Show simple item record

Development of a Songkhla Province Road Traffic Accident Management System

dc.contributor.authorวิวัฒน์ สุทธิวิภากรen_US
dc.contributor.authorศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุลen_US
dc.contributor.authorกัมปนาท รติวัฒน์en_US
dc.coverage.spatialสงขลาen_US
dc.date.accessioned2010-09-24T06:23:47Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:26:15Z
dc.date.available2010-09-24T06:23:47Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:26:15Z
dc.date.issued2553-07en_US
dc.identifier.otherhs1709en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3007en_US
dc.description.abstractจากวิวัฒนาการการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจวบถึงปัจจุบัน หน่วยงานจัดเก็บข้อมูลนั้นมีอยู่หลายหน่วยงานที่สำคัญ อาทิ แขวงการทางและสำนักงานบำรุงทางสังกัดกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ตำรวจท้องที่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ศูนย์กู้ชีพ “นเรนทร” สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานเอกชน อาทิเช่น มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) ที่อำเภอหาดใหญ่ และชมรมลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองหาดใหญ่ เป็นต้น รวมทั้งยังมีหน่วยงานที่รับและให้ข่าวสารข้อมูลทั้งทางตรงและทางอ้อมในระดับประเทศอีกหลายหน่วยงาน อาทิเช่น ตำรวจทางหลวง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค โรงพยาบาลและสถานีอนามัย ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ ผ่านเครือข่ายการรายงานแจ้งเหตุทางโทรศัพท์และวิทยุสื่อสารหมายเลขต่างๆ มากมายหลายหมายเลข ปัจจุบันแม้บางหน่วยงานที่กล่าวถึงข้างต้นจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่จัดเก็บมาในระดับหนึ่ง แต่การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ ส่วนมากยังเป็นการดำเนินการในลักษณะ “ต่างฝ่ายต่างดำเนินงาน โดยมีการประสานงานกันภายในโครงสร้างองค์กรของหน่วยงานนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่” การประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานมีน้อย ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในบางครั้ง และทำให้ไม่เห็นภาพรวมที่เด่นชัดของท้องถิ่น เนื่องจากการวิเคราะห์ผลไม่ได้มีการดำเนินการในภาพรวม (ถ้ามี) ส่วนใหญ่ยังเป็นการนำส่งข้อมูลดิบไปดำเนินการวิเคราะห์และแปลผลในส่วนกลางของหน่วยงานนั้นๆ จะมีข้อยกเว้นก็แต่ช่วงการรณรงค์ใหญ่ปีละ 2 ครั้งเท่านั้น กล่าวคือ ช่วงเทศกาลปีใหม่ และช่วงเทศกาลสงกรานต์ และมักจะขาดช่วงไปเมื่อไม่อยู่ในระหว่างช่วงเทศกาลเหล่านั้น และโดยปรากฏข้อมูลโรงพยาบาลหาดใหญ่ว่า ช่วงเทศกาลอื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการรณรงค์เท่าที่ควร เช่น ตรุษจีน ก็มีสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตมากเช่นกัน การทำให้ผลงานจากการจัดเก็บข้อมูลมาอย่างเหนื่อยยากที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณลงไปดำเนินการอย่างมากนี้ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการนำไปแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็นปัญหามากขึ้นในระดับท้องถิ่นนั้น จำต้องมีการประสานข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่มีการดำเนินการจัดเก็บโดยตรงเป็นประจำสม่ำเสมอ และต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงสถิติทั่วไปร่วมกับการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อให้ทุกหน่วยงานเห็นภาพรวมร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การดำเนินการพัฒนาแก้ไขปัญหาในทิศทางเดียวกัน และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปในท้องถิ่น ซึ่งในโครงการนี้หมายถึงพื้นที่จังหวัดสงขลา ให้ได้รับประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการวิเคราะห์และนำเสนอให้ได้รับทราบผ่านสื่อที่เหมาะสม รายงานฉบับนี้เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อสรุปผลการดำเนินการที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2553 ประกอบด้วย ผลการศึกษาสถานการณ์การจัดเก็บข้อมูลอุบัติเหตุของหน่วยงานต่างๆ รายการข้อมูลที่รวบรวมเป็นข้อมูลกลางระดับจังหวัดโดยดึงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ผลการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากหน่วยงานต่างๆ (ข้อมูลที่มีการจัดเก็บอยู่แล้ว) รวมทั้งการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมโดยใช้เครื่องมือ GPS ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ความก้าวหน้าในการพัฒนาฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ การเผยแพร่การนำเสนอกิจกรรมข้อมูลอุบัติเหตุ การวิเคราะห์ผลและรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันการจัดระบบสุขภาพภาคใต้ (สจรส.มอ), สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent9265953 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพen_US
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนนen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดสงขลาen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a Songkhla Province Road Traffic Accident Management Systemen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA275 ว742ก 2553en_US
dc.identifier.contactno49ข008en_US
dc.subject.keywordการจัดการข้อมูลen_US
.custom.citationวิวัฒน์ สุทธิวิภากร, ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล and กัมปนาท รติวัฒน์. "การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดสงขลา." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3007">http://hdl.handle.net/11228/3007</a>.
.custom.total_download158
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1709.pdf
Size: 10.17Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record