ผลของการนั่งเก้าอี้โยกหลังผ่าตัดช่องท้องต่อการทำงานของลำไส้ ในผู้ป่วยนรีเวช
dc.contributor.author | อวยพร ภัทรภักดีกุล | en_US |
dc.contributor.author | อรทัย ชยาภิวัฒน์ | en_US |
dc.contributor.author | Uaiporn Pattrapakdikul | en_EN |
dc.contributor.author | Orathai Chayapiwat | en_EN |
dc.date.accessioned | 2010-09-23T03:56:46Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:06:05Z | |
dc.date.available | 2010-09-23T03:56:46Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:06:05Z | |
dc.date.issued | 2553-06 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 4,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2553) : 231-238 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2991 | en_US |
dc.description.abstract | ผู้ป่วยนรีเวชที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องอาจเกิดอาการผิดปรกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้ การดูแลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดเพื่อให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารกลับคืนสู่สภาพปรกติโดยเร็วเป็นเรื่องสำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการทำงานของลำไส้ผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดช่องท้องระหว่างกลุ่มที่ปล่อยให้เคลื่อนไหวร่างกายตามปรกติกับกลุ่มที่นั่งเก้าอี้โยก แนวคิดของการศึกษาครั้งนี้ได้จากการเปลี่ยนแปลงแรงกลและเทคนิคการผ่อนคลายที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของอวัยวะระบบทางเดินอาหาร ประชากรการศึกษาเป็นผู้ป่วยนรีเวชที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พ.ศ.2551 จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 30 คน กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่นั่งเก้าอี้โยก และกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่เคลื่อนไหวร่างกายตามปรกติ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลการรักษาพยาบาล, ข้อมูลการนั่งเก้าอี้โยกและการทำงานของลำไส้ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการนั่งเก้าอี้โยกและอาการวิงเวียนหลังผ่าตัด อุปกรณ์การวิจัยคือ เก้าอี้โยกและหูฟัง การทดลองทำในช่วง 16-24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ใช้เวลา 45 นาที ข้อมูลบันทึกได้แก่ จำนวนครั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้, จำนวนชั่วโมง, การเรอ, การผายลม และจำนวนวันของการถ่ายอุจจาระ การวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ความแตกต่างของข้อมูลระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแสดงผลด้วยการทดสอบไคสแควร์และค่าทีอิสระ จากการวิจัยพบว่าทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีจำนวนครั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้ และการเรอแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับค่าพี .001, และ .01 ตามลำดับ โดยกลุ่มการทดลองมีการเคลื่อนไหวของลำไส้และเรอได้เร็วกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนการผายลมและการถ่ายอุจจาระไม่แตกต่างกัน กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจการนั่งเก้าอี้โยกมากและร้อยละ 90 ไม่มีความรู้สึกวิงเวียน ผู้วิจัยแนะนำให้ผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดช่องท้องนั่งเก้าอี้โยก ซึ่งการปฏิบัตินี้ยังสามารถนำไปใช้กับกลุ่มผู้ป่วยด้านอื่นที่ได้รับการผ่าตัดใกล้เคียงกับกลุ่มผู้ป่วยในการศึกษาครั้งนี้ด้วย | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | ผลของการนั่งเก้าอี้โยกหลังผ่าตัดช่องท้องต่อการทำงานของลำไส้ ในผู้ป่วยนรีเวช | en_US |
dc.title.alternative | Effects on Bowel Function of Using a Rockingchair after Abdominal Surgery in Gynecological Patients | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | An abdominal operation affects gastrointestinal (GI) motor activity. Post-operative care for early recovery of GI motility is recommended. The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects on bowel function of using a rocking-chair in patients who had undergone gynecological ab-dominal surgery. The framework of this study is based on the effect of mechanical pressure and relaxation technique on the GI tract. The sample of 60 abdominal hysterectomy patients was drawn by carefully selected criteria from a patient population admitted for abdominal hysterectomy during the period from June to October 2008. The patients were randomly assigned into two groups: the experimental group who ambulated by rocking-chair exercise and the control group who did not. The data collected consisted of four parts: demographic, treatment, bowel function and patient satisfaction. The experimental instruments were rocking-chair and stethoscope. The bowel function was measured 16 hours after surgery. The experimental group who were assigned to ambulate by rocking-chair exercised for 45 minutes and the control group who did not. Data were collected and analyzed by using mean, standard deviation and independent t-test. We compared the difference by χ2 test and independent t-test. The results revealed that the frequency of bowel sound and belching was statistically significant with the difference being p = 0.001 and 0.01, respectively. There was no difference in the number of days marked by flatus and the passing of feces. The majority (53.3%) of patients had high satisfaction and almost all (90%) of the patients experienced no dizziness. We suggest that the post-operative abdominal surgery patients should be ambulated with a rockingchair. The outcome of our study theoretically applies also to the other patients undergoing abdominal surgery. | en_US |
dc.subject.keyword | การผ่าตัดช่องท้อง | en_US |
dc.subject.keyword | การทำงานของลำไส้ | en_US |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วยนรีเวช | en_US |
.custom.citation | อวยพร ภัทรภักดีกุล, อรทัย ชยาภิวัฒน์, Uaiporn Pattrapakdikul and Orathai Chayapiwat. "ผลของการนั่งเก้าอี้โยกหลังผ่าตัดช่องท้องต่อการทำงานของลำไส้ ในผู้ป่วยนรีเวช." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2991">http://hdl.handle.net/11228/2991</a>. | |
.custom.total_download | 2839 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 20 | |
.custom.downloaded_this_year | 565 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 54 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ