กระบวนการทำงานและปัจจัยเงื่อนไขในการพัฒนางานสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช
dc.contributor.author | ปิยพร ขนอม | th_TH |
dc.contributor.author | Piyaporn Khanom | en_EN |
dc.date.accessioned | 2012-03-05T07:05:21Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:16:47Z | |
dc.date.available | 2012-03-05T07:05:21Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:16:47Z | |
dc.date.issued | 2554-12 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 5,4(ต.ค.-ธ.ค.2554) : 539-547 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3451 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ศึกษาบทบาท กระบวนการทำงานและผลงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานสาธารณสุข (3) ค้นหาปัจจัย เงื่อนไขต่างๆ ที่มีอิทธิพลในการผลักดันหรือเป็นอุปสรรคต่อโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชากรที่ศึกษา ในขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 81 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนในขั้นตอนที่ 2 เลือกตามเกณฑ์จากประชากรในขั้นตอนที่ 1 ได้ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 พบว่า อบต.ส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง ผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุข คือ สำนักปลัด (โดยไม่ระบุตำแหน่ง) ร้อยละ 43.2 รองลงมาคือเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนร้อยละ 35.8 โครงการด้านสาธารณสุขที่ดำเนินการมากที่สุด ได้แก่ การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 92.6 โครงการที่ทำแล้วบรรลุเป้าหมายมากที่สุด ได้แก่ การเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาสภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง การสนับสนุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยของสถานีอนามัย และการสนับสนุนยาที่จำเป็นไว้ที่ ศสมช. โดยพบร้อยละ 100 ของโครงการที่ทำ สำหรับปัจจัยที่ส่งเสริมให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ได้แก่ การได้รับความร่วมมือจากกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน เช่น อสม. ชมรมด้านสุขภาพร้อยละ 80.25 ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านสาธารณสุขและการขาดงบประมาณ สำหรับผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 2 พบว่า จุดเริ่มต้นของการพัฒนางานสาธารณสุขของ อบต.คือการสมัครเข้ากองทุนสุขภาพชุมชน โดยมีกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่าง อบต. สถานีอนามัย อสม.และชมรมทางด้านสุขภาพ ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนางานสาธารณสุขของ อบต. ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำ การทำงานเป็นทีม การมีกลุ่ม อสม.ที่เข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การมีจิตสำนึกสาธารณะของกลุ่มทำงาน และการมีใจที่เปิดกว้างในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ปัญหาและอุปสรรค คือ การไม่มีประสบการณ์การทำงานด้านกองทุนสุขภาพชุมชน และประชาชนบางกลุ่มไม่ให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.title | กระบวนการทำงานและปัจจัยเงื่อนไขในการพัฒนางานสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช | th_TH |
dc.title.alternative | Working Process and Supporting Factors and Barriers for the Development of Public Health Programs under the Sub-district Administration Organization in Nakhon Si Thammarat Province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this mixed method study were: (1) to study situation of public health operation of sub district administration organizations in Nakhon Si Thammarat ; (2) to study role, working process and outputs of the sub district administration organizations related to development of public health activities; and (3) to identify conditional factors that influenced or hindered implementation of projects for health development under the sub district administration organizations. The population of the first phase study was 81 sub district administration organizations in Nakhon Si Thammarat Province. The data analysis was performed using descriptive statistic. In the second phase Thakuen sub district administration organization was selected as a case study among sub district administration organizations and followed by the analysis using content analysis method. The result of the first phase study showed that most sub district administration organizations were in medium size. Most of the public health officers were untitled personnel of the manager offices (43.2%), followed by community health development workers (35.8%). In terms of health projects, the most common type was those for prevention and control of dengue fever (92.6%). The most successful projects were those concerning surveillance and solving of problems of malnutrition, supporting to health centers for their curative care services and supplying of essential drugs to community centers for primary health care. All successful health projects (100%) were found to have promoting factors as cooperation of the various organizations in the community such as community health volunteers and health clubs (80.25%). The main obstacles were lack of knowledgeable, human resources and funding. The results of the second phase of the study showed that the beginning point of public health development by the sub district administration organizations was when they enrolled in local community health fund. The working process was jointly carried out by sub-district administration organizations, local health centers, community health volunteers, and health clubs. The main factors for successful health development were team leadership, team working, strong community health volunteers and general public involvement. Enabling factors are public-mind consciousness and open-mindedness of the public health staff. The problems and obstacles were lack of experience in community health fund and the indifference in health by some groups of the people. | en_US |
dc.subject.keyword | การพัฒนางานสาธารณสุข | en_US |
dc.subject.keyword | กระบวนการทำงาน | en_US |
dc.subject.keyword | องค์การบริหารส่วนตำบล | en_US |
dc.subject.keyword | Sub-district Administration Organization | en_US |
.custom.citation | ปิยพร ขนอม and Piyaporn Khanom. "กระบวนการทำงานและปัจจัยเงื่อนไขในการพัฒนางานสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3451">http://hdl.handle.net/11228/3451</a>. | |
.custom.total_download | 1149 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 6 | |
.custom.downloaded_this_year | 80 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 15 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ