แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยาต่อเนื่องระหว่างร้านยาคุณภาพ และศูนย์แพทย์ชุมชน จังหวัดมหาสารคาม

dc.contributor.authorพยอม สุขเอนกนันท์th_TH
dc.contributor.authorธนนรรจ์ รัตนโชติพานิชth_TH
dc.contributor.authorบุษบา โทวรรณาth_TH
dc.contributor.authorรัตนา เสนาหนอกth_TH
dc.contributor.authorพีรยา สมสะอาดth_TH
dc.contributor.authorอุกฤษฎ์ สนหอมth_TH
dc.contributor.authorอภิสรา คำวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorPhayom Sookaneknunen_EN
dc.contributor.authorThananan Rattanachotpaniten_EN
dc.contributor.authorBussaba Thowannaen_EN
dc.contributor.authorRattana Senanoken_EN
dc.contributor.authorPeeraya Somsaarden_EN
dc.contributor.authorUkrit Sonhormen_EN
dc.contributor.authorApisara Kamwaten_EN
dc.date.accessioned2012-05-25T08:21:02Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:15:54Z
dc.date.available2012-05-25T08:21:02Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:15:54Z
dc.date.issued2555-03en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 6,1(ม.ค.-มี.ค. 2555) : 100-111en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3516en_US
dc.description.abstractบทบาทร้านยาที่ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเป็นระบบเชื่อมต่อกับหน่วยบริการของรัฐยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับยาต่อเนื่องที่ร้านยาคุณภาพ 2 ร้าน (กลุ่มทดลอง) กับผู้ที่รับยาต่อเนื่องที่ศูนย์แพทย์ชุมชน 2 แห่ง (กลุ่มควบคุม) รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงทดลองมีกลุ่มเปรียบเทียบ (Quasi-experimental design with a control group) ระหว่างเดือนกันยายน 2551-กรกฎาคม 2554 กลุ่มทดลองได้รับยาและการดูแลเฉพาะรายโดยเภสัชกรร้านยาและนิสิตเภสัชศาสตร์ทุกเดือนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 เดือน และส่งต่อข้อมูลกลับเดือนสุดท้าย กลุ่มควบคุมได้รับบริการปกติจากศูนย์แพทย์ชุมชน บันทึกข้อมูลระดับความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด จำนวนปัญหาที่สืบเนื่องจากการใช้ยา พฤติกรรมสุขภาพ และประเมินความพึงพอใจ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 59 คน (กลุ่มทดลอง 28 คนและกลุ่มควบคุม 31 คน) สัดส่วนของผู้ป่วยที่คุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมายในกลุ่มทดลองคิดเป็น 1.242 (OR 1.242; CI: 0.458-4.312) และ 0.675 (OR 0.675; CI: 0.174-2.653) เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เภสัชกรแก้ไขปัญหาที่สืบเนื่องจากการใช้ยาในเรื่องความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด(ร้อยละ 81.8) และการส่งต่อไปศูนย์แพทย์เนื่องจากอาการไม่พึงประสงค์ 1 ครั้ง (bradycardia อาจเนื่องจากยา atenolol) กลุ่มทดลองพึงพอใจสูงสุดเรื่องความสบายใจที่ได้คุยกับเภสัชกร กลุ่มควบคุมมีความพึงพอใจสูงสุดคือความเต็มใจจะกลับมาพบแพทย์ในครั้งต่อไป โดยสรุปผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องที่ร้านยามีแนวโน้มการได้รับประโยชน์ในการควบคุมอาการทางคลินิกไม่แตกต่างจากบริการของศูนย์แพทย์ชุมชน โดยผู้ป่วยมีระดับความพึงพอใจสูงต่อบริการของเภสัชกรth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectโรคเรื้อรังen_US
dc.titleการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยาต่อเนื่องระหว่างร้านยาคุณภาพ และศูนย์แพทย์ชุมชน จังหวัดมหาสารคามth_TH
dc.title.alternativeComparison of Pharmaceutical Care Outcomes in Chronic Disease Patients Receiving Refill Prescription between Accredited Community Pharmacies and Primary Care Units, Maha Sarakham Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeRole of community pharmacies for caring chronic disease patients together with primary care units is still new in Thailand. The objective of this study was to compare clinical outcomes of providing pharmaceutical care in patients with diabetes mellitus and hypertension who got prescriptions refilled between two accredited community pharmacies (the intervention group) and two primary care units (the control group). The study was quasi-experimental design with a control group. The duration of the study was between September 2008 - July 2011. The intervention group received the individual care each month for 5 months by the community pharmacists and PharmD students. In the fifth month at the community pharmacies, the patient medication record of each patient was reported back to the primary care units. Blood pressure, blood sugar, drug related problems and patients’ satisfaction were recorded. There were totally 59 eligible patients (28 and 31 patients in the intervention and the control group, respectively). The proportions of patients who achieved target goals of blood pressure control and blood sugar control were 1.242 (OR 1.242; CI: 0.458-4.312) and – 0.675 (OR 0.675; CI: 0.174-2.653) when compared with the control group. There was not different between groups. The community pharmacists mostly solved the drug related problem of non-adherence in the treatment group (81.8 %) and made a referral to the primary care units due to an adverse drug event (bradycardia was probably from atenolol). The treatment group was highest satisfied with the relax feeling to talk to the pharmacists. The control group was highest satisfied with the willing to comply for the next schedule. In conclusion patients received prescriptions refilled from accredited community pharmacies have potential clinical benefits as received from the primary care units. Patients in the treatment group had a high satisfaction to the pharmacists’ serviceen_US
dc.subject.keywordหน่วยบริการปฐมภูมิen_US
dc.subject.keywordการบริบาลทางเภสัชกรรมen_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยโรคเรื้อรังen_US
dc.subject.keywordร้านยาen_US
dc.subject.keywordการจ่ายยาต่อเนื่องen_US
dc.subject.keywordPrimary Care Uniten_US
dc.subject.keywordPharmaceutical Careen_US
dc.subject.keywordRefill Prescriptionen_US
dc.subject.keywordCommunity Pharmacyen_US
dc.subject.keywordChronic Diseasesen_US
.custom.citationพยอม สุขเอนกนันท์, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, บุษบา โทวรรณา, รัตนา เสนาหนอก, พีรยา สมสะอาด, อุกฤษฎ์ สนหอม, อภิสรา คำวัฒน์, Phayom Sookaneknun, Thananan Rattanachotpanit, Bussaba Thowanna, Rattana Senanok, Peeraya Somsaard, Ukrit Sonhorm and Apisara Kamwat. "การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยาต่อเนื่องระหว่างร้านยาคุณภาพ และศูนย์แพทย์ชุมชน จังหวัดมหาสารคาม." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3516">http://hdl.handle.net/11228/3516</a>.
.custom.total_download1831
.custom.downloaded_today2
.custom.downloaded_this_month12
.custom.downloaded_this_year260
.custom.downloaded_fiscal_year32

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v6n1 ...
ขนาด: 285.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย