แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขในระดับพื้นที่ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

dc.contributor.authorวินัย ลีสมิทธิ์en_US
dc.contributor.authorสงครามชัย ลีทองดีen_US
dc.contributor.authorวรรณภา บำรุงเขตen_US
dc.contributor.authorสุธีรดา ฉิมน้อยen_US
dc.date.accessioned2012-02-24T06:00:50Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:28:55Z
dc.date.available2012-02-24T06:00:50Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:28:55Z
dc.date.issued2554-09en_US
dc.identifier.otherhs1920en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3436en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบเขตสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับบริบทประเทศไทย โดยกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะไว้ 4 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและความเข้าใจเรื่องเขตสุขภาพที่ถูกต้อง (2) หารูปแบบการอภิบาลระบบเขตสุขภาพที่เหมาะสมในประเด็นโครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่คณะกรรมการเขตสุขภาพและเขตสุขภาพ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการกำกับติดตามประเมินผลความเป็นอิสระในการดำเนินงาน และการจัดการที่ดีเพื่อนำไปสู่ธรรมาภิบาล (3) ศึกษารูปแบบการจัดบริการในเขตสุขภาพ ระบบการส่งต่อและการบูรณาการแบบมีส่วนร่วม และ (4) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จและล้มเหลวของการพัฒนาเขตสุขภาพ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาเขตสุขภาพประเทศไทย วิธีการศึกษาประกอบด้วย 2 วิธีคือ การทบทวนวรรณกรรมทั้งต่างประเทศ และในประเทศกรณีประสบการณ์การซื้อบริการของ สปสช.สาขากทม. และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การทบทวนวรรณกรรมศึกษาประสบการณ์จาก 6 ประเทศประกอบด้วยอังกฤษ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา นอร์เวย์ และสวีเดน โดยใช้หลักเกณฑ์การเลือกประเทศดังกล่าวเพราะคุณลักษณะคล้ายระบบสุขภาพประเทศไทย 4 ประการ คือ มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เป็นแบบรัฐสวัสดิการ แหล่งเงินสุขภาพมาจากภาษีประชาชน ใช้กลไกตลาดแยกผู้ซื้อ และจัดบริการออกจากกัน และมีการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข การศึกษาใช้ การสืบค้นจากฐานข้อมูลอินเตอร์เน็ตและเอกสารวิชาการ จากนั้นนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และสังเคราะห์เพื่อวางกรอบการศึกษาเชิงคุณภาพ การศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ทั้งสัมภาษณ์เดี่ยว และกลุ่มซึ่งกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้บริหาร สปสช. ทั้งส่วนกลางและเขตพื้นที่, เจ้าหน้าที่ สปสช., ผู้บริหารและบุคลากรระดับเขตกระทรวงสาธารณสุขและตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีส่วนร่วมในการจัดตั้งพัฒนาเขตสุขภาพ พื้นที่ศึกษาประกอบด้วยพื้นที่หลัก คือ สปสช.เขตนครชัยบุรินทร์ และกทม.พื้นที่เสริม คือ สปสช.เขตอุดรธานี สงขลาและพิษณุโลก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมการบันทึกข้อมูลใช้การอัดเสียง และถอดเสียงวิเคราะห์เชิงเนื้อหา นำเสนอเชิงพรรณนาประกอบตารางและภาพที่เกี่ยวข้องen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทยen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขในระดับพื้นที่ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.title.alternativeResearch and Development of Locality Health System Management in the Universal Coverage Systemen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW84.6 ว619ก 2554en_US
dc.identifier.contactnoT54-07en_US
dc.subject.keywordระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
.custom.citationวินัย ลีสมิทธิ์, สงครามชัย ลีทองดี, วรรณภา บำรุงเขต and สุธีรดา ฉิมน้อย. "การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขในระดับพื้นที่ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3436">http://hdl.handle.net/11228/3436</a>.
.custom.total_download430
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year18
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1920.pdf
ขนาด: 1.047Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย