Show simple item record

การศึกษาความต้องการฝึกอบรมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด

dc.contributor.authorปรียานุช โชคธนวณิชย์en_US
dc.contributor.authorชานนย์ โกมลมาลย์en_US
dc.date.accessioned2010-10-01T03:53:10Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:26:02Z
dc.date.available2010-10-01T03:53:10Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:26:02Z
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.otherhs1717en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3016en_US
dc.description.abstractมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนักสังคมสงเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในการฝึกอบรมความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดและผู้เกี่ยวข้อง (นักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่คุมประพฤติ พยาบาล) จากสังกัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวน 241 คน ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานภาครัฐ รองลงมาคือหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชน โดยเป็นหน่วยงานสังกัดกรมราชฑัณฑ์ (ฑัณฑสถาน) มากที่สุด รองลงมาเป็นหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร คลินิกยาเสพติด ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลสังกัดกทม. กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานในสังกัดกรมคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด หน่วยงานสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเอกชน และสังกัดองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าลักษณะงานด้านยาเสพติดในหน่วยงานเป็นงานหลัก ได้แก่ บริการฝึกอาชีพสำหรับผู้ว่างงาน/ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษของยาเสพติดแก่กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานของกลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติด พ.ศ.2545 ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับรูปแบบบำบัดรักษาแบบสมัครใจ สำหรับลักษณะของกิจกรรมในการดูแลผู้ใช้ยาเสพติดในหน่วยงานพบว่า ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของกิจกรรมแบบฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้ยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 31-40 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาการทำงานกับผู้ใช้ยาเสพติดน้อยกว่า 6 ปีมากที่สุด โดยส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ และมีบทบาทหน้าที่ในหน่วยงานโดยปฏิบัติงานด้านยาเสพติดและงานอื่นๆควบคู่กันไป และจำนวนครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างเคยผ่านการอบรมหลักสูตรด้านยาเสพติดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยหลักสูตรที่เคยผ่านการอบรมมากที่สุด ได้แก่ จิตสังคมบำบัด (Matrix program) การพัฒนาการดูแลผู้เสพ/ผู้ติดสารระเหย บุหรี่การบำบัดผู้ใช้สุรา กลุ่มปัญหาสังคม การบำบัดผู้ป่วยเสพติดรุนแรง (Hard core) ความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อม เป็นต้น จากผลการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการการพัฒนาความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่าง สามารถทำการอภิปรายได้ดังนี้ ด้านสถานการณ์การมาใช้บริการของผู้ใช้ยาเสพติด ส่วนใหญ่เป็นการให้บริการรูปแบบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของผู้ใช้ยาเสพติดและครอบครัว โดยรูปแบบที่กลุ่มตัวอย่างใช้บำบัดรักษากับผู้ใช้ยาเสพติดมากที่สุด คือการบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม รองลงมาคืองานเอกสาร การเขียนบันทึกรายงานและการสัมภาษณ์และการบำบัดเพื่อการเสริมแรงจูงใจตามลำดับ โดยประเด็นงานเอกสารการเขียนบันทึกรายงานมีนัยยะรวมถึงการบันทึกเอกสารอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ใช้บริการ นอกจากนี้หากพิจารณาภาพรวมในการใช้วิธีการบำบัดรักษาจะเห็นได้ว่า วิธีการสัมภาษณ์ประวัติ การประเมินสภาพปัญหาและความต้องการและการวินิจฉัยสภาวะทางสังคม เป็นวิธีที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการให้บริการมากที่สุด ซึ่งถือว่ามีความสอดคล้องกับกระบวนการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ที่ให้ความสำคัญกับการประเมินวินิจฉัยทางสังคมของผู้ใช้บริการ เพื่อนำไปสู่การให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสมen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.format.extent1791209 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectปัจจัยคุกคามสุขภาพen_US
dc.subjectยาเสพติดen_US
dc.subjectสังคมสงเคราะห์en_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการศึกษาความต้องการฝึกอบรมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติดen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.contactno50ข002en_US
dc.subject.keywordการฝึกอบรมen_US
.custom.citationปรียานุช โชคธนวณิชย์ and ชานนย์ โกมลมาลย์. "การศึกษาความต้องการฝึกอบรมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3016">http://hdl.handle.net/11228/3016</a>.
.custom.total_download105
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1717.pdf
Size: 1.776Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record