การประเมินความรู้และการปฏิบัติดูแลรักษาและส่งต่อผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
dc.contributor.author | บุญชัย ธนบัตรชัย | en_US |
dc.contributor.author | Boonchai Tanabatchai | en_US |
dc.coverage.spatial | นครราชสีมา | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-02T06:56:18Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T15:55:14Z | |
dc.date.available | 2008-10-02T06:56:18Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T15:55:14Z | |
dc.date.issued | 2551 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,1 (ม.ค.-มี.ค. 2551), 3(ม.ค.-มี.ค. 2551) : 724-731 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/298 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้และการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาและส่งต่อผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ โดยทำการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยการประเมินความรู้โรคไข้เลือดออกเดงกี่ของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในอำเภอโนนไทย และประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ในช่วงเดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนกันยายน 2550 ผลการประเมินพบว่าเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย พยาบาลและแพทย์ มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกเดงกี่ถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 78.7, 81.0 และ 87.5 ตามลำดับ ความรู้ที่ต่ำกว่าเป้าหมายและต้องพัฒนาคือ การพิจารณาทำทดสอบทูร์นิเคต์ในเวลาที่เหมาะสม ชนิดและปริมาณของสารน้ำที่ให้ในระยะไข้ และปริมาณสารน้ำที่ให้ในระยะวิกฤติ สำหรับการประเมินจากเวชระเบียนพบว่าโดยภาพรวมมีการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาเฉลี่ยร้อยละ 89.6 ส่วนการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาที่ต่ำกว่าเป้าหมาย คือ มีการทำทคสอบทูร์นิเคต์ และบันทึกเฉลี่ยร้อยละ 73.9 คำสั่งการให้ชนิดของสารน้ำในระยะไข้เป็นไปตามเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 67.0 ความถี่ในการวัดและบันทึกสัญญาณชีพในระยะวิกฤติตามเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 68.2 และมีการบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกในระยะวิกฤติตามเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 60.2 มีการตรวจความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะเฉลี่ยร้อยละ 3.4 ผลการรักษาหายร้อยละ 94.3 ส่งต่อร้อยละ 5.7 มีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 4.5 ไม่มีผู้เสียชีวิต จากการศึกษาพบว่าปัญหาหลักของการดูแลรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี่คือบุคลากรมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องและไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าควรปรับหลักสูตรการอบรม โดยเพิ่มเติมในส่วนขาดจากการประเมินและปรับปรุงคู่มือแนวทางการรักษาและส่งต่อผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่และควรมีการประชุมชี้แจง นิทศติดตามการใช้แนวทางอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเพิ่มคุณภาพและมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ทั้งที่อำเภอโนนไทยและในจังหวัดนครราชสีมาต่อไป | th_TH |
dc.format.extent | 220833 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | การประเมินความรู้และการปฏิบัติดูแลรักษาและส่งต่อผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา | en_US |
dc.title.alternative | Evaluation of the Knowledge of the Patient-care Team and Clinical Practice Guidelines for the Managerment of Dengue Hemorrhagic Fever in Nonthai District. Nakhon Ratchasima Province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study was aimed at evaluating the clinical practice guidelines for the management of dengue hemorrhagic fever by evaluating the knowledge of doctors, nurses and subdistrict health officers in Nonthai district and by evaluating the care map of dengue hemorrhagic fever patients in Nonthai Hospital. The results showed that the knowledge accuracy rates of doctors, nurses and subdistrict health officers concerning dengue hemorrhagic fever were 87.5, 81.0 and 78.7 percent, respectively. Incorrect knowledge concerned the proper time to order a tourniquet test, the proper type and volume of intravenous fluid to administer to patients in the febrile stage, the proper volume of intravenous fluid to administer to patients in shock. Conformity to the clinical practice guidelines for dengues hemorrhagic fever was 89.6 percent and the non-conformity with the guidelines was as follows: the order of tourniquet test, 73.9 percent correct; the order of intravenous fluid in the febrile stage, 67 percent correct. The frequency of recording the vital signs in the shock stage was 68.2 percent correct; that of intake/output in the shock stage, 60.2 percent and urine specific gravity, 3.4 percent correct. The treatment outcomes of dengue hemorrhagic fever were 94.3 percent recovery, 5.7 percent referral, 4.5 percent complication, and zero deaths. The research found that the main problems in the management of dengue hemorrhagic fever were incorrect knowledge and non-conformity with the clinical practice guidelines by the Patient Care Team. The research findings will be used as baseline data for improving the clinical practice guidelines and the teaching programme in Nonthai district and Nakhon Ratchasima Province. | en_US |
dc.subject.keyword | การประเมินผล | en_US |
dc.subject.keyword | โรคไข้เลือดออกเดงกี่ | en_US |
dc.subject.keyword | Evaluation | en_US |
dc.subject.keyword | Dengue Hemorrhagic Fever | en_US |
.custom.citation | บุญชัย ธนบัตรชัย and Boonchai Tanabatchai. "การประเมินความรู้และการปฏิบัติดูแลรักษาและส่งต่อผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/298">http://hdl.handle.net/11228/298</a>. | |
.custom.total_download | 744 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 19 | |
.custom.downloaded_this_year | 103 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 27 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ