Health Promotion Decentralization in Three Countries
dc.contributor.author | จิรบูรณ์ โตสงวน | en_US |
dc.contributor.author | ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ | en_US |
dc.contributor.author | หทัยชนก สุมาลี | en_US |
dc.contributor.author | Jiraboon Tosanguan | en_EN |
dc.contributor.author | Siriwan Pitayarangsarit | en_EN |
dc.contributor.author | Hathaichanok Sumalee | en_EN |
dc.coverage.spatial | เม็กซิโก | en_US |
dc.coverage.spatial | สวีเดน | en_US |
dc.coverage.spatial | นิวซีแลนด์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2010-07-21T03:31:52Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:06:09Z | |
dc.date.available | 2010-07-21T03:31:52Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:06:09Z | |
dc.date.issued | 2553-03 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 4,1(ม.ค.-มี.ค.2553) : 108-122 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2962 | en_US |
dc.description.abstract | หลายประเทศได้เลือกใช้กฎบัตรอ๊อตตาวาเป็นแม่แบบในการพัฒนานโยบายการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับทุกประเทศที่ศึกษานี้ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ประเทศเม็กซิโกกำหนดองค์ประกอบในการส่งเสริมสุขภาพสำหรับการประเมินการสร้างเสริมสุขภาพและได้พัฒนาแผนการส่งเสริมสุขภาพระดับประเทศ ที่เรียกว่าแบบจำลองปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งมีด้วยกัน 7 องค์ประกอบ (โดยมีแนวคิดมาจาก 5 งานพื้นฐานในกฏบัตรอ๊อตตาวา) ได้แก่ การบริหารจัดการปัจจัยต่อสุขภาพของประชาชนรายบุคคล การสร้างและพัฒนาความสามารถด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมบริหารจัดการปัจจัยต่อสุขภาพของประชาชนต่อสุขภาพของประชาชนรายบุคคล การสร้างและพัฒนาความสามารถด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ การผลักดันนโยบาย การตลาดเพื่อสังคม และการใช้หลักฐานทางวิชาการในการส่งเสริมสุขภาพ ประเทศสวีเดนเป็นรัฐสวัสดิการที่มีพื้นฐานมาจากกฏบัตรอ๊อตตาวาเช่นกัน โดยได้ให้ความสำคัญในเรื่อง การจำกัดความของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ทรัพยากรและการลงทุนทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคส่วนอื่นๆ และการวิจัยและประเมินผลโครงการ ในค.ศ.2003 ได้มีการร่างแผนสาธารณสุขฉบับใหม่ ซึ่งมีจุดประสงค์ 11 ข้อ ที่คำนึงถึงแต่เรื่องตัวกำหนดสุขภาพเท่านั้น ได้มีการแบ่งออกเป็นระดับการใช้ชีวิตและพฤติกรรมด้านสุขภาพ และระดับโครงสร้างทางสังคมและความเป็นอยู่ มีเป้าหมายรวมเพียงอย่างเดียวคือ “การให้มีเงื่อนไขทางสังคมที่ดีต่อสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันระหว่างประชากรทั้งหมด” สรุปวิวัฒนาการของการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพเป็นขั้นบันได 9 ขั้น (The health promotion staircase for building local capacity ของ Pettersson) น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนา อปท.ของประเทศไทย ส่วนในประเทศนิวซีแลนด์ ได้มีวิวัฒนาการและการขับเคลื่อนในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้มีการยึดถือแนวทางของกฎบัตรอ๊อตตาวา และได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาความสามารถของบุคลากร การลงทุนด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการร่วมมือกันระหว่างภาคส่วน นอกจากนี้ ในเรื่องการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ ก็ได้มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ ค่อนข้างมาก โดยมีทั้งคณะกรรมการสุขภาพเขตที่ดูแลเรื่องสุขภาพ และรัฐบาลท้องถิ่นที่ดูแลเรื่องการส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะ โดยกฎหมายรัฐบาลท้องถิ่น ค.ศ.2002 ได้ระบุอย่างชัดเจนในเรื่องบทบาทและหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นในเรื่องนี้และยังได้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นตามรูปแบบจำลอง ความรอบรู้เฉพาะความเสี่ยง นอกจากกฎหมายรัฐบาลท้องถิ่นแล้ว ยังได้มีข้อกำหนดที่สำคัญอีก คือ ให้มีแผนชุมชนระยะยาว (LTCCP) โดยแผนนี้จะต้องมีการกำหนด “ผลลัพธ์ของชุมชน” ที่ชุมชนต้องการให้มีการสนับสนุนเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น และสิ่งที่รัฐบาลท้องถิ่นจะทำเพื่อให้เกิดผลลัพธ์นี้ในช่วงเวลาของแผนนี้ ถือเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและทำให้ประชาชนได้รับผิดชอบการให้บริการส่งเสริมสุขภาพของพื้นที่ของตนมากขึ้น | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.title | การกระจายอำนาจด้านการส่งเสริมสุขภาพในประเทศเม็กซิโก สวีเดน และนิวซีแลนด์ | en_US |
dc.title.alternative | Health Promotion Decentralization in Three Countries | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Ottawa Charter has been adopted in many countries as a model for their health promotion policies which emphasize community participation. Mexico has developed a method for evaluating its progress in implementing health promotion policies, and has developed a national policy on health promotion, called Health Promotion Operation Model (MOPS,) which is based on the Charter and consists of several components: management of personal determinants, health capacity-building, community participation, development of a healthy environment, social marketing in health, and evidence in health promotion. Sweden, a welfare state, developed its National Public Health Policy in 2003 with the main aim of providing societal conditions for good health on equal terms for the entire population. It has 11 objectives which consider only the determinants of health. Interestingly, Pettersson summarized the evolution of Swedish local authority in dealing with health promotion into “The Health Promotion Staircase for Building Local Capacity”, which could be beneficial in the development of LAOs in Thailand. In New Zealand, the Local Government Act of 2002 was passed which clearly defined the roles and responsibilities of the central and local governments according to the risk-specialization model. Furthermore, to enhance the role of the community, a long-term council community plan must be developed in line with the expected ‘community outcome’ in order to improve community living conditions and address their health concerns. | en_US |
dc.subject.keyword | Health Promotion Decentralization | en_US |
.custom.citation | จิรบูรณ์ โตสงวน, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, หทัยชนก สุมาลี, Jiraboon Tosanguan, Siriwan Pitayarangsarit and Hathaichanok Sumalee. "การกระจายอำนาจด้านการส่งเสริมสุขภาพในประเทศเม็กซิโก สวีเดน และนิวซีแลนด์." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2962">http://hdl.handle.net/11228/2962</a>. | |
.custom.total_download | 2935 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 29 | |
.custom.downloaded_this_year | 651 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 84 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ