ผลลัพธ์การให้บริการกรณีไส้ติ่งอักเสบใน 3 ระบบหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ 2548-2551
dc.contributor.author | พรรวินท์ ศรีเพ็งเพชร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pornrawin Sripengpech | en_EN |
dc.date.accessioned | 2012-03-05T07:07:15Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:18:24Z | |
dc.date.available | 2012-03-05T07:07:15Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:18:24Z | |
dc.date.issued | 2554-12 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 5,4(ต.ค.-ธ.ค.2554) : 548-556 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3452 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยใน ปี 2548-2551 จำนวน 401,322 รายการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ถดถอยแบบลอจิสติก พบว่า อัตราการรับผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันไว้รักษาในโรงพยาบาลของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีอัตราสูงสุดคือ 215.4-300.4 ต่อประชากรแสนคน ขณะที่ระบบประกันสังคมมีอัตรา 141.6-203.8 ต่อประชากรแสนคน และระบบหลักประกันสุภาพถ้วนหน้ามีอัตรา 165.9-177.6 ต่อประชากรแสนคน สัดส่วนจำนวนผู้ป่วยไส้ติ่งแตกทะลุต่อจำนวนผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบของระบบประกันสังคม ระบบประกันสุภาพถ้วนหน้า และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีค่าร้อยละ 12.5, 18.2 และ 18.5 ตามลำดับ (แต่เมื่อพิจารณาตัวแปรอื่นๆ ด้วย พบว่า ผู้ป่วยประกันสังคมและผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการ มีโอกาสเกิดไส้ติ่งแตกทะลุน้อยกว่าผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 1.48 เท่า และ 1.34 เท่า) อย่างไรก็ตาม สัดส่วนไส้ติ่งแตกทะลุต่อไส้ติ่งอักเสบทั้งหมดลดลงในทุกระบบ อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยทั้งสามระบบลดลงพอๆ กัน พบสูงสุดในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและระบบหลักประกันสุภาพถ้วนหน้าคือร้อยละ 0.2 ขณะที่ในระบบประกันสังคมพบเพียงร้อยละ 0.02 ส่วนจำนวนการผ่าตัดไส้ติ่งเพิ่มขึ้นทุกระบบ โดยในระบบประกันสังคมมีการผ่าตัดสูงสุดคือร้อยละ 89.4 ขณะที่ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและระบบหลักประกันสุภาพถ้วนหน้ามีการผ่าตัดร้อยละ 83.5 และ 83.0 | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | ผลลัพธ์การให้บริการกรณีไส้ติ่งอักเสบใน 3 ระบบหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ 2548-2551 | th_TH |
dc.title.alternative | Appendicitis of three Schemes during 2005-2008 | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to evaluate the service to patients with appendicitis among three schemes: Universal coverage scheme: UCS, Social security scheme: SSS and Civil servant medical benefit scheme: CSMBS. 401,322 records of in-patients during 2005 -2008 were utilized, and analyzed by descriptive statistic and logistic regression analysis. Acute appendicitis admission rate per 100,000 population between 2005 and 2008 showed that it was highest in CSMBS, 215.4-300.4, while SSS was between 141.6-203.8 and UCS was between 165.9 and 177.6. The trend was increasing in UCS and SSS, while it was decreasing in CSMBS. Proportion of ruptured appendicitis to total appendicitis indicated that those of SSS, UCS and CSMBS were 12.5%, 18.2%, and 18.5% respectively. In addition, ruptured appendicitis probability were significantly different among three schemes (P<0.00) which those of SSS and CSMBS had a lower chance compared to those of UCS, 1.48 and 1.38 times respectively. However, the trends of ruptured appendicitis to total appendicitis patients of all schemes decreased. The trend of mortality rate of appendicitis patient in each scheme had not change dramatically. It was highest in CSMBS and UCS (0.2%), while those of SSS were 0.02% respectively. With regard to percentage of acute appendicitis patient receiving appendectomy, it was found that SSS patients had a highest percentage, 89.4% while CSMBS and UCS were 83.5% and 83.0% respectively. However, the trend of those having acute appendicitis receiving appendectomy in all schemes had been increasing. | en_US |
dc.subject.keyword | ไส้ติ่งอักเสบ | en_US |
dc.subject.keyword | ไส้ติ่งแตกทะลุ | en_US |
dc.subject.keyword | Ruptured Appendicitis | en_US |
.custom.citation | พรรวินท์ ศรีเพ็งเพชร์ and Pornrawin Sripengpech. "ผลลัพธ์การให้บริการกรณีไส้ติ่งอักเสบใน 3 ระบบหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ 2548-2551." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3452">http://hdl.handle.net/11228/3452</a>. | |
.custom.total_download | 1697 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 18 | |
.custom.downloaded_this_year | 301 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 36 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ