครอบครัว ชุมชน ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไป | th_TH |
dc.format.extent | 251473 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี : กรณีศึกษากลุ่ม "รวมน้ำใจริมน้ำลาว" อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | Quality of Life of HIV-infected Persons and Patients: A Case Study of the "Ruam Nam Jai Rim Nam Lao Group, Mae Lao District, Chiang Rai Province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to: (1) examine the quality of life of HIV-infected
persons and patients; (2) identify the factors related to their quality of life, and (3) map
out the problems and seek ways to improve their quality of life.
A questionnaire was employed as the research instrument to obtain information
from 180 HIV-infected persons and patients who had been members of the Ruam Nam Jai
Rim Nam Lao Group in Mae Lao district, Chiang Rai Province, for at least three mouths.
Frequency, percentage, t-test and F-test were used for data analysis. About 50.6 percent of
the subjects were females, aged below 35 years (43.9%) and married. The majority (68.9%)
had finished elementary school. The majority (60%) were engaged in general employment
or in agriculture (33.9%), among others. The average monthly income was below
1,000 baht (42.80%). Most of them had been members of the Ruam Nam Jai Rim Nam Lao
Group for four years or more. The reason for joining the group was to access the facilities
to look after their own health and to get anti-AIDS medicines. They participated in the
group activities 1-4 times. They learned that they were HIV-infected at least six years
previously. They experienced a mild ill-feeling approximately once a month. The period
of treatment with anti-HIV medicines was one and a half years to three years. To a great
extent, they looked after their own health ( x = 0.74 out of 1).
Overall, the quality of life of the HIV-infected persons and patients was moderate
(x = 3.59 out of 5). When the individual dimensions were considered separately, it was
found that the quality of family life and that of community life were high ( x = 4.07 and
3.84, respectively). Their health and economic security were found to be moderate ( x =
3.43 and 3.03, respectively).
The factors relating significantly to their quality of life at the 0.05 level were gender,
marital status, income, length of time knowing about their HIV infection, and the nature
of their illness, respectively. In contrast, education, number of years of taking anti-HIV
medication and self-care were all found to have no relationship to their quality of life.
From the findings of the study, the researchers were able to compile some suggestions
for improving the situation of the HIV-infected persons and patients in the communities;
the details of the study are described in the text. | en_US |
dc.subject.keyword | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี | en_US |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วยโรคเอชไอวี | en_US |
dc.subject.keyword | HIV-infected Persons | en_US |
dc.subject.keyword | HIV Patients | en_US |
.custom.citation | เกียรติชาย จิระมหาวิทยากุล, Kiatchai Jiramahavitayakul, สำราญ เชื้อเมืองพาน and Samran Chuamuangphan. "คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี : กรณีศึกษากลุ่ม "รวมน้ำใจริมน้ำลาว" อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/295">http://hdl.handle.net/11228/295</a>. | |
.custom.total_download | 1150 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 21 | |
.custom.downloaded_this_year | 346 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 59 | |