• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดสงขลา

วิวัฒน์ สุทธิวิภากร; ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล; กัมปนาท รติวัฒน์;
วันที่: 2553-07
บทคัดย่อ
จากวิวัฒนาการการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจวบถึงปัจจุบัน หน่วยงานจัดเก็บข้อมูลนั้นมีอยู่หลายหน่วยงานที่สำคัญ อาทิ แขวงการทางและสำนักงานบำรุงทางสังกัดกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ตำรวจท้องที่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ศูนย์กู้ชีพ “นเรนทร” สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานเอกชน อาทิเช่น มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) ที่อำเภอหาดใหญ่ และชมรมลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองหาดใหญ่ เป็นต้น รวมทั้งยังมีหน่วยงานที่รับและให้ข่าวสารข้อมูลทั้งทางตรงและทางอ้อมในระดับประเทศอีกหลายหน่วยงาน อาทิเช่น ตำรวจทางหลวง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค โรงพยาบาลและสถานีอนามัย ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ ผ่านเครือข่ายการรายงานแจ้งเหตุทางโทรศัพท์และวิทยุสื่อสารหมายเลขต่างๆ มากมายหลายหมายเลข ปัจจุบันแม้บางหน่วยงานที่กล่าวถึงข้างต้นจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่จัดเก็บมาในระดับหนึ่ง แต่การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ ส่วนมากยังเป็นการดำเนินการในลักษณะ “ต่างฝ่ายต่างดำเนินงาน โดยมีการประสานงานกันภายในโครงสร้างองค์กรของหน่วยงานนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่” การประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานมีน้อย ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในบางครั้ง และทำให้ไม่เห็นภาพรวมที่เด่นชัดของท้องถิ่น เนื่องจากการวิเคราะห์ผลไม่ได้มีการดำเนินการในภาพรวม (ถ้ามี) ส่วนใหญ่ยังเป็นการนำส่งข้อมูลดิบไปดำเนินการวิเคราะห์และแปลผลในส่วนกลางของหน่วยงานนั้นๆ จะมีข้อยกเว้นก็แต่ช่วงการรณรงค์ใหญ่ปีละ 2 ครั้งเท่านั้น กล่าวคือ ช่วงเทศกาลปีใหม่ และช่วงเทศกาลสงกรานต์ และมักจะขาดช่วงไปเมื่อไม่อยู่ในระหว่างช่วงเทศกาลเหล่านั้น และโดยปรากฏข้อมูลโรงพยาบาลหาดใหญ่ว่า ช่วงเทศกาลอื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการรณรงค์เท่าที่ควร เช่น ตรุษจีน ก็มีสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตมากเช่นกัน การทำให้ผลงานจากการจัดเก็บข้อมูลมาอย่างเหนื่อยยากที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณลงไปดำเนินการอย่างมากนี้ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการนำไปแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็นปัญหามากขึ้นในระดับท้องถิ่นนั้น จำต้องมีการประสานข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่มีการดำเนินการจัดเก็บโดยตรงเป็นประจำสม่ำเสมอ และต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงสถิติทั่วไปร่วมกับการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อให้ทุกหน่วยงานเห็นภาพรวมร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การดำเนินการพัฒนาแก้ไขปัญหาในทิศทางเดียวกัน และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปในท้องถิ่น ซึ่งในโครงการนี้หมายถึงพื้นที่จังหวัดสงขลา ให้ได้รับประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการวิเคราะห์และนำเสนอให้ได้รับทราบผ่านสื่อที่เหมาะสม รายงานฉบับนี้เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อสรุปผลการดำเนินการที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2553 ประกอบด้วย ผลการศึกษาสถานการณ์การจัดเก็บข้อมูลอุบัติเหตุของหน่วยงานต่างๆ รายการข้อมูลที่รวบรวมเป็นข้อมูลกลางระดับจังหวัดโดยดึงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ผลการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากหน่วยงานต่างๆ (ข้อมูลที่มีการจัดเก็บอยู่แล้ว) รวมทั้งการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมโดยใช้เครื่องมือ GPS ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ความก้าวหน้าในการพัฒนาฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ การเผยแพร่การนำเสนอกิจกรรมข้อมูลอุบัติเหตุ การวิเคราะห์ผลและรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1709.pdf
ขนาด: 10.17Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 160
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV