• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ใช้ยาและสารเสพติด

นิภา กิมสูงเนิน;
วันที่: 2553-05
บทคัดย่อ
การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการที่สำคัญ ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการศึกษานั้นมีความเหมาะสมและนำไปสู่การควบคุมและประกันคุณภาพการศึกษา การวิจัยเชิงประเมินผลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ใช้ยาและสารเสพติดในองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินการ และด้านผลลัพธ์ของหลักสูตร ผู้วิจัยใช้รูปแบบซิป (CIPP model) ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อหลักสูตรทั้งในส่วนของบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ของหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ใช้ยาและสารเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยแวดล้อมหรือบริบทของหลักสูตร พบว่าหลักสูตรมีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับหนึ่ง ยังขาดความครอบคลุมสมรรถนะในด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความสามารถในเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการให้บริการเชิงรุก 2. ปัจจัยนำเข้า ทั้งในส่วนของผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร เนื้อหาหลักสูตร สถานที่ ปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ โดยภาพรวมมีความเหมาะสม พบว่ายังมีปัญหาในเรื่องครูพี่เลี้ยงที่ยังขาดองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลที่ชัดเจน เนื้อหาหลักสูตร บางวิชาเนื้อหามากเมื่อเทียบกับเวลาและมีบางวิชาที่ซ้ำซ้อน สถานที่ฝึกปฏิบัติการพยาบาลทั้งภายในและภายนอกยังขาดการเตรียมความพร้อมด้านแนวทางการดำเนินงาน 3. กระบวนการดำเนินการโดยรวมและรายด้าน มีความเหมาะสม พบปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการหลักสูตรขาดผู้ประสานงานกลางที่สามารถสื่อสารและตัดสินใจได้อย่างทันเวลา 4. ผลลัพธ์ ได้แก่ ระดับการรับรู้ ความรู้ ความสามารถ การประยุกต์ใช้ของผู้ผ่านการอบรมพบว่าทุกหมวดวิชาอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด ยกเว้นวิชาที่อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ วิชาการจัดการและการประสานเครือข่ายในการดูแลผู้ใช้ยาและสารเสพติด, วิชาการเลือกใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพผู้ใช้ยาและสารเสพติด วิชาการบำบัดฟื้นฟูทางจิตสังคมแก่ผู้ใช้ยาและสารเสพติดโดยกลุ่มบำบัด และชุมชนบำบัด วิชาประเด็นทางกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสถานพยาบาล ในส่วนคุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ผ่านการอบรมมีการประเมินตนเองอยู่ในระดับมาก ( = 3.17) ใกล้เคียงกับการรับรู้ของผู้บังคับบัญชา( = 3.18) เช่นเดียวกับการรับรู้ของผู้ร่วมงานที่อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ( = 3.26 ) ผลการศึกษานี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1725.pdf
ขนาด: 804.4Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 152
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV