แรงงานนอกระบบ : วิถีชีวิต การทำงาน การดูแลสุขภาพและสังคม กรณีศึกษากลุ่มเย็บผ้า ตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
dc.contributor.author | สุวิทย์ อินนามมา | en_US |
dc.contributor.author | Suvit Innamma | en_EN |
dc.date.accessioned | 2010-11-09T07:53:40Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:14:44Z | |
dc.date.available | 2010-11-09T07:53:40Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:14:44Z | |
dc.date.issued | 2553-09 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 4,3(ก.ค.-ก.ย. 2553) : 379-392 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3054 | en_US |
dc.description.abstract | การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการบริการด้านอาชีวอนามัยแก่แรงงานนอกระบบ หรือแรงงานในชุมชน จำเป็นที่จะต้องเข้าใจวิถีชีวิตและระบบการทำงานของกลุ่มเป้าหมาย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตแรงงานกลุ่มเย็บผ้าในเขตตำบลบ้านเม็ง ทั้งการเข้าสู่อาชีพเย็บผ้า กระบวนการรับงานมาทำที่บ้าน สภาพการทำงาน การจัดการกับปัญหาต่างๆ รวมทั้งระบบสุขภาพและสังคมของแรงงาน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุภาพ ด้วยวิธีการสำรวจชุมชน การสังเกต การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เจาะลึก จากแหล่งข้อมูลต่างๆในชุมชน จากการวิจัยพบว่าอาชีพการตัดเย็บเสื้อผ้าของแรงงานในชุมชน มีผลจากการปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมต่ออาชีพดังกล่าวจากภูมิปัญญาหรือทุนในชุมชนสู่แรงงานรุ่นใหม่ ส่วนรูปแบบการจ้างงานหรือการรับงานมาทำที่บ้านก็มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจและการแข่งขันด้านการผลิตและการค้าจากภายนอก ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในวิถีอาชีพแรงงานฯทั้งการเอารัดเอาเปรียบ การต่อรอง การต่อต้านการจ้างงาน รวมทั้งปัญหาสุขภาพและสังคมที่เกิดจากสภาพการทำงาน สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมของแรงงานฯด้วย แม้ว่าแรงงานจะมีการดูแลสุขภาพหรือการพึ่งตนเองทางสุขภาพได้บ้าง แต่ยังขาดความเหมาะสมและต่อเนื่อง ส่วนการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสังคมแก่แรงงานพบว่าครอบครัว เครือข่ายแรงงาน และชุมชนมีบทบาทที่สำคัญที่สุด ส่วนเครือข่ายอื่นๆ ทั้งองค์กรท้องถิ่น หน่วยงานราชการ และนายจ้าง ยังมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่แรงงานฯน้อยมาก การวิจัยครั้งนี้จึงได้เสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในชุมชนด้วยด้วยการสร้างกระบวนการรวมกลุ่มหรือเครือข่ายแรงงาน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมขององค์กรท้องถิ่น ชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีทักษะการจัดการด้านอาชีพ สุขภาพและสวัสดิการตามสภาพปัญหาและความจำเป็นพื้นฐานที่เหมาะสมแก่แรงงานในแต่ละพื้นที่ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | แรงงานนอกระบบ | en_US |
dc.subject | การดูแลสุขภาพ | en_US |
dc.title | แรงงานนอกระบบ : วิถีชีวิต การทำงาน การดูแลสุขภาพและสังคม กรณีศึกษากลุ่มเย็บผ้า ตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น | en_US |
dc.title.alternative | Working and Social Life of Informal Workers and Impacts on Health: A Case Study of the Sewing Group of Ban Meng Subdistrict, Nong Ruea District,Khon Kaen Province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to explore the quality of working life among workers in Ban Meng subdistrict. This included career initiation, finding jobs to work at home, the working environment, and coping with health and other problems concerning informal working conditions. The main data of this qualitative research were collected from a community survey, observation, interviews, and in-depth interviews.The study revealed the local value placed on the sewing vocation, which had been transmitted to people in the community from previous generations. The condition of employment, which was influenced by their economic situation, competition in production supply, and external trading, had strong impacts on the vocational security of the workers in the context of exploitation, negotiation, and resistance regarding employment. These impacts included health and social problems resulting from bad working conditions and environment, as well as improper health behaviors. The study also found that the family, the community, and working network were the most important parties that participated in the health care of the workers. This study recommends a model of quality-of-life improvement among the workers in the community. This will be accomplished through group creation, strengthening the capacity of local organizations, community, and other agencies in order to gain skills in management regarding career, health, and social welfare suitable for each situation and necessity. | en_US |
dc.subject.keyword | การรับงานมาทำที่บ้าน | en_US |
dc.subject.keyword | Work at Home | en_US |
dc.subject.keyword | Health and Society | en_US |
.custom.citation | สุวิทย์ อินนามมา and Suvit Innamma. "แรงงานนอกระบบ : วิถีชีวิต การทำงาน การดูแลสุขภาพและสังคม กรณีศึกษากลุ่มเย็บผ้า ตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3054">http://hdl.handle.net/11228/3054</a>. | |
.custom.total_download | 4898 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 48 | |
.custom.downloaded_this_year | 839 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 171 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ