Show simple item record

Construction Workers’ Drinking and Smoking Behavior: Research for Health Communication Planning

dc.contributor.authorจอมขวัญ โยธาสมุทรen_US
dc.contributor.authorเชิญขวัญ ภุชฌงค์en_US
dc.contributor.authorทรงยศ พิลาสันต์en_US
dc.contributor.authorกัลยา ตีระวัฒนานนท์en_US
dc.contributor.authorศิริญญา ธีระอนันต์ชัยen_US
dc.contributor.authorรุ่งนภา คำผางen_US
dc.contributor.authorรักมณี บุตรชนen_US
dc.contributor.authorศรีเพ็ญ ตันติเวสสen_US
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์en_US
dc.contributor.authorJomkwan Yothasamuten_EN
dc.contributor.authorChoenkwan Putchongen_EN
dc.contributor.authorSongyot Pilasanten_EN
dc.contributor.authorKanlaya Teerawattananonen_EN
dc.contributor.authorSirinya Teeraananchaien_EN
dc.contributor.authorRoongnapa Khamphangen_EN
dc.contributor.authorRukmanee Butchonen_EN
dc.contributor.authorSripen Tantivessen_EN
dc.contributor.authorYot Teerawattananonen_EN
dc.contributor.otherโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพen_US
dc.date.accessioned2011-11-30T09:38:08Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:06:47Z
dc.date.available2011-11-30T09:38:08Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:06:47Z
dc.date.issued2554-09en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 5,3 (ก.ค.-ก.ย. 2554) : 307-316en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3376en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพในกลุ่มคนงานก่อสร้างทั้งในระดับบุคคลและชุมชน รวมถึงมาตรการสร้างเสริมสุขภาพที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนามาตรการเหล่านั้นโดยใช้แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เริ่มต้นด้วยการศึกษาเชิงคุณภาพโดยคณะนักวิจัยเข้าไปอาศัยอยู่ในชุมชนที่เป็นที่พักของคนงานก่อสร้าง ๑ แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นเวลาประมาณ ๒ เดือน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน วิถีชีวิตพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ จากนั้นจึงสำรวจเชิงปริมาณในประเด็นที่สนใจ และได้นำเสนอข้อค้นพบทั้งหมดแก่ตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หาคำอธิบายข้อค้นพบ และรายงานผลการศึกษาเพื่อให้ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต ผลการศึกษา: พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่สำคัญที่พบในชุมชนที่ศึกษาคือ สิ่งแวดล้อมทั้งภายในชุมชน ความปลอดภัยในที่ทำงาน สุขลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและประกอบอาหาร และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ นักวิจัยเลือกศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงที่มีมาตรการแก้ไขอยู่ในพื้นที่ศึกษาและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญ ได้แก่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามคนในชุมชนกลับมองว่าสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด สำหรับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่นั้น พบว่าถึงแม้ประชากรที่ศึกษาจะมีข้อจำกัดในด้านกำลังซื้อและเวลา กล่าวคือมีรายได้น้อยและมีเวลาว่างจากการทำงานน้อยมาก แต่กลับมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึง และเป็นแรงจูงใจในการบริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังพบว่าการสร้างเสริมสุขภาพผ่านมาตรการทางกฎหมาย ได้แก่ กำหนดเวลาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การกำหนดอายุผู้ซื้อบุหรี่นั้นด้อยประสิทธิผลในประชากรที่ศึกษาเพราะส่วนใหญ่ซื้อสินค้าเหล่านี้จากร้านค้าภายในชุมชนซึ่งมักไม่ถูกตรวจจากเจ้าหน้าที่ และผู้บริโภคก็ไม่ทราบถึงเหตุผลเบื้องหลังของกฎหมายนั้นๆ โดยเฉพาะการกำหนดเวลาจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ข้อมูลจากหลายการศึกษาที่ผ่านมาแนะนำให้เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ข้อมูลจากการศึกษานี้ชี้ว่าการใช้มาตรการทางกฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ การใช้หลักการตลาดเพื่อสังคมในการพัฒนามาตรการสื่อสารให้สอดคล้องกับทัศนคติ ความรู้ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมในชุมชนที่ประชากรกลุ่มนี้อาศัยอยู่ มีแนวโน้มช่วยเพิ่มประสิทธิผลของมาตรการเพื่อลดการบริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ดำเนินการอยู่ได้ สรุปและข้อเสนอแนะ: การออกแบบมาตรการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มนี้จะต้องเข้าใจบริบทและค้นหาช่องทางในการลดความสะดวกและแรงจูงใจในการเข้าถึงสินค้าที่ทำลายสุขภาพเหล่านั้น ควรใช้การตลาดเพื่อสังคมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับที่ไม่ยากและมีต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงต่ำ เช่น การละเว้นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบางช่วงเวลา ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติได้และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ก่อนที่จะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับที่ยากขึ้น เช่น เลิกสุรา และการใช้หลักการตลาดเพื่อสังคมในการพัฒนามาตรการเพื่อการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถช่วยให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent502517 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.titleการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ในกลุ่มคนงานก่อสร้าง: การวิจัยเพื่อวางแผนการสื่อสารด้านสุขภาพen_US
dc.title.alternativeConstruction Workers’ Drinking and Smoking Behavior: Research for Health Communication Planningen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThis study is aimed at exploring the current situation concerning risk factors and behaviors that construction workers were facing at both individual and community levels as well as to examine existing health promotion interventions. This information was expected to be used for constructing useful recommendations for the development of existing and new interventions employing “social marketing” principles. Methods: The study began by employing qualitative methods. The research team was assigned to stay in a purposively selected construction camp for two months to collect data concerning lifestyles, social values, as well as risk behaviors and risk factors. Afterwards, a cross-sectional survey on issues of concern was implemented. Finally the data were analyzed and presented to the community representatives in focus group discussions. This was to verify and investigate explanations underpinning the findings; moreover, it was expected that such a payback method, including findings, would be beneficial to people in the communities. Results: It was found that one of the major risk behaviors observed in the study community was alcohol and tobacco consumption. Although the target group had a number of constraints in terms of purchasing power and time, they received relatively low payments for these excessive workloads; however, they were offered convenience and motivation to access alcohol and tobacco products. It was observed that legal interventions, i.e., restriction on alcohol-selling times did not perform effectively as the study population usually purchased these unhealthy products from small community groceries where there was a lack of inspections from police officers; besides, these workers rarely knew about this regulation. For those who had seen or known about the law, they still did not understand the reasons behind such a restriction on selling times. Strengthening law enforcement was therefore recommended by academics as a strategic solution. On the contrary, this study pointed out that the use of social marketing principles to communicate with the target group regarding the true purposes and relevant facts of the interventions tended to help increase the effectiveness of legal interventions. Conclusions: In order to develop suitable health promotion interventions for the target groups, health promoters needed to understand the context and develop ways to limit their access to unhealthy products. It was recommended that social marketing should initially be applied for promoting behaviors that are easy and require low cost to change, such as to stop drinking in certain periods of time. This is to offer reachable targets to the target group and once they achieve such a goal, they would be empowered to believe in their abilities, and this would help them to step up to overcome more difficult goals, such as to stop drinking or smoking altogether. The application of social marketing principles to existing legal interventions could help facilitate prompt behavior change, as well as maintain desired behaviors in the target populations.en_US
dc.subject.keywordพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการตลาดเพื่อสังคมen_US
dc.subject.keywordการสื่อสารด้านสุขภาพen_US
dc.subject.keywordแอลกอฮอล์en_US
dc.subject.keywordบุหรี่en_US
.custom.citationจอมขวัญ โยธาสมุทร, เชิญขวัญ ภุชฌงค์, ทรงยศ พิลาสันต์, กัลยา ตีระวัฒนานนท์, ศิริญญา ธีระอนันต์ชัย, รุ่งนภา คำผาง, รักมณี บุตรชน, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, ยศ ตีระวัฒนานนท์, Jomkwan Yothasamut, Choenkwan Putchong, Songyot Pilasant, Kanlaya Teerawattananon, Sirinya Teeraananchai, Roongnapa Khamphang, Rukmanee Butchon, Sripen Tantivess and Yot Teerawattananon. "การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ในกลุ่มคนงานก่อสร้าง: การวิจัยเพื่อวางแผนการสื่อสารด้านสุขภาพ." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3376">http://hdl.handle.net/11228/3376</a>.
.custom.total_download1699
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month9
.custom.downloaded_this_year181
.custom.downloaded_fiscal_year22

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v5n3 ...
Size: 495.1Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record