แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ประสิทธิผลของการดูแลรักษาผู้ป่วยจากคลินิกโรคหืด โรงพยาบาลบางปะอิน

dc.contributor.authorเลิศชัย จิตต์เสรีen_US
dc.contributor.authorLerdchai Jitsareeen_US
dc.coverage.spatialพระนครศรีอยุธยาen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:00:47Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T15:55:21Z
dc.date.available2008-10-02T07:00:47Zen_US
dc.date.available2557-04-16T15:55:21Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,1 (ม.ค.-มี.ค. 2551) (ฉบับเสริม 3) : 771-776en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/318en_US
dc.description.abstractโรคหืดเป็นโรคระบบการหายใจที่มีหลอดลมอักเสบเรื้อรัง รายที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ โรงพยาบาลบางปะอินได้จัดตั้งคลินิกโรคหืดขึ้น โดยทีมสหวิชาชีพ ซึ่งให้การวินิจฉัยและรักษาตามแนวปฏิบัติของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลการดูแลรักษาผู้ป่วยก่อนและหลังเข้ารักษาที่คลินิกโรคหืด ในช่วงวันที่ 1 มิถุนายน 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 จำนวน 82 คน เป็นชายร้อยละ 24.4 เป็นหญิงร้อยละ 75.6 การศึกษาพบว่าอัตราผู้ป่วยรับไว้รักษาในโรงพยาบาลภายหลังรับการรักษาที่คลินิกโรคหืดลดลงจากร้อยละ 24.4 เหลือร้อยละ 2.4 อัตราการมาพ่นยาที่ห้องฉุกเฉินลดลงจาก ร้อยละ 75.6 เหลือร้อยละ 14.6 อัตราการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดฤทธิ์สั้นลดลงจากร้อยละ 81.7 เหลือร้อยละ 23.2 อัตราผู้ป่วยปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเมื่อมีอาการกำเริบเป็นร้อยละ 73.2 อัตราผู้ป่วยในกลุ่มที่สมควรได้รับยาสูดคอร์ติโคสดีรอยด์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.5 เป็นร้อยละ 100 อัตราผู้ป่วยใช้ยาพ่นได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.9 เป็นร้อยละ 87.4 ส่วนผลการประเมินการควบคุมโรคหืดในระดับควบคุมได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 24.4 และพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยจำนวนครั้งการเข้ารักษาในโรงพยาบาล การมาพ่นยาห้องฉุกเฉิน การใช้ยาพ่นขยายหลอดลมชนิดฤทธิ์สั้น และค่าตรวจอัตราไหลหายใจออกสูงสุดก่อนและหลังการรักษาที่คลินิกโรคหืดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกมาแสดงให้เห็นว่า การจัดตั้งคลินิกโรคหืดโดยให้การดูแลรักษาตามมาตรฐานร่วมกับการที่ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องนั้น ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอัตราการมานอนรักษาในโรงพยาบาลและการมาพ่นยาที่ห้องฉุกเฉินลงได้ ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปรกติสุขth_TH
dc.format.extent206842 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleประสิทธิผลของการดูแลรักษาผู้ป่วยจากคลินิกโรคหืด โรงพยาบาลบางปะอินen_US
dc.title.alternativeEfficacy of Treatment in the Asthma Clinic of Bang-Pa-In Hospitalen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeAsthma is a chronic inflammatory disease of the airways; occasional cases may succumb from severe attacks. Bang-Pa-In Hospital established an asthma clinic in 2006; it is operated by a multidisciplinary team which provides treatment according to international standard guidelines. This study was undertaken to evaluate the efficacy of the Hospital’s asthma clinic by comparing the results of the care before and after attending the clinic in 82 selected patients (24.4% male, 75.6% female) in the period from June 1, 2006 to December 31, 2007. The results showed that the hospitalization rate of asthma cases was reduced from 24.4 to 2.4 percent, the rate of patients receiving nebulizers in the emergency room was reduced from 75.6 to 14.6 percent, the use of short-acting beta2-agonist was reduced from 81.7 to 23.2 percent, the rate of correct practice during asthma attack was 73.2 percent, the use of inhaled corticosteroid (ICs) increased from 19.5 to 100 percent, the rate of correct use of inhalers increased from 28.9 to 87.8 percent, and the control of the disease increased from 11 to 24.4 percent. The means of in-patient admission, visiting the emergency room, use of short-acting beta2-agonist, and peak expiratory flow of the experimental group was significantly different at the 0.05 level. This overall result implies that the quality of life of the asthmatic subjects became better and that asthma can be controlled by providing, in addition to the use of appropriate drugs (ICs), appropriate education about the disease and an understanding of how asthma treatments work. Finally, the reduction in in-patient admissions, emergency department visits and school or work days missed was achieved.en_US
dc.subject.keywordโรคหืดen_US
dc.subject.keywordคลินิกโรคหืดen_US
dc.subject.keywordAsthma Controlen_US
dc.subject.keywordAsthmaen_US
.custom.citationเลิศชัย จิตต์เสรี and Lerdchai Jitsaree. "ประสิทธิผลของการดูแลรักษาผู้ป่วยจากคลินิกโรคหืด โรงพยาบาลบางปะอิน." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/318">http://hdl.handle.net/11228/318</a>.
.custom.total_download620
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year94
.custom.downloaded_fiscal_year14

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 206.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย