บทคัดย่อ
โรคมะเร็งนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญยิ่งของคนไทย อุบัติการณ์ในภาพรวมของประเทศยังคงสูง มะเร็งบางชนิดมีแนวโน้มสูงขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งท่อน้ำดีตับ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก และมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยศึกษาแบบการศึกษาระยะยาวแบบไปข้างหน้า ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งรวบรวมข้อมูลระหว่าง ปี พ.ศ. 2533- 2544 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Nested case-control study โดยดำเนินการระหว่าง มีนาคม พ.ศ. 2551 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทำการยืนยัน Case โดยการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งชุมชนจังหวัดขอนแก่น พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีตับ 245 ราย มะเร็งปากมดลูก 61 ราย มะเร็งเต้านม 10 ราย มะเร็งลำไส้ใหญ่ 22 ราย มะเร็งปอด 26 ราย มะเร็งช่องปาก 11 ราย มะเร็งกระเพาะอาหาร 8 มะเร็งรวมทุกชนิด 297 ราย มีผู้ที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มควบคุมคือไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง และยังมีชีวิตอยู่ในขณะทำการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 17,449 ราย เป็นชาย 5,201 ราย หญิง 12,248 ราย ผลการศึกษา จากการวิเคราะห์ทีละปัจจัยและพหุลอจีสติก ดังนี้ มะเร็งท่อน้ำดีตับ เมื่อคำนึงถึงผลกระทบจากปัจจัยอื่นและการหาสมการในการทำนาย โดยวิธีการถดถอยพหุลิจีสติกแบบเงื่อนไขพบว่า มี 4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีตับ และเป็นปัจจัยสำคัญในการทำนายการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี คือ ดัชนีมวลกาย เพศ อายุ และผลการตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิใบไม้ตับ กล่าวคือ ดัชนีมวลกายลดลง 1 กิโลกรัมต่อเมตร2 จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงเป็น 1.05 (1/OR = 1/0.95 = 1.05) เท่า (95%CI=1.11- 1.01) และเพศชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงเป็น 2.45 เท่าของเพศหญิง (95% CI=1.74-3.45) เมื่ออายุเพิ่มขึ้น 1 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงเป็น 1.11 เท่า (95% CI=1.08-1.11) ผู้ที่มีผลการตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิใบไม้ตับจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงเป็น 1.64 เท่าของผู้ที่มีผลการตรวจอุจจาระไม่พบไข่พยาธิใบไม้ตับ (95% CI=1.16-2.34) ข เมื่อพิจารณาความสามารถในการทำนายของสมการนี้จากพื้นที่ใต้โค้ง อาร์ โอ ซี (Area under ROC curve; AUC) พบว่า สามารถทำนายการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้ในระดับปานกลาง คือ ทำนายได้ร้อยละ 68.70 % มะเร็งปากมดลูก เมื่อคำนึงถึงผลกระทบจากปัจจัยอื่นและการหาสมการในการทำนายโดยวิธีการถดถอยพหุลิจีสติกแบบเงื่อนไขพบว่า มี 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ ดัชนีมวลกายและอายุที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก กล่าวคือ ดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัมต่อเมตร2 จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกสูงเป็น 1.09 เท่า (95% CI= 0.99 - 1.18) และเมื่อยิ่งอายุที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกต่ำลงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกสูงเป็น 1.05 (1/OR = 1/0.95 = 1.05) เท่า (95% CI = 0.94 - 1.15) เมื่อพิจารณาความสามารถในการทำนายของสมการนี้จากพื้นที่ใต้โค้ง อาร์ โอ ซี (Area under ROC curve; AUC) พบว่า สามารถทำนายการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ในระดับต่ำ คือ ทำนายได้ร้อยละ 54.93 มะเร็งปอด จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทีละปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอดได้แก่ เพศชาย (OR=9.89; 95% CI= 3.73-26.2) อายุ โดยเมื่ออายุมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น (p<0.001) การสูบบุหรี่ (OR=6.73; 95% CI=2.88-15.73) การดื่มสุรามีความสัมพันธ์เชิงปัจจัยเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 23.5 ขึ้นไปมีผลเชิงป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทีละปัจจัย พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ เพศชาย (OR=2.35; 95% CI=1.02-5.43) อายุ โดยอายุมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น (p<0.05) การมีประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว (OR=2.66; 95% CI=1.13-6.27) การบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์เชิงป้องกัน ดัชนีมวลกาย 23.5 ขึ้นไปมีผลเชิงป้องกัน มะเร็งช่องปาก จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทีละปัจจัย พบว่า การเคี้ยวหมากเป็นปัจจัยเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งช่องปาก (OR=8.88; 95% CI=1.48-53.2) อายุ 60 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงสูงขึ้น เพศชายเป็นน้อยกว่าเพศหญิง ดัชนีมวลกาย 23.5 ขึ้นไปมีผลเชิงป้องกัน มะเร็งเต้านม จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทีละปัจจัย พบว่าดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์เชิงปัจจัยเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งเต้านม คือ ผู้มีดัชนีมวลกาย 23.5 ขึ้นไป มีความเสี่ยงมากขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=1.87; 95% CI=0.36-9.67) อายุมากขึ้นมีความเสี่ยงสูงขึ้น มะเร็งกระเพาะอาหาร จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทีละปัจจัย พบว่า เพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง (OR=1.41; 95% CI=0.34-5.91) อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น (p<0.05) ดัชนีมวลกาย 23.5 ขึ้นไปมีผลเชิงป้องกัน จากการศึกษาในครั้งนี้ พบปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง เช่น การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ การประเมินภาวะโภชนาการทางกายภาพ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การบริโภคอาหาร ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งในคนไทยได้
บทคัดย่อ
Cancer is a major public health problem for Thai people. The incidence of cancer is still
high and increasing in some cancer sites. This research aimed to study risk factors for the most
common cancers i.e. cholangiocarcinoma, cervix uteri, breast, colorectum, lung, oralcavity, and
stomach cancer. This study was a cohort study, using data from the Khon Kaen cohort study
which established and recruited the cohort group during 1990-2001. The analysis was performed
as a nested case-control study design during March, 2008 to May 2010. Cohort data was linked
with the Khon Kaen cancer registry to identify cancer cases. There were 245 cholangiocarcinoma,
61 cervix uteri, 10 breast cancer, 22 colorectal cancer, 26 lung cancer, 11 oral cancer and 8
stomach cancer, 297 all sites of cancers. Those who were free from cancer and still alive until
November 2009 were selected as controls; 17,449 (5,201 males, 12,248 females).
Results from univariate and multivariate analyses were:
Cholangiocarcinoma
From the multiple conditional logistic regression and prediction model, there were 4
factors associated with cholangiocarcinoma i.e. body mass index (BMI), sex, age, and OV eggs in
stools. That is the decreasing of each 1 kg./m.2 the risk of cholangiocarcinoma is 1.05 (1/OR =
1/0.95 = 1.05) (95%CI= 1.11-1.01), male is at higher risk than female (OR= 2.45; (95% CI=1.74-
3.45), the increasing of each year of age, the risk is 1.11 (95% CI= 1.08-1.11), those who had OV
eggs in stool were at higher risk of cholangiocarcinoma (OR=1.64; 95% CI=1.16-2.34).
Considering the accuracy of prediction model of area under ROC curve; AUC is 68.70 %.
Cervix uteri cancer
From the multiple conditional logistic regression and prediction model, there were 2
factors associated with cervix cancer i.e. body mass index (BMI) and age at first sexual
intercourse. That is the increasing of each 1 kg./m.2 the risk of cervix cancer is 1.09 (95% CI=
0.99 - 1.18), each year of younger age at first sexual intercourse, the risk of cervix cancer is 1.05 (1/OR = 1/0.95 = 1.05) (95% CI = 0.94 - 1.15). Considering the accurary of prediction model of
area under ROC curve; AUC is 54.93%.
Lung cancer From the univariate analysis, risk factors for lung cancer were sex (male)
(OR=9.89; 95% CI= 3.73-26.2), age (increasing age) (p<0.001), smoking (OR=6.73; 95%
CI=2.88-15.73), and alcohol consumption. BMI 23.5 kg./m.2 or more are at lower risk of lung
cancer.
Colorectal cancer From the univariate analysis, risk factors for colorectal cancer were
sex (male) (OR=2.35; 95% CI=1.02-5.43), age (increasing age) (p<0.05), the history of having
cancer in the family (OR=2.66; 95% CI=1.13-6.27). Food consumption and BMI 23.5 kg./m.2 or
more are at lower risk of colorectal cancer.
Oral cavity cancer From the univariate analysis, risk factors for oral cavity cancer were
betel nut chewing (OR=8.88; 95% CI=1.48-53.2), age 60 year-old or more and sex (male). Male
were at lower risk of oral cavity cancer.
Breast cancer From the univariate analysis, risk factor for breast cancer was the
increasing of BMI; BMI 23.5 kg./m.2 or more compared to lower BMI (OR=1.87; 95% CI=0.36-
9.67).
Stomach cancer From the univariate analysis, the factors associated with the risk of
stomach cancer were sex (male), (OR=1.41; 95% CI=0.34-5.91), and the increasing age (p<0.05).
In conclusion; the findings in this study suggested that public health personnel should
consider and take into account that OV infestation, BMI, smoking, alcohol consumption, food
consumption for the cancer prevention and control programme.