แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสังเคราะห์ระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้

dc.contributor.authorอรสา กนกวงศ์en_US
dc.contributor.authorสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจen_US
dc.contributor.authorสุกัญญา โลจนาภิวัฒน์en_US
dc.contributor.authorวรสิทธิ์ ศรศรีวิชัยen_US
dc.contributor.authorสาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรืองen_US
dc.date.accessioned2010-09-30T06:30:26Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:25:43Z
dc.date.available2010-09-30T06:30:26Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:25:43Z
dc.date.issued2553-07en_US
dc.identifier.otherhs1703en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3014en_US
dc.description.abstractการสังเคราะห์ระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ เป็นประมวลข้อค้นพบจากโครงการวิจัยย่อยในชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 เรื่อง คือ 1) การสังเคราะห์องค์ความรู้ระบบสุขภาพ 2) การจัดการสุขภาพของประชาชนและ 3) การศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์ระบบสุขภาพและค้นหาแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี 9 เดือน ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้ความสมดุลย์ในการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่เสียไป จึงกระทบต่อปัญหาสุขภาพทุกมิติทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญาณ (ปัญญา) ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทำให้เกิดการสูญเสียพ่อ แม่ พี่น้อง เพื่อน ขาดเสาหลักของครอบครัว ขาดผู้นำในชุมชนและความมั่นคงทางจิตใจลดลง ประชาชนมีความเครียด นอนไม่หลับ บางรายเป็นทุกข์ที่ไม่จางหาย ทำมาหากินลำบาก เนื่องจากไม่มีความปลอดภัยในการเดินทาง ประชาชนเกิดความระแวงระวังตัวมากกว่าปกติ นอกจากนี้มีผู้พิการ หญิงหม้าย และเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยโรคเรื้อรังดูแลตนเองได้น้อยลง การจัดการสุขภาพของภาคประชาชน ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ (ปัญญา) การพูดคุยกับคนในครอบครัว การรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน การดูแลตนเองที่เจ็บป่วยเล็กน้อยยังคงใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ก่อนไปรับบริการที่คลินิกเอกชนและสถานบริการภาครัฐ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเดินทางเวลากลางคืน การเดินทางคนเดียว และระมัดระวัง ระแวงในการสื่อสารกับคนแปลกหน้า ส่วนกลุ่มวัยรุ่นใช้การพูดคุยกับคนที่ไว้ใจและผ่อนคลายความเครียดด้วยการหากิจกรรมอย่างอื่นเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อช่วยผ่อนคลาย เช่น ดูทีวี ฟังเพลง อ่านหนังสือบันเทิง การบริการสุขภาพภาครัฐมีการให้บริการในสถานบริการเป็นหลัก ซึ่งพบว่าสามารถให้การบริการด้านส่งเสริมสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็กและการบริการตามบริบทและวิถีมุสลิมได้ดีขึ้น ส่วนการบริการสุขภาพเชิงรุก เช่น การเยี่ยมบ้านผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในหมู่บ้านปฏิบัติได้น้อยลง การบริการสุขภาพในชุมชนจึงได้อาศัยอสม. ผู้ช่วยในการดำเนินงาน สำหรับการเยียวยามีแนวโน้มดูแลได้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น ส่วนการบริการฉุกเฉินและส่งต่อยังไม่สามารถให้บริการช่วยชีวิต ณ. จุดเกิดเหตุได้เต็มประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน มีดังนี้ ด้านนโยบาย ควรสนับสนุนให้บุตรหลานของคนในพื้นที่ได้รับการศึกษาต่อ โดยการให้ทุนการศึกษาและกลับมาใช้ทุนในพื้นที่ มีนโยบายเสริมหลักสูตรสายสามัญในโรงเรียนปอเนาะ ซึ่งต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมอิสลาม ส่งเสริมให้เยาวชนเข้าใจและเข้าถึงหลักคำสอนทางศาสนาที่ตนเองนับถือและพัฒนาการจัดบริการเครือข่ายในการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ด้านการปฏิบัติงานในพื้นที่ ควรพัฒนาระบบการติดตามและประเมินโครงการในพื้นที่ได้รับอย่างเป็นระบบ รวมทั้งควบคุมกำกับให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพและการใช้ภาษาถิ่นให้บุคลากร พัฒนาเครือข่ายประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองให้เข้มแข็งมากขึ้น ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ ควรศึกษาทบทวนนโยบายค่าตอบแทนและการกำหนดมาตรฐานการประเมินคุณภาพงานที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดน ควรศึกษารูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตและการศึกษาของเยาวชนในพื้นที่ ถอดบทเรียนโครงการพัฒนางานที่ดีเด่นในพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการต่อยอดทำงานแก่หน่วยงานอื่นๆ และสนับสนุนการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและต่อยอดการดำเนินงานในพื้นที่ให้มากขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2125137 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.title.alternativeThe synthesis of Health system under The Violence Crisis in Southern Border Provinces Areaen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW84 อ382ก 2553en_US
dc.identifier.contactno52-049en_US
dc.subject.keywordระบบสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการจัดการสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการบริการสุขภาพen_US
.custom.citationอรสา กนกวงศ์, สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ, สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย and สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง. "การสังเคราะห์ระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3014">http://hdl.handle.net/11228/3014</a>.
.custom.total_download242
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year24
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1703.pdf
ขนาด: 2.246Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย