การตอบสนองผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพและสถานบริการที่แตกต่างกัน
dc.contributor.author | อังสุมาลี ผลภาค | th_TH |
dc.contributor.author | ยงยุทธ พงษ์สุภาพ | th_TH |
dc.contributor.author | วิชัย เอกพลากร | th_TH |
dc.contributor.author | สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | รัชนี สรรเสริญ | th_TH |
dc.contributor.author | Aungsumalee Pholpark | en_EN |
dc.contributor.author | Yongyuth Pongsupap | en_EN |
dc.contributor.author | Wichai Aekplakorn | en_EN |
dc.contributor.author | Samrit Srithamrongsawat | en_EN |
dc.contributor.author | Rachanee Sunsern | en_EN |
dc.date.accessioned | 2012-07-20T08:49:12Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:18:42Z | |
dc.date.available | 2012-07-20T08:49:12Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:18:42Z | |
dc.date.issued | 2555-06 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 6,2 (เมย.-มิย. 2555) : 207-218 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3586 | en_US |
dc.description.abstract | ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ระบุว่า ระบบสุขภาพจะต้องส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และต้องให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันในสังคม แนวคิดนี้นำไปสู่ความพยายามที่จะวัดปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เนื่องจากผู้รับบริการทุกคนควรได้รับการปฏิบัติขณะเข้ารับบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเข้ารับบริการ ณ หน่วยบริการใด หรือ ใช้สิทธิของระบบประกันสุขภาพใดก็ตาม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการตอบสนองผู้รับบริการของระบบบริการสุขภาพไทยภายใต้ระบบประกันสุขภาพและสถานบริการที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ประกันสังคม หรือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเข้ารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาลเอกชน โดยดำเนินการเก็บข้อมูล จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน ปทุมธานี สมุทรสาคร ขอนแก่น หนองคาย สงขลา และภูเก็ต ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 6,507 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2554 จากการศึกษา เมื่อพิจารณาคะแนนการตอบสนองผู้รับบริการของสิทธิต่างๆโดยภาพรวมและจำแนกตามประเภทของสถานบริการ พบว่า คะแนนมัธยฐานของการตอบสนองผู้รับบริการบางองค์ประกอบมีความแตกต่างระหว่างสิทธิที่เข้ารับบริการอย่างมีนัยสำคัญ และผู้รับบริการที่ใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีคะแนนมัธยฐานของการตอบสนองสูงกว่าสิทธิประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ดี เมื่อวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก พบว่า ระบบประกันสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการตอบสนองผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญทุกองค์ประกอบ ยกเว้น องค์ประกอบโอกาสในการเลือกที่ผู้รับบริการสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีคะแนนการตอบสนองสูงกว่าสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในขณะที่ ประเภทของสถานบริการมีความสัมพันธ์กับระดับการตอบสนองผู้รับบริการทุกองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญ ในภาพรวม โรงพยาบาลเอกชนได้คะแนนการตอบสนองสูงสุด ในขณะที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยได้คะแนนการตอบสนองน้อยที่สุด ยกเว้น องค์ประกอบโอกาสในการเลือก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยได้คะแนนการตอบสนองสูงกว่าโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | การตอบสนองผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพและสถานบริการที่แตกต่างกัน | th_TH |
dc.title.alternative | Responsiveness under different health insurance schemes and hospital types | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Statue on National Health System B.E 2552 section 7, the health system must promote human value and dignity and attach importance to fairness and equity in society. This concept leads to an attempt to capture interaction between providers and users in order to improve and develop the health service system. Every person should be treated equally even though he/she accesses to care under different health insurance schemes and hospital types. The purpose of this research was to assess the responsiveness of Thai health care service system according to different types of national health insurance schemes and health care facilities in 9 provinces. An exit survey of 6,507 out-patients covered by 3 health care schemes: Civil Servants Medical Benefit Scheme (CSMBS), Social Security Scheme (SSS) and Universal Coverage Scheme (UCS), was conducted. The health care settings included 4 hospital types: regional/general hospital, community hospital, university hospital and private hospital. The field survey period was from April to June 2011. The study revealed that there were significant difference between median scores, both overall and hospital-type based, of responsiveness to users among three schemes in some domains and responsiveness scores under the CSMBS was higher than those from the SSS and UCS. Nevertheless, results from logistic regression show that, when 75 percentile of score of each component was adopted as cut point for high responsiveness, health insurance scheme was not significantly associated with all responsiveness components, except choice: the scores of the CSMBS was significantly higher than those of the UCS. On the other hand, type of hospital was significantly associated with responsiveness in all components. Overall, the score of private hospital was significantly higher than those of the others, whereas that of the university hospital was significantly lower than the scores of the other hospitals, except choice, which was significantly higher than in the university hospital than in the regional/general hospital. | en_US |
dc.subject.keyword | การตอบสนองผู้รับบริการ | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบประกันสุขภาพ | en_US |
.custom.citation | อังสุมาลี ผลภาค, ยงยุทธ พงษ์สุภาพ, วิชัย เอกพลากร, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, รัชนี สรรเสริญ, Aungsumalee Pholpark, Yongyuth Pongsupap, Wichai Aekplakorn, Samrit Srithamrongsawat and Rachanee Sunsern. "การตอบสนองผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพและสถานบริการที่แตกต่างกัน." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3586">http://hdl.handle.net/11228/3586</a>. | |
.custom.total_download | 1277 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 3 | |
.custom.downloaded_this_year | 117 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 14 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ