Percutaneous Release of Trigger Finger with Applied Dental Equipment in Samchuk Hospital, Suphan Buri Province
dc.contributor.author | จรัญ จงเจริญคุณวุฒิ | en_US |
dc.contributor.author | Jarun Chongcharoenkunawut | en_US |
dc.coverage.spatial | สุพรรณบุรี | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-03T07:41:41Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T15:56:19Z | |
dc.date.available | 2008-10-03T07:41:41Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T15:56:19Z | |
dc.date.issued | 2550 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,2 (ก.ค.-ก.ย. 2550) (ฉบับเสริม1) : 85-91 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/356 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการแก้ไขโรคนิ้วงอติดด้วยการผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนังโดยใช้เครื่องมือทันตกรรมประยุกต์ ประชาการในการศึกษานี้คือผู้ป่วยโรคนิ้วงอติดที่ได้รับการผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนัง และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอสามชุก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัย จากการศึกษาได้ข้อมูลว่าจากการผ่าตัดนิ้วงอติดไป 35 นิ้วในผู้ป่วย 29 ราย ส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุเฉลี่ยเท่ากับ 52 ปี ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 14 นาที ผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ตามนัด 12 ราย (ร้อยละ 34.3) การติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัดเฉลี่ย 13 เดือน จากการติดตามผลการรักษาพบว่า หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยทุกรายเคลื่อนไหวนิ้วได้เป็นปรกติ ผู้ป่วย 2 ราย (ร้อยละ 16.67) มีความเจ็บปวดที่นิ้ว เมื่อติดตามผลการรักษาที่บ้านพบว่า นิ้วผู้ป่วย 34 ใน 35 นิ้ว (ร้อยละ 97.14) เคลื่อนไหวได้เป็นปรกติไม่เจ็บปวดไม่มีรอยแผลเป็น ผู้ป่วย 4 ราย (ร้อยละ 11.43) สูญเสียการรับความรู้สึกที่นิ้ว ผู้ป่วยร้อยละ 74.28 ใช้เวลา 10 วันในการพักฟื้นนิ้วมือ ผู้ป่วยให้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 9.69 จาก 10 คะแนน และทุกรายตั้งใจที่จะแนะนำผู้ป่วยโรคนิ้วงอติดให้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลนี้ จากผลการศึกษาสรุปว่าการรักษาโรคนิ้วงอติดวิธีผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนังโดยใช้เครื่องมือทันตกรรมประยุกต์ เป็นวิธีที่ให้ผลในการปลดการยึดติดของนิ้วได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องมารับการรักษาเพิ่มเติม และจากการติดตามพบว่าไม่มีการกลับมาเป็นซ้ำ มีภาวะแทรกซ้อนต่ำ ไม่เกิดเป็นแผลเป็น ใช้เวลาพักฟื้นไม่นานและได้รับการยอมรับจากผู้ป่วยอย่างดี | en_US |
dc.format.extent | 168027 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | การแก้ไขโรคนิ้วงอติดโดยการผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนังด้วยเครื่องมือทันตกรรมประยุกต์ในโรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี | en_US |
dc.title.alternative | Percutaneous Release of Trigger Finger with Applied Dental Equipment in Samchuk Hospital, Suphan Buri Province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | This is a retrospective descriptive research study, the objective of which was to evaluate the results of trigger finger treatment by percutaneous approach using applied dental equipment. The study population included 29 patients with trigger finger (females with a mean age of 52 years) on whom 35 digits were treated by percutaneous operation at Samchuk Hospital, Suphan Buri Province. The statistical analysis gave frequency, percentage, mean, median and range. The results of the study revealed that the mean operation time was 14 minutes; only 12 patients (34.3%) kept their appointment for seven days of postoperative follow-up. The mean home visit period for every patient was 13 months. On the seven-day followups, every patient could move her fingers normally and only two patients sensed pain. On home visits 34 of the 35 fingers (90.14%) moved normally; four patients had a sensory loss but without pain or scars. The majority of patients (74.28%) could move their fingers normally within 10 days of the operation. The mean sastisfaction score was 9.69 out of 10. All patients were willing to recommend other trigger finger patients to come for treatment at Samchuk Hospital. The author concluded that the treatment by percutaneous technique with applied dental equipment is effective in releasing trigger fingers without additional medical treatment; this technique involved fewer complications, no scar formation, a short recovery period, no recurrent symptoms, and produced good patient compliance and faith. | en_US |
dc.subject.keyword | การผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนัง | en_US |
dc.subject.keyword | โรคนิ้วงอติด | en_US |
dc.subject.keyword | Percutaneous Technique | en_US |
dc.subject.keyword | Trigger Finger | en_US |
.custom.citation | จรัญ จงเจริญคุณวุฒิ and Jarun Chongcharoenkunawut. "การแก้ไขโรคนิ้วงอติดโดยการผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนังด้วยเครื่องมือทันตกรรมประยุกต์ในโรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/356">http://hdl.handle.net/11228/356</a>. | |
.custom.total_download | 1393 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 20 | |
.custom.downloaded_this_year | 347 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 42 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ