Show simple item record

สังเคราะห์ประสบการณ์ ความรู้ ครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาระบบดูแลประชากร โดยหน่วยบริการปฐมภูมิ

dc.contributor.authorสำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนen_US
dc.contributor.authorมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนen_US
dc.date.accessioned2011-06-29T06:52:15Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:28:19Z
dc.date.available2011-06-29T06:52:15Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:28:19Z
dc.date.issued2554en_US
dc.identifier.otherhs1808en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3162en_US
dc.description.abstractครอบครัวนับเป็นหน่วยย่อยที่สุดในชุมชน แต่เป็นหน่วยสำคัญที่สุดในการบ่มเพาะมนุษย์เข้าสู่สังคม ดังนั้นหากครอบครัวเข้มแข็ง ทุกๆ คนหรือสมาชิกทุกคนในครอบครัวเข้มแข็ง มีพลัง มีปัญญา มีทักษะในการดำเนินชีวิต ก็จะสามารถฝ่าฟันสิ่งเร้าเชิงลบออกไปได้ ทุกวันนี้สื่อเข้ามามีผลกระทบต่อชีวิตของคนทุกช่วงวัย ทั้งผลกระทบเชิงบวกที่ทำให้เกิดการสื่อสารที่กระชับฉับไว มีประสิทธิภาพ มีลักษณะเคลื่อนไหว 3 มิติ แม้อยู่ที่ใดก็สื่อสารกันได้ ในขณะเดียวกันผลกระทบเชิงลบทำให้ผู้ใช้สื่อลุ่มหลงทุ่มเทเวลาไปกับสื่อต่างๆ ทั้งการแชท การเล่นเกมส์ การติดตามข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา ราวกับว่าในโลกนี้มีเพียงตัวเองกับเครื่องมือสื่อสารเหล่านั้น ไม่สนใจต่อกันแม้ในครอบครัวเดียวกัน นั่งดูรายการโทรทัศน์ก็ต่างคนต่างดู นั่งแชท นั่งโทรศัพท์ไปด้วย ความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่ใต่ถามทุกข์ สุข ต่อกันหายไป การแสดงออกตามบทบาทพ่อ แม่ ลูก นั่งรับประทานอาหารร่วมกันน้อยลงไป เด็กจึงเติบโตท่ามกลางพี่เลี้ยง ร้านเกมส์ หน้าจอโทรทัศน์ และพบเห็นความรุนแรงทั้งในบ้านและนอกบ้านจนชินและเป็นนิสัยในที่สุด การพัฒนารระบบดูแลประชากร โดยหน่วยบริการปฐมภูมิ ภาระกิจหลักพื้นฐาน คือ การบริการแบบผสมผสานให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ทั้งในสถานบริการ ที่บ้าน และชุมชน งานบริการดูแลเป็นกลุ่มประชากรม ทั้งตามวัยและตามประเด็นปัญหาเฉพาะของพื้นที่ รวมทั้งการจัดการเพื่อเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชน สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิแล้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จัดเป็นบริการด่านหน้าที่มีความใกล้ชิดกับคนในชุมชนมากที่สุด และทั้งยังเป็นกลไกที่สำคัญที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งของครอบครัวในชุมชน เมื่อครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนก็เข้มแข็ง การที่ชุมชนเข้มแข็งนั้นต้องอาศัยพลังของแกนนำในชุมชน ที่ต้องมีภาวะแห่งผู้นำที่แท้ (Authentic Leadership) กล่าวคือ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความกล้าตัดสินใจภายใต้การพิจารณาเหตุปัจจัยรอบด้าน มีกระบวนทัศน์ในการทำงานแบบเน้นการมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชน และระมัดระวังผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน คณะทำงานทำงานด้วยความตั้งใจและเห็นเป็นหนึ่งเดียว (Unity) มีการสร้างเสริมพลัง (Empowerment) ให้เกิดแก่ทุกคนในชุมชน มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชนและเชื่อมโยงกับชุมชนอื่นๆ เป็นเครือข่ายเพื่อเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน ขยายผลงานออกไปในสังคมวงกว้าง เพื่อเป็นที่ประจักษ์แก่องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ให้สนใจและต้องการที่จะมามีส่วนร่วมในการทำงาน ทั้งในส่วนของการหนุนเสริมทรัพยากรในด้านต่างๆ และการร่วมจับมือกันเพื่อทำงานแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นับเป็นการทำงานแก้ไขปัญหาในเชิงบูรณาการที่แท้จริงซึ่งนำไปสูความยั่งยืนของสังคมต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent766526 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.subjectครอบครัวen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleสังเคราะห์ประสบการณ์ ความรู้ ครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาระบบดูแลประชากร โดยหน่วยบริการปฐมภูมิen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW84 ส533 2554en_US
dc.identifier.contactno53-018en_US
dc.subject.keywordการดูแลประชากรen_US
dc.subject.keywordหน่วยบริการปฐมภูมิen_US
.custom.citationสำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน and มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน. "สังเคราะห์ประสบการณ์ ความรู้ ครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาระบบดูแลประชากร โดยหน่วยบริการปฐมภูมิ." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3162">http://hdl.handle.net/11228/3162</a>.
.custom.total_download191
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1808.pdf
Size: 815.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record