dc.contributor.author | เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข | th_TH |
dc.contributor.author | อังคณา แสงนภากาศ | th_TH |
dc.contributor.author | อรลักษณ์ พัฒนาประทีป | th_TH |
dc.contributor.author | Petcharat Pongcharoensuk | en_EN |
dc.contributor.author | Angkana Saengnapakas | en_EN |
dc.contributor.author | Oraluck Pattanaprateep | en_EN |
dc.date.accessioned | 2012-07-20T08:42:52Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:18:32Z | |
dc.date.available | 2012-07-20T08:42:52Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:18:32Z | |
dc.date.issued | 2555-06 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 6,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2555) : 185-192 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3584 | en_US |
dc.description.abstract | ค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การกำหนดราคาอ้างอิง (หรือเพดานเบิกจ่าย) ของยาเป็นกลไกที่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอราคาอ้างอิงของยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงจำนวน 5 กลุ่ม และประมาณการณ์ผลกระทบต่องบประมาณเมื่อนำราคาอ้างอิงของยามาใช้ เก็บข้อมูลใบสั่งยาจากโรงพยาบาลรัฐจำนวน 29 แห่ง เพื่อประมวลผลการใช้ยาและกำหนดราคาอ้างอิงแบบต่างๆ ของยาแต่ละรายการ จากนั้นจึงประมวลผลกระทบต่องบประมาณเมื่อนำราคายาอ้างอิงมาใช้ใน 3 ลักษณะ ผลการศึกษาพบว่าข้าราชการมีใบสั่งยาจำนวน 1.7 ล้านใบสั่งคิดเป็นงบประมาณ 2,500 ล้านบาท เมื่อจำแนกตามกลุ่มยา พบว่ามีการใช้ยาร้อยละ 39.96, 26.25, 16.57, 13.68 และ 3.55 ของใบสั่ง แต่คิดเป็นร้อยละ 44.65, 20.43, 20.59, 4.47 และ 9.85 ของงบประมาณในกลุ่ม Statins, Proton Pump Inhibitors (PPI), Angiotensin Receptor Blockers (ARB), Angiotensin-Converting Enzyme Inhibitors (ACEI), และ Bisphosphonates (BIS) ตามลำดับ ยาชื่อการค้าคิดเป็นร้อยละ 94.80 ของงบประมาณ แต่ใช้เพียงร้อยละ 50.60 ของจำนวนใบสั่งยา เมื่อนำราคาอ้างอิงมาใช้ จะประหยัดงบประมาณได้มากที่สุด (ร้อยละ 50.39 ของงบประมาณ) เมื่อมีการแทนยาตามกลุ่มเภสัชวิทยา (เช่น ใช้ราคามัธยฐานของยา Simvastatin สำหรับยา Atorvastatin) ส่วนการแทนที่ด้วยยาชื่อสามัญจะประหยัดงบประมาณได้ร้อยละ 20.56 และจะประหยัดงบประมาณได้ร้อยละ 15.91 – 17.26 เมื่อการเบิกจ่ายด้วยต้นทุนยาบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการจ่ายยา (Dispensing fee) 50 และ 30 บาทต่อหนึ่งรายการยา ตามลำดับ การใช้ยาชื่อการค้าที่มีราคาแพงส่งผลกระทบต่องบประมาณของโรงพยาบาลภาครัฐ การกำหนดราคาอ้างอิงจะส่งเสริมการใช้ยาสามัญ ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณและยังเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศให้มีความเข้มแข็ง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ราคาเบิกจ่ายยา | en_US |
dc.title | การกำหนดราคาเบิกจ่ายของยาและผลกระทบต่องบประมาณโรงพยาบาลภาครัฐในปีงบประมาณ 2553 | th_TH |
dc.title.alternative | Determination of 2010 Reimbursed Drug Price and Its Budget Impact in Public Hospitals in Thailand | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Total drug expenditure for Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS) has rapidly increased.
Reference pricing (RP, or maximum reimbursable limit) for drugs is proposed as a means to control drug
expenditure. The objectives of this study were to determine the RP of five high expenditure drug groups
and estimate the budget impact of RP implementation. Prescription records of 29 public hospitals in 2010
were collected. Drug utilization and several RP’s of each drug product were determined. Then, overall
budget impact was determined for RP under three different scenarios.
Results showed that there were 1.7 million prescriptions, accounted for 2.5 billion baht. By drug
group, total number of prescriptions were 39.96%, 26.25%, 16.57%, 13.68% and 3.55% while total expenditures
were 44.65%, 20.43%, 20.59%, 4.47% and 9.85% for statins, Proton Pump Inhibitors (PPI), Angiotensin
Receptor Blockers (ARB), Angiotensin-Converting Enzyme Inhibitors (ACEI), and Bisphosphonates
(BIS) respectively. Brand name drugs accounted for 94.8% of expenditures but 50.6% of prescriptions. If
RP was implemented, the highest savings (50.39% of expenditure) would be from pharmacological substitution
(eg. price of Atorvastatin is equal to median price of generic Simvastatin). Generic substitution
(median price of generic for brand Simvastatin) would result in 20.56% savings while 15.91%-17.26%
savings would be achieved if brand drugs were reimbursed at cost plus 50 or 30 baht dispensing fee per
item respectively.
Use of high price, brand drugs has burdened the overall drug expenditure of government hospitals.
Reference pricing would encourage generic drug use and thus, help not only to control overall expenditure,
but also strengthen the local manufacturing drug industry. | en_US |
dc.identifier.callno | 0858-9437 | en_US |
.custom.citation | เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข, อังคณา แสงนภากาศ, อรลักษณ์ พัฒนาประทีป, Petcharat Pongcharoensuk, Angkana Saengnapakas and Oraluck Pattanaprateep. "การกำหนดราคาเบิกจ่ายของยาและผลกระทบต่องบประมาณโรงพยาบาลภาครัฐในปีงบประมาณ 2553." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3584">http://hdl.handle.net/11228/3584</a>. | |
.custom.total_download | 922 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 118 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 24 | |