กลไกธรรมาภิบาลในการควบคุมวิชาชีพเวชกรรมในต่างประเทศ: กรณีศึกษาประเทศสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้
dc.contributor.author | ไพศาล ลิ้มสถิตย์ | en_US |
dc.contributor.author | Paisan Limstit | en_EN |
dc.date.accessioned | 2012-07-20T09:02:06Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:18:19Z | |
dc.date.available | 2012-07-20T09:02:06Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:18:19Z | |
dc.date.issued | 2555-06 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 6,2 (เมย.-มิย. 2555) : 236-247 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3589 | en_US |
dc.description.abstract | แพทยสภาเป็นองค์กรสำคัญของระบบอภิบาลในระบบสุขภาพ (health system governance) และเป็นสภาวิชาชีพที่ควบคุม กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มีความสำคัญในหลายประเทศ กรณีศึกษาแพทยสภาต่างประเทศคือ ประเทศสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ ต่างก็มีพัฒนาการอันยาวนานและพบการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อคุ้มครองและรักษาสุขภาพ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและประชาชน และเพื่อรักษาความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากประชาชนที่มีต่อแพทยสภา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญ แนวคิด ปรัชญา บทบาทหน้าที่ของแพทยสภาในฐานะองค์กรกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่นำมาปรับใช้กับแพทยสภาของไทยได้ตามความเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า แพทยสภาเหล่านี้มีกลไกธรรมาภิบาลที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะกรณีศึกษาแพทยสภาอังกฤษที่ถือเป็นต้นแบบในการจัดตั้งแพทยสภาของไทยนั้น การเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิรูปแพทยสภาในประเทศเหล่านี้ มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน หลักความรับผิดชอบ การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและประชาชนในการดำเนินงานของแพทยสภา รวมถึงการพิจารณาไต่สวนข้อร้องเรียนแพทย์ในกระบวนการ fitness to practice ที่โปร่งใส เป็นธรรม และรวดเร็วยิ่งขึ้น | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ธรรมาภิบาล | en_US |
dc.title | กลไกธรรมาภิบาลในการควบคุมวิชาชีพเวชกรรมในต่างประเทศ: กรณีศึกษาประเทศสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ | en_US |
dc.title.alternative | Good Governance Mechanisms for Medical Profession Regulations in the United Kingdom, New Zealand and South Africa | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Medical council is the core component of health system governance and the regulatory body of medical profession in many countries. In the case study of the medical councils in the United Kingdom, New Zealand and South Africa, they have development and changes from time to time so as to protect, promote and maintain the health and safety of the public and to keep the public trust and confidence. The study is a qualitative and documentary research and aims to study the philosophy, conceptual framework and the role of these medical councils as an organization regulating the medical profession, and to propose the good governance to be applied to the Medical Council of Thailand as appropriate. The results showed that Medical Councils of these countries have good governance mechanisms, especially, the General Medical Council (GMC) in the UK which is the model of the Medical Council of Thailand. The reform or changes of the these medical council have been developed with its aims of effective, accountable with greater patient and public involvement and with faster, fairer and more transparent procedures in making decisions on fitness to practice of alleged physicians. | en_US |
dc.subject.keyword | Good Governance | en_US |
dc.subject.keyword | แพทยสภา | en_US |
dc.subject.keyword | วิชาชีพเวชกรรม | en_US |
.custom.citation | ไพศาล ลิ้มสถิตย์ and Paisan Limstit. "กลไกธรรมาภิบาลในการควบคุมวิชาชีพเวชกรรมในต่างประเทศ: กรณีศึกษาประเทศสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3589">http://hdl.handle.net/11228/3589</a>. | |
.custom.total_download | 1168 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 6 | |
.custom.downloaded_this_year | 131 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 17 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ